การดูแลรักษาและป้องกันการติดต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงชุติมา ประมูลสินทรัพย์
หน่วยโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
การติดเชื่อไวรัสตับอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลก โดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบีและซี เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะดำเนินโรคเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ประมาณร้อยละ ๕ ของประชากรโลก หรือประมาณ ๓.๕ ล้านคน ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และมีผู้เป็นพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบปีมากกว่า ๓๗๐ ล้านคนทั่วโลก และเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้มากกว่า ๒๕๐,๐๐๐ คนต่อปี และที่สำคัญประมาณร้อยละ ๗๐ ของผู้ที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นชาวเอเชีย สำหรับประเทศไทย นับเป็นแหล่งที่มีโรคตับอักเสบบีมากประเทศหนึ่งในโลก มีประชากรที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีถึงร้อยละ ๕ – ๑๐ หรือประมาณ ๕ – ๖ ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบยี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบเฉียบพลันร้อยละ ๓๐ – ๔๐ และเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรังถึงร้อยละ ๖๐ – ๗๐ ของผู้ป่วย ดังนั้นโรคไวรัสตับอักเสบบีจึงนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับประเทศไทย แต่ในปัจจุบันหลังจากที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีให้กับเด็กแรกเกินทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลงเหลือประมาณร้อยละ ๓ – ๕