2013 in review


The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2013 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

The Louvre Museum has 8.5 million visitors per year. This blog was viewed about 610,000 times in 2013. If it were an exhibit at the Louvre Museum, it would take about 26 days for that many people to see it.

Click here to see the complete report.

Advertisement

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม???


นักเรียนชั้น ม.5/9, 11, 13
และ          ม.6/8, 9, 10, 12, 13

ร่วมกิจกรรมออกความคิดเห็นกันหน่อยครับว่า

เราเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไมกัน

โดยกรอกลงในแบบฟอร์มนี้นะครับ ใครมาร่วมตอบก็จะได้รับคะแนนพิเศษส่วนหนึ่งในการสอบปลายภาค และเป็นคะแนนการอ่านคิดวิเคราะห์ฯ ด้วยนะครับ

โดยครูให้เวลา 2 สัปดาห์ และจะปิดโหวต…เอ๊ย…ปิดระบบในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 24.00 น. นะครับผม…

เอาล่ะครับ…ไปตอบกันได้เลย

มีข้อสงสัย ฝากข้อความไว้ด้านล่างนะครับ

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ

ครูอั๋น

การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ

ShowMe.com โลกแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่ผมพึ่งเจอ


จริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอกครับ บางท่านอาจจะเคยใช้แล้ว แต่บังเอิญผมพึ่งมี iPad ใช้ และพยายามลองหา Application ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผม ที่ผมอยากจะบันทึกการสอนในแต่ละคาบไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาเรียนทบทวน หรือสำหรับนักเรียนที่ไม่มาเรียนได้เรียนเพื่อจะได้ตามทันเพื่อนไม่ตกหล่นเนื้ออะไร และนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดเวลาตามอัธยาศัย

IMG_0251

ที่จริงก็หลายตัวที่ใช้ เช่น Educreation, Doceri หรือง่ายๆ แบบไม่ต้องอัดอย่าง Type on PDF และ GoodNotes แต่ตัวที่ผมออกจะชอบหน่อยก็ “ShowMe” ครับ

มันทำงานเหมือนกันกระดานคำ (ขาว) และจะจับภาพหน้าจอสิ่งที่เราเขียนไว้ เหมือนกับ Captivate แล้วมันก็จะบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอ และเราสามารถอับโหลดขึ้นไปเก็บไว้ เหมือน YouTube ได้ ทั่วโลกสามารถเข้าชมได้ และเด็กนักเรียนก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

IMG_0252

หน้้าแรกของ application กด + ก็จะสร้างวิดีโอใหม่ได้ทันที

IMG_0253

กดบันทึกตรงกลาง อธิบายด้วยเสียงและตัวอักษร
เสร็จแล้วกดอีกครั้ง ก็จะได้วีดีโอการสอนของเราไว้ใช้แล้วครับ

ลองเข้าไปชมวีดีโอของผมได้ที่ www.showme.com/kruaun/ นะครับ เป็นห้องเรียนกับทางเหมือนที่กระทรวงต้องการพอดีครับ

ลองเข้าไปชม แนะนำติชมได้ครับ และลองทำไว้ใช้บ้างนะครับผม

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาค 1


สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต้องเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานนั้น จัดไปตามนี้นครับ

คณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค32101)

|| ลำดับและอนุกรม || ความน่าจะเป็นเบื้องต้น ||

ว่าด้วยเรื่องลำดับและอนุกรม และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ครับ…คลิกที่ชื่อวิชาได้ศึกษากันได้เลยครับ (กำลังอยู่ระหว่างการอับเดทเนื้อหาเรื่อยๆ นะครับ)

fibonacciaaabbbb-tile

เลขประจำตัวประชาชน


idcard01ก้มลงมองบัตรประจำตัวประชน จะเห็นมีตัวเลขชุดหนึ่งมี 13 หลัก ที่เรียกว่า “เลขประจำตัวประชาชน” คือ เลขประจำตัวของเรานั่นเอง เราจะมีเลขชุดนี้คนละชุด ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุความเป็นคนไทยของเรา

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคุณประโยชน์ของคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้าง “รหัส” ที่เราใช้อยู่โดยไม่รู้ตัว

 

<<<อ่านทั้งหมดต่อได้แค่คลิก>>>

Thailand Blog Awards 2012


หลังจากส่งเข้าร่วมกิจกรรม Thailand Blog Awards 2012 ทั้งขอคะแนน ปั่นกระแสโหวตกัน มีร่วมเดือน จนผมเอง…ในฐานะที่ส่งเข้าร่วมประกวดด้วยในสาขาการศึกษา (Education) สาขาวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์ (Science Blog) โดยที่ตัวเองแอบหวังเล็กๆ ในสาขาการศึกษา แม้ว่าบล็อกเกอร์ไทยหลายๆ คนก็จะส่งสาขานี้กันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนครูร่วมวิชาชีพ ซึ่งบางท่านก็คุ้นเคยกันดี

วันนี้…ประกาศผลกันอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรางวัล Popular Vote และ 3 ผู้เข้าชิง (Nominees) ในแต่ละสาขา

โดยในสาขาการศึกษานั้น ผมไม่ติด 1 ใน 10 ของ Popular Vote (เหอๆๆๆ ก็เป็นไปตามคาด) ที่แต่คาดไม่ถึง (เข็มขัดสั้นมาก) คือ สาขาวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมไม่ได้หวังเลย ไม่คิดถึงมันด้วยซ้ำ วันนี้ประกาศผมออกมาเป็น 1 ใน 3 ของผู้เข้าชิง (3 Nominees)

โอ๊ยยยยย…ใจเต้นไม่เป็นส่ำ ตอนที่เห็นที่หน้ากระดานเฟซบุค เมื่อครูอ๋อ วิมลรัตน์ มาโพส Thailand Blog Awards 2012

เฮ้ย…เรามีเอี่ยว หรือว่า ครูอ๋อได้รางวัลนะ…คลิกปั๊บ เน็ตหลุดปุ๊บ และคอมพิวเตอร์เจ้ากรรมแฮงค์ทันที ต้องรอรีสตาร์ทใหม่

อ้าววววว…สาขาการศึกษาไม่มีชื่อเราดังคาด…แสดงว่าครูอ๋อต้องได้แน่เลย…เลยอ่านไปเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติม

รับรางวัล Web Media


ตอนส่งเข้าประกวดเมื่อกลางปี ๒๕๕๔ คิดแค่ว่า ขอผ่านเกณฑ์ก็พอ ยิ่งเมื่อประกาศคนสมัครเมื่อปลายปี กลับพบว่า ความหวังว่าจะได้ ๑ ใน ๑๐ คงยิ่งยากออกไปอีก เพราะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ส่งงานเข้าประกวด ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านการสร้างเว็บและพัฒนาเวบไม่น้อย

ต่อเมื่อประกาศผลเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีซื่อเป็น ๑ ใน ๑๐ ของครูมัธยมศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัล ดีใจมาก จนเก็บอาการไม่อยู่ เพราะถือเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (นับถึงปัจจุบัน) ที่ได้รับมา เป็นกำลังใจที่จะพัฒนางานด้านนี้ต่อไป ทั้งๆ ที่เคยคิดจะเลิกล้มไปแล้ว เพราะว่านักเรียนโรงเรียนประจำตำบลเข้าถึงได้น้อย

จนเมื่อนักเรียนคนหนึ่งได้เข้ามาแล้วพูดว่า

“ไม่คิดเลยครับ ว่าจะเป็นเว็บของคุณครู นึกว่าครูที่กรุงเทพซะแล้ว ที่ไหนได้ อยู่สุรินทร์นี่เอง..จาก สุรวิทยาคาร ครับ ขอบคุณข้อสอบเลขยกกำลังมากเลยครับ เป็นประโยชน์มาก :)”

นั่นจุดประกายให้ผมทำงานนี้ต่อ ด้วยเหตุผลว่า

นักเรียนของเราเข้าถึงได้น้อยก็ไม่เป็นไร ถ้านักเรียนคนอื่นจะได้ ก็ยินดี

ก็เลยทำงานนี้ต่อ

และรางวัลนี้…ก็จะเป็นกำลังใจที่จะทำงานต่อไปให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ หลายคนในที่นั่้น โดยการนำของครูกฤตยา ศรีริ ก็ได้เล่าแนวคิดในการสร้างและพัฒนา ตลอดจนกำลังใจที่สร้างงาน คณะทำงานของ สทร. ได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวทางการตัดสิน มีสองข้อเท่านั้นเองที่สำคัญ คือ มีสื่อและร่องรอยการใช้ ซึ่งทุกคำพูดเป็นกำลังในการสร้างงาน และพัฒนางานต่อไป

รับเกียรติบัตรจากเท่านเลขาธิการ กพฐ. ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน

คณะผู้ได้รับรางวัลถ่ายภาพรวมกับทานเลขาฯ กพฐ. ห้องประชุม สพฐ.๔ ชั้น ๒ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๕

กว่าจะได้รับรางวัลเว็บไซต์ที่มีสื่อการสอนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (Web Media) ประจำปี ๒๕๕๔ โดยเป็น ๑ ใน ๑๐ ของครูมัธยมศึกษาทั่วประเทศที่ได้รับเกียรตินี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวขอบคุณความรู้ แนวคิด และความกรุณาจากบุคคลมากมายหลายฝ่าย

คุณครูวัลลภ  ศรีวงศ์จรรยา ครูคอมพิวเตอร์คนแรก (ปัจจุบัน (๒๕๕๕) ผอ.โรงเรียนวัดท่าวัว สพป.สระบุรี ๑) และคุณครูจำลอง  ขาวผ่อง ครูคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน (๒๕๕๕) ผอ.โรงเรียน…) แห่งโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา ที่เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตลอดระยะเวลาที่เรียนที่มวกเหล็กวิทยา

นายวิธวิทย์  ประสานศักดิ์ทวี  ครูโรงเรียนบ้านลาดใหญ่ สพป.ชัยภูมิ ๑ ที่ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งทำให้รู้จักกับการสร้างเว็บล็อก (บล็อก) ของ http://www.wordpress.com ซึ่งวิทยากรคือคุณกติกา สายเสนีย์ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับการต่อยอดความรู้และความคิดเพิ่มเติมหลังจากพัฒนาบล็อก http://kruaun.bloggang.com มาระยะหนึ่ง

นายชูเดช  อำพันทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม (๒๕๕๓) สำหรับความกรุณาให้ข้าพเจ้าได้รับเข้าการอบรมในครั้งนั้น ตลอดจนการสนับสนุนการพัฒนาเว็บล็อกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอนุญาตให้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับโครงการนี้ทุกครั้งขณะที่รับราชการที่โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม แม้บางครั้งจะใช้เวลาทั้งสัปดาห์ก็ตาม

นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน พี่เมาะ-นางอัจฉรา  จันทพลาบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มเผยแพร่และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่กลุ่มเผยแพร่ฯ ทุกๆ คน สำหรับโอกาสให้ข้าพเจ้าได้เข้ารับการพัฒนาต่อยอดความรู้ความคิดอย่างต่อเนื่องตลอดสองปีที่ผ่านมา จากโครงการที่จัดโดย สทร.

นายวรวิทย์  ไชยวงศ์คต ครูโรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษาฯ จ.สกลนคร, นางสาวขนิษฐา  วทัญญู ครูโรงเรียนเมืองใหม่ฯ จ.ลพบุรี, นายวุฒิพงษ์  การุญ ครูโรงเรียนบ้านม่วงวิทยา จ.สกลนคร, นางสาววราภรณ์  เฉิดดิลก ศึกษานิเทศก์ สพป.กาญจนบุรี เขต ๑, นางสาวสุรีรัตน์  จุติกรี ครูโรงเรียนบ้านหลุมข้าว จ.นครราชสีมา, นายณัฐพล  บัวอุไร ครูโรงเรียนเตรียมอุดมฯ ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และเพื่อนๆ ชาว SMEdu สำหรับคำแนะนำต่างๆ ในการพัฒนาบล็อก ทุกคำแนะนำดีเหล่านั้น ช่วยให้ข้าพเจ้าพัฒนาบล็อกได้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในยามมีปัญหาและอุปสรรค

เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ในบล็อกนี้เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์ ถ้าจะไม่กล่าวถึงครูคณิตศาสตร์ก็คงจะไม่ได้ ครู….. ครูโรงเรียนวัดเกษแก้ว ผู้ค้นพบความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของข้าพเจ้าคนแรกและได้พัฒนาความสามารถนั้นตลอดปีการศึกษา ๒๕๒๙ ที่เรียนที่นั่น ครูสุวรี  วิชยานุวัตร ครูภัทราวรรณ  เมตตา ครูสุนันท์  แสงสว่าง ครูสุกัญญา  เอี่ยมสะอาด ครูประนอม  จอดนอก ครูประจำชั้นผู้สอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนชุมชนบ้านวังน้ำเย็นมิตรภาพที่ ๑๗๙ (ปัจจุบัน อนุบาลวังน้ำเย็นมิตรภาพที่ ๑๗๙) ครูรัตนา  ระยานนท์ ครูรัชนีย์  เลิศหัสดีรัตน์ แห่งโรเงรียนมวกเหล็กวิทยา ศ.ดร.ณรงค์  ปั้นนิ่ม, รศ.ดร.สมพล  เล็กสกุล, รศ.กมล  เอกไทยเจริญ, รศ.ดร.พิชชากร  แปลงประสพโชค, อ.สุวรรณา  คล้ายกระแส, อ.มยุรี  บุญอาจ, อ.ละเอียด  ปรารถนาดี และอาจารย์ทุกๆ ท่านแห่งภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ให้กับข้าพเจ้า และอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ (รวมทั้งภาควิชาคณิตศาสตร์) ที่ได้ปลูกฝังความเป็นครูให้กับข้าพเจ้า

เพื่อนร่วมงานทุกๆ คนที่เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงาน และเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมายที่โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม โดยเฉพาะ ผอ.แสน  แหวนวงศ์, รองฯ วีระพล  สายหอม, ครูสารภี  สามารถ, ครูสารภี  สายหอม, ครูกฤตวรรณ  เรืองทุม, ครูสุวคนธ์  ทองแม้น และครูทุกท่าน สำหรับคำแนะนำ และคำสอนต่างๆ มากมาย อีกทั้งคอยให้กำลังใจในทุกๆ เรื่องในชีวิต และครูโรงเรียนโคกยางวิทยา สำหรับกำลังใจในการพัฒนางาน

เพื่อนๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาที่คอยแวะเวียนมาเยี่ยมบล็อก และให้กำลังใจในการพัฒนางาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสมอมาโดยไม่ได้ปิดบังอำพราง

ที่สุดของที่สุด ครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของข้าพเจ้า คือ บิดา มารดา ที่ได้พร่ำสอนบทเรียนต่างๆ มากมายในชีวิต คอยดูแลเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ และพี่ชายของข้าพเจ้าที่ยอมเสียสละไม่เรียนเพื่อให้น้องได้เรียน ตลอดจนบุคคลอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้หมดในที่นี้

ถ้าหากผลการจากทำบล็อกนี้มีความดีอยู่บ้าง ข้าพเจ้าขอใช้เป็นเครื่องบูชา ขอบพระคุณ และขอบคุณบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความสำเร็จในวันนี้

 

รางวัลนี้ไม่ใช่สิ้นสุดการพัฒนา แต่รางวัลนี้จะเป็นแรงผลักดันที่จะพัฒนางานนี้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ

วันนี้…วันพาลินโดรม


วันนี้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 หรือ ค.ศ.2012 ถ้าเขียนแทนเดือนด้วยตัวเลข ต่อกัน จะได้เป็น

21022012

ลองอ่านจากซ้ายไปขวา แล้วก็จากขวาไปซ้ายดูครับ จะพบว่่า…อ่านได้จำนวนเดียวกัน

ใช่ไหมครับ…

จำนวนลักษณะนี้เราเรียกว่า “จำนวนพาลินโดรม”

แล้วเจ้า “พาลินโดรม” (Palindrome) คืออะไร??? เรามาหาความรู้กันนะครับ

ใครที่ชอบภาษาอังกฤษคงจะทราบว่า คำบางคำนั้น ไม่ว่าจะอ่านจากหลังไปหน้า หรือจากหน้าไปหลัง ก็จะเหมือนกัน เช่น radar, rotator, reviver และ Dr.Awkward เป็นต้น พูดง่าย ๆ คือ มีสมมาตรซ้าย-ขวา กำกับอยู่นั่นเอง ความจริงในภาษาไทยเราก็พอมีเหมือนกัน เช่น ‘กาก’, ‘กนก‘ และ ‘นาน’ อะไรทำนองนี้ แต่ที่อาจจะไม่ค่อยได้เห็นกันมากนัก เช่น ‘นนน’ (อ่านว่า นะ-นน เป็นชื่ออู่ซ่อมรถแถว ๆ บ้านผม) และ ‘รรรรรร’ (ชื่อของฝาแฝดที่สุดแสนสร้างสรรค์ โดยท่านหนึ่งคือ ระ-รัน-รอน ส่วนอีกท่านคือ ระ-รอน-รัน)

คำพวกนี้ละครับที่เรียกว่า พาลินโดรม (palindrome) ซึ่งมาจากภาษากรีก palin (อีกครั้ง) + dromos (กำลังวิ่ง) คือ (อ่าน) วิ่งถอยหลังยังได้เหมือนเดิม แต่คำนี่ยังดูสั้นไปหน่อย ลองดูประโยคพาลินโดรม เช่น ‘He lived as a devil, eh?’ หรือประโยคคลาสสิคอย่าง ‘Madam, I’m Adam.’ ซึ่งเดี๋ยวนี้โดนดัดแปลงพันธุกรรมจนหลากหลาย (แต่ก็ยังมีเค้าเดิม) เช่น ‘Madam in Eden, I’m Adam.’ และ ‘Madam, I do get a mate. God, I’m Adam.’

สำหรับเซียนคณิตศาสตร์อาจจะพูดว่า ‘I prefer pi.’ และแฟนเทนนิสอาจจะเห็นอังเดร อากัสซี หลุดปากออกมาว่า ‘Damn! I, Agassi, miss again! Mad!’ ส่วนท่านที่ชื่นชอบรถโตโยต้าเป็นชีวิตจิตใจ ก็อาจจะพูดเป็นสโลแกนว่า ‘A Toyota! Race fast, safe car. A Toyota’ หรือจะพูดสั้น ๆ แค่ ‘A Toyota’s a Toyota.’ ก็หนักแน่นกินใจแล้ว ส่วนภาษาไทยก็เช่น ‘ดีใจคุณแม่คุณใจดี’ (ผมมั่วขึ้นมาเองครับ) (และถ้าสนใจพาลินโดรมภาษาอังกฤษเรื่องยาวราว 10 หน้า ต้องไปที่ http://www.palindromelist.com)
ไม่ใช่แต่ภาษาเท่านั้นที่มีพาลินโดรม คณิตศาสตร์ก็มีกับเขาเหมือนกัน อย่างปี ค.ศ.2002 ก็เป็น เลขพาลินโดรม (palindromic number) คือดูตัวเลขจากหลังไปหน้าก็ได้เหมือนเดิม แต่นักคณิตศาสตร์รู้ดีว่าแบบนี้มันหมูไปหน่อย ก็เลยคิดสูตรขึ้นมาว่า ถ้ายกตัวเลขจำนวนเต็มขึ้นมา เช่น 38 แล้วนำไปบวกกับตัวเลขอ่านย้อนกลับ คือ 83 จะได้ว่า 38 + 83 = 121 ซึ่งเป็นเลขพาลินโดรม (แบบบวกแค่ครั้งเดียว)

แต่ถ้าเริ่มจาก 168 จะได้อย่างนี้ 168 + 861 = 1029 (บวกครั้งเดียว ยังไม่เป็นพาลินโดรม) … เอาอีก 1029 + 9201 = 10230 (บวก 2 ครั้ง ก็ยังไม่เห็น) … ลองอีกซักที 10230 + 03201 = 13431 คราวนี้เป็นพาลินโดรม … เย้!

ส่วนตัวเลขที่ดูซื่อ ๆ อย่างเช่น 89 นั้น ต้องบวกไปเรื่อย ๆ ถึง 24 ครั้งจึงจะได้ 8,813,200,023,188 (ลองเอง) และตัวเลขง่ายอย่าง 196 ก็เคยทำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบเพี้ยนมาแล้ว เพราะต้องบวกไปเรื่อย ๆ ร่วมพันครั้ง! (ไม่แนะนำให้ลอง)

ดังนั้น นอกจากวันนี้แล้ว ที่เป็นวันพาลินโดรม ผมฝากถามต่อกันนะครับว่า

  • วันพาลินโดรมก่อนวันนี้ คือ วันใด???
  • วันพาลินโดรมหลังจากวันนี้ คือ วันใด???
  • วันพาลินโดรมแบบปี พ.ศ. (เอาใกล้ๆ นี้) มีไหม??? ถ้ามีคือวันไหน???

ขอบคุณที่มาดีๆ:

แบบจำลองภาคตัดกรวย 2/54


ต่อไปนี้เป็นงานสำหรับนักเรียนชั้น ม.4/2-3 นะครับ งานสำหรับบทที่ 3 เรื่อง เรขาคณิตวเคราะห์และภาคตัดกรวย (ที่มอบไว้แล้วตั้งแต่ต้นเทอม) นั่นก็คือ

“การสร้างแบบจำลองภาคตัดกรวย”

เป็นการสร้างงาน “คณิตศาสตร์กับศิลปะ” ด้วยวิธีการทางเรขาคณิตที่ใช้ “สันตรง และวงเวียน” ในการสร้าง

โดยนักเรียนสามารถเข้าไปศึกษา/อ่าน/ดาวน์โหลดเอกสารและวิธีการทำงานและส่งได้งานได้ตามลิงค์ “แบบจำลองภาคตัดกรวย” นะครับครับ

สำหรับกำหนดการส่งงาน ให้ส่งวันสอบท้ายบทที่ 2 ควาุ้มสัมพันธ์และฟังก์ชันนะครับ

ขอให้โชคดีในการทำงาน…มีคำถามฝากไว้ที่กลุ่มเรียนรู้กับครูอั๋น หรือที่ แฟนเพจ: เรียนรู้กับครูอั๋นนะครับผม

ครูอั๋น
10 ธันวาคม 2554