คณิตศาสตร์เรื่องการนับรุุ่น


อนุสรณ์ 56

“เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม…ไม่เห็นจะได้ใช้”
นี่ไง…นับรุ่น…เอาไปใช้สิครับ

ผมเคยวิพากษ์การนับรุ่นปริญญาตรีของ #มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่านับผิด ผมเข้าเรียนปริญญาตรีปีการศึกษา ๒๕๔๒ รหัส ๔๒ เป็นปีที่ มศว ฉลองครอบรอบ ๕๐ ปีแห่งการก่อตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ ที่จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง และเขาก็นับพวกผมที่รหัส ๔๒ เป็นรุ่นที่ ๕๐ ซึ่งถ้ามีการกำหนดรหัสประจำตัว

รุ่นนั้นก็รจะรหัส (๒๔)๙๒ เป็นรุ่นที่ ๐๑ นับต่อครับ
สิบปีผ่านไป รหัส (๒๕)๐๒ ก็ต้องเป็นรุ่นที่ ๑๑
รหัส ๑๒ รุ่นที่ ๒๑
รหัส ๒๒ รุ่นที่ ๓๑
รหัส ๓๒ รุ่นที่ ๔๑
ดังนั้น รหัส ๔๒ ก็ต้องเป็นรุ่นที่ ๕๑ จริงไหมครับ???

ลองนับนิ้วดูก็ได้

ทีนี้…หนังสือรุ่นของโรงเรียนออก บอกว่าปีนี้นักเรียนเป็นรุ่นที่ ๔๓

โรงเรียนก่อตั้งปี ๒๕๑๓ นักเรียนที่เข้าเรียนปีนั้นนับเป็นรุ่นที่ ๑
ในทำนองเดียวกันกับกรณี มศว นะครับ

เข้าเรียนปี ๒๕๑๓ นับเป็นรุ่นที่ ๐๑
เข้าเรียนปี ๒๕๒๓ นับเป็นรุ่นที่ ๑๑ (อ.รัชนี จบปี ม.๓ ปีนี้ บอกว่าเป็นรุ่นที่ ๙ เพราะเข้าเรียนปี ๒๑…นับนิ้วด่วนๆๆๆๆ)
เข้าเรียนปี ๒๕๓๓ นับเป็นรุ่นที่ ๒๑
เข้าเรียนปี ๒๕๔๓ นับเป็นรุ่นที่ ๓๑
เข้าเรียนปี ๒๕๕๓ นับเป็นรุ่นที่ ๔๑
เข้าเรียนปี ๒๕๕๔ นับเป็นรุ่นที่ ๔๒
เข้าเรียนปี ๒๕๕๕ นับเป็นรุ่นที่ ๔๓
เข้าเรียนปี ๒๕๕๖ นับเป็นรุ่นที่ ๔๔

นี่ยังไม่นับว่าแยกรุ่น ม.ต้น กับ ม.ปลาย นะ เพราะมันแยกกัน เหมือนจะเปิดเรียนไม่พร้อมกัน ต้องนับแยกรุ่นไหม… เพราะคนละหลักสูตร เข้าเรียน ม.๑ ม.๔ พร้อมกัน เด็กที่เรียนที่นี่ ๖ ปี ก็จะมีสองรุ่น เข้าเรียน ม.๑ ปี ๒๕๕๑ จบปีการศึกษา ๒๕๕๓ จะเป็นรุ่นหนึ่ง เข้า ม.๔ ปี ๒๕๕๔ จบ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ (ปี ๒๕๕๗) ก็จะนับอีกรุ่นหนึ่ง กลายเป็นพวกสองรุ่นไปซะงั้น…เหมือน ป.โท เขายังนับแยกตามหลักสูตรเลย

เพื่อนกันที่จบ ม.๓ แล้วไม่เรียนต่อ หรือไม่ต่อที่อื่นก็จะบอกว่า รุ่น ๔๐ แต่พวกเข้าเรียนต่อก็จะบอกว่าตัวเองรุ่น ๔๓ นับรุ่นไม่เจอกันอีกแหละ…

ผมอาจจะคิดมากไปแบบพวกเรียนคณิตศาสตร์…แต่ ปีนี้ รุุ่น ๔๓ นับตามปีของอายุโรงเรียน…น่าจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องแน่ๆ

เว้นแต่ว่าเราจะปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ต่อไป…เหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

Advertisement

การศึกษาคือความเจริญงอกงาม


ซ้าย: ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ขวา: ตราวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ด้านล่างจะมีภาษาบาลี “สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” หมายถึง การศึกษาคือความเจริญงอกงาม

ตราของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ผมเป็นผู้คิด ตอนนั้นเราเป็นสถานศึกษาใหม่ๆ สีก็ไม่มี ตราก็ไม่มี บังเอิญเมื่อตอนเรียนปริญญาตรี ผมได้เรียนคณิตศาสตร์ จึงรู้ว่ามีเส้นกราฟอยู่เส้นหนึ่งสมการของมันก็คือ ‘y เท่ากับ e ยกกำลัง x’ เวลาพล็อตกราฟแล้วเส้นกราฟจะขึ้นเรื่อยไม่ มีวันลง ประดุจจรวดขึ้นไปในอวกาศ ถ้าจะนิยามคำว่า การศึกษาละก็อาจจะทำได้สองอย่าง คือ การศึกษาชนิดที่เป็นภาวะอย่างหนึ่ง และการศึกษาชนิดที่เป็นการกระทำอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นการศึกษาที่เป็นภาวะแล้ว ก็อาจพูดได้ว่า การศึกษา คือ การงอกงาม งอกงามไปเรื่อยๆ ไม่มีวันรู้จักจบสิ้น แต่ถ้าเป็นทางการกระทำ ก็แปลว่า การที่เราจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อว่าผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกัน

ศ.ดร.สาโรช บัวศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร
และอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาท่านแรก
ซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อ่านประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี คลิกครับผม

อาจารย์สุวรรณา คล้ายกระแส


เคยมีนักเรียนเขียนถึงผม
ว่าผมเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เขามาเป็นครู
(ลองไปอ่านดูครับ)

http://verygoodteacher.blogspot.com/2008/08/blog-post_2961.html

ผมเองก็มีครู/อาจารย์ที่เป็นแบบอย่างให้ผมยึดถือ
เป็นแรงผลักดัน อีกทั้งเป็นผู้ประสิทธิประสาทวิชาการต่างๆ ให้
ตลอดเวลาที่อยู่ในระบบการศึกษาว่า ๑๗ ปี
ครูตั้งแต่อนุบาล จนปริญญาตรี (และปริญญาโท)
ล้วนแต่มีบทบาทสำคัญต่อผมทุกท่าน
ผมจะค่อยๆ เล่าก็แล้วกันนะครับ

ผมขอเริ่มต้นที่

อาจารย์สุวรรณา คล้ายกระแส (สกุลเดิมน่าจะ “มุ่งเกษม”)

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อ่านเพิ่มเติม

Read: โอ้…มหาิวิทยาลัยที่ฉันรัก


นักเรียนบางคนก็เคยถามว่าครูนี้หนาเรียนจบจากไหน…ก็ตอบเลยว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้

  1. เดิมที่เป็นแค่โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงเท่านั้นเอง
  2. เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูระดับปริญญาตรีได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  3. มหาวิทยาลัยที่เคยมีวิทยาเขตมาที่สุด คือ ๘ แห่ง
  4. เป็นมหาวิทยาลัยที่เขาบอกว่าตอนนี้ดารานักร้องเรียนเยอะมาก
  5. มหาวิทยาลัยที่มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปกราฟ
  6. เป็นมหาวิทยาลัยที่…ครูรัก (ไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไหร่)

ครับ มหาวิทยาลัยแห่งนั้น เดิมคือโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ต่อมาพัฒนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา และปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ มศว ที่เราคุ้นเคยที่เองครับ อยากรู้เรื่องอะไรของ มศว ไปอ่านที่เว็บ http://www.swu.ac.th นะครับ

วันนี้จะเอาเพลงมาให้ฟัง ๒ เพลง เพลงแรกคือ เพลง “ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นเวอร์ชันใหม่ๆ ครับ

อ่านเพิ่มเติม