2013 in review


The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2013 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

The Louvre Museum has 8.5 million visitors per year. This blog was viewed about 610,000 times in 2013. If it were an exhibit at the Louvre Museum, it would take about 26 days for that many people to see it.

Click here to see the complete report.

Advertisement

ShowMe.com โลกแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่ผมพึ่งเจอ


จริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอกครับ บางท่านอาจจะเคยใช้แล้ว แต่บังเอิญผมพึ่งมี iPad ใช้ และพยายามลองหา Application ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผม ที่ผมอยากจะบันทึกการสอนในแต่ละคาบไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาเรียนทบทวน หรือสำหรับนักเรียนที่ไม่มาเรียนได้เรียนเพื่อจะได้ตามทันเพื่อนไม่ตกหล่นเนื้ออะไร และนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดเวลาตามอัธยาศัย

IMG_0251

ที่จริงก็หลายตัวที่ใช้ เช่น Educreation, Doceri หรือง่ายๆ แบบไม่ต้องอัดอย่าง Type on PDF และ GoodNotes แต่ตัวที่ผมออกจะชอบหน่อยก็ “ShowMe” ครับ

มันทำงานเหมือนกันกระดานคำ (ขาว) และจะจับภาพหน้าจอสิ่งที่เราเขียนไว้ เหมือนกับ Captivate แล้วมันก็จะบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอ และเราสามารถอับโหลดขึ้นไปเก็บไว้ เหมือน YouTube ได้ ทั่วโลกสามารถเข้าชมได้ และเด็กนักเรียนก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

IMG_0252

หน้้าแรกของ application กด + ก็จะสร้างวิดีโอใหม่ได้ทันที

IMG_0253

กดบันทึกตรงกลาง อธิบายด้วยเสียงและตัวอักษร
เสร็จแล้วกดอีกครั้ง ก็จะได้วีดีโอการสอนของเราไว้ใช้แล้วครับ

ลองเข้าไปชมวีดีโอของผมได้ที่ www.showme.com/kruaun/ นะครับ เป็นห้องเรียนกับทางเหมือนที่กระทรวงต้องการพอดีครับ

ลองเข้าไปชม แนะนำติชมได้ครับ และลองทำไว้ใช้บ้างนะครับผม

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาค 1


สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต้องเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานนั้น จัดไปตามนี้นครับ

คณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค32101)

|| ลำดับและอนุกรม || ความน่าจะเป็นเบื้องต้น ||

ว่าด้วยเรื่องลำดับและอนุกรม และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ครับ…คลิกที่ชื่อวิชาได้ศึกษากันได้เลยครับ (กำลังอยู่ระหว่างการอับเดทเนื้อหาเรื่อยๆ นะครับ)

fibonacciaaabbbb-tile

เตรียมความพร้อม O-NET ม.6


onet

การสอบ O – NET (Ordinary National Educational Test)

O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสอบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษาฯ
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. ศิลปะ
  8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดรายวิชคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33203-ค33204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในแผนการเรียนไม่เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อังกฤษ-สังคม, ศิลป์-จีน, ศิลป์-ญี่ปุ่น, พาณิชยกรรม (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ), อุตสาหกรรม และพลศึกษา) ได้ศึกษาทบทวนก่อนการสอบจริงที่จัดให้มีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557

set

ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ตามลิงค์นี้นะครับ

วันนี้…วันพาลินโดรม


วันนี้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 หรือ ค.ศ.2012 ถ้าเขียนแทนเดือนด้วยตัวเลข ต่อกัน จะได้เป็น

21022012

ลองอ่านจากซ้ายไปขวา แล้วก็จากขวาไปซ้ายดูครับ จะพบว่่า…อ่านได้จำนวนเดียวกัน

ใช่ไหมครับ…

จำนวนลักษณะนี้เราเรียกว่า “จำนวนพาลินโดรม”

แล้วเจ้า “พาลินโดรม” (Palindrome) คืออะไร??? เรามาหาความรู้กันนะครับ

ใครที่ชอบภาษาอังกฤษคงจะทราบว่า คำบางคำนั้น ไม่ว่าจะอ่านจากหลังไปหน้า หรือจากหน้าไปหลัง ก็จะเหมือนกัน เช่น radar, rotator, reviver และ Dr.Awkward เป็นต้น พูดง่าย ๆ คือ มีสมมาตรซ้าย-ขวา กำกับอยู่นั่นเอง ความจริงในภาษาไทยเราก็พอมีเหมือนกัน เช่น ‘กาก’, ‘กนก‘ และ ‘นาน’ อะไรทำนองนี้ แต่ที่อาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมากนัก เช่น ‘นนน’ (อ่านว่า นะ-นน เป็นชื่ออู่ซ่อมรถแถว ๆ บ้านผม) และ ‘รรรรรร’ (ชื่อของฝาแฝดที่สุดแสนสร้างสรรค์ โดยท่านหนึ่งคือ ระ-รัน-รอน ส่วนอีกท่านคือ ระ-รอน-รัน)

คำพวกนี้ละครับที่เรียกว่า พาลินโดรม (palindrome) ซึ่งมาจากภาษากรีก palin (อีกครั้ง) + dromos (กำลังวิ่ง) คือ (อ่าน) วิ่งถอยหลังยังได้เหมือนเดิม แต่คำนี่ยังดูสั้นไปหน่อย ลองดูประโยคพาลินโดรม เช่น ‘He lived as a devil, eh?’ หรือประโยคคลาสสิคอย่าง ‘Madam, I’m Adam.’ ซึ่งเดี๋ยวนี้โดนดัดแปลงพันธุกรรมจนหลากหลาย (แต่ก็ยังมีเค้าเดิม) เช่น ‘Madam in Eden, I’m Adam.’ และ ‘Madam, I do get a mate. God, I’m Adam.’

สำหรับเซียนคณิตศาสตร์อาจจะพูดว่า ‘I prefer pi.’ และแฟนเทนนิสอาจจะเห็นอังเดร อากัสซี หลุดปากออกมาว่า ‘Damn! I, Agassi, miss again! Mad!’ ส่วนท่านที่ชื่นชอบรถโตโยต้าเป็นชีวิตจิตใจ ก็อาจจะพูดเป็นสโลแกนว่า ‘A Toyota! Race fast, safe car. A Toyota’ หรือจะพูดสั้น ๆ แค่ ‘A Toyota’s a Toyota.’ ก็หนักแน่นกินใจแล้ว ส่วนภาษาไทยก็เช่น ‘ดีใจคุณแม่คุณใจดี’ (ผมมั่วขึ้นมาเองครับ) (และถ้าสนใจพาลินโดรมภาษาอังกฤษเรื่องยาวราว 10 หน้า ต้องไปที่ http://www.palindromelist.com)
ไม่ใช่แต่ภาษาเท่านั้นที่มีพาลินโดรม คณิตศาสตร์ก็มีกับเขาเหมือนกัน อย่างปี ค.ศ.2002 ก็เป็น เลขพาลินโดรม (palindromic number) คือดูตัวเลขจากหลังไปหน้าก็ได้เหมือนเดิม แต่นักคณิตศาสตร์รู้ดีว่าแบบนี้มันหมูไปหน่อย ก็เลยคิดสูตรขึ้นมาว่า ถ้ายกตัวเลขจำนวนเต็มขึ้นมา เช่น 38 แล้วนำไปบวกกับตัวเลขอ่านย้อนกลับ คือ 83 จะได้ว่า 38 + 83 = 121 ซึ่งเป็นเลขพาลินโดรม (แบบบวกแค่ครั้งเดียว)

แต่ถ้าเริ่มจาก 168 จะได้อย่างนี้ 168 + 861 = 1029 (บวกครั้งเดียว ยังไม่เป็นพาลินโดรม) … เอาอีก 1029 + 9201 = 10230 (บวก 2 ครั้ง ก็ยังไม่เห็น) … ลองอีกซักที 10230 + 03201 = 13431 คราวนี้เป็นพาลินโดรม … เย้!

ส่วนตัวเลขที่ดูซื่อ ๆ อย่างเช่น 89 นั้น ต้องบวกไปเรื่อย ๆ ถึง 24 ครั้งจึงจะได้ 8,813,200,023,188 (ลองเอง) และตัวเลขง่ายอย่าง 196 ก็เคยทำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบเพี้ยนมาแล้ว เพราะต้องบวกไปเรื่อย ๆ ร่วมพันครั้ง! (ไม่แนะนำให้ลอง)

ดังนั้น นอกจากวันนี้แล้ว ที่เป็นวันพาลินโดรม ผมฝากถามต่อกันนะครับว่า

  • วันพาลินโดรมก่อนวันนี้ คือ วันใด???
  • วันพาลินโดรมหลังจากวันนี้ คือ วันใด???
  • วันพาลินโดรมแบบปี พ.ศ. (เอาใกล้ๆ นี้) มีไหม??? ถ้ามีคือวันไหน???

ขอบคุณที่มาดีๆ:

SMEdu ออกสื่อครั้งใหญ่


หลังจากรับสมัคร ประกาศผล ผู้เข้ารับการอบรมการนำสื่อสังคม (Social Media) ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนมาแล้ว วันที่ 20 – 24 มิถุนายน 2554 ก็เป็นวันที่ครูจำนวน 200 คน จากทั่วประเทศ มาร่วมอบรมโครงการก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media

สื่อหลายสำนักได้มาทำข่าว และช่วยเผยแพร่ข่าวของพวกเราด้วยครับผม

ครูอั๋น
23 มิถุนายน 2554
โรงแรมแม็กซ์ พระรามเก้า กทม.

Math-Read:ขอบคุณนักเรียนที่รักทุกคน


เพราะมีนักเรียนช่วยกันทำงาน ครูจึงได้เขียนบทความนี้

ขอบคุณนักเรียนทุกคนนะครับ