ทบ.เศษเหลือ ปะทะ การหารสังเคราะห์


พอสอนเรื่องการแก้สมการพหุนาม และสอนทั้งการใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ และการหารสังเคราะห์ประกอบกัน นักเรียนก็จะงง ตัวผมเองก็งง และมีคำถามว่า จะให้ทฤษฎีบทเศษเหลือทำไม ในเมื่อหารสังเคราะห์ก็ใช้ได้ และใช้ได้ดีกว่าด้วย (ในมุมมองส่วนตัว)

วันนี้จะคุยกันเรื่องนี้ก็แล้วกันครับ

ทฤษฎีบท    (ทฤษฎีบทเศษเหลือ: Remainder Theorem)
ถ้าหารพหุนาม p(x) ด้วย xc เมื่อ c เป็นจำนวนจริงใด ๆ แล้ว เศษจากการหารจะเท่ากับ p(c)

เช่น

ตัวอย่าง    จงหาเศษเหลือจากการหาร x4 – 5x3 + 2x2x + 2 ด้วย x – 3

วิธีทำ         ในที่นี้ xc = x – 3  ดังนั้น c = 3

ใ้ห้ p(x) =  x4 – 5x3 + 2x2 – x + 2
เศษเหลือจากการหาร p(x) ด้วย x – 3 คือ p(3)
จะได้     p(3) = 34 – 5(33)+ 2(32) – 3 + 2 = 81 – 185 + 18 – 3 + 2 = -87

แต่ถ้าเป็นการหารที่ลงตัว หรือ หารผลหาร หรือ โจทย์ต้องการให้แยกตัวประกอบ หรือ แก้สมการ
ใช้การหารสังเคราะห์จะได้ประโยชน์มากกว่า และเร็วกว่าด้วยครับ

เช่น  (2x3x2 – 8x + 15) ÷ (x – 2) = ?

ด้วยวิธีการหารยาวแบบธรรมดา เราสามารถหาผลหารได้ดังนี้

แต่ว่าการตั้งหารแบบการหารยาวข้างต้นนั้นเสียเวลาและเสียพื้นที่มาก เราจะใช้วิธีการหารโดยการไม่เขียนตัวแปร และจัดรูปแบบการหารใหม่ ดังนี้

ซึ่งพอจะสรุปวิธีการหารสังเคราะห์คร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ

สมมติให้ p(x) แทนพหุนามที่มีดีกรีมากกว่าหรือเท่ากับ 1

ถ้าต้องการหาร p(x) ด้วย xc เมื่อ c ≠ 0 ด้วยวิธีการหารสังเคราะห์ จะมีวิธีการดังต่อไปนี้

1.  เขียนสัมประสิทธิ์ของพจน์ต่าง ๆ ของ p(x) โดยเขียนเรียงลำดับกำลังของ x จากมากไปหาน้อย และพจน์ใดไม่มีถือว่าสัมประสิทธิ์ของพจน์นั้นเท่ากับ 0
2.  เขียน c เป็นตัวหาร
3.  จำนวนแรกในแถวที่ 1 ให้ดึงลงมาในแถวที่ 3
4.  นำ c คูณกับจำนวนแรกของแถวที่ 3 นำผลคูณที่ได้มาใส่ในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 2
5.  บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สอง นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3
6.  นำ c มาคูณกับจำนวนในตำแหน่งที่สองของแถวที่ 3 นำผลคูณใส่ในตำแหน่งที่สามของแถวที่ 2
7.  บวกจำนวนในแถวที่ 1 และแถวที่ 2 ในตำแหน่งที่สาม   นำผลบวกใส่ในตำแหน่งเดียวกันกับแถวที่ 3

ทำเช่นนี้เรื่อยๆ ไป จนหมดทุกตำแหน่ง แล้วจะได้ว่า

  • จำนวนแต่ละจำนวนที่ได้ในแถวที่ 3 (ยกเว้นจำนวนสุดท้าย) เป็นสัมประสิทธิ์ของของผลหาร ซึ่งจะเป็นพหุนามที่มีดีกรีน้อยกว่าดีกรีของ p(x) อยู่ 1
  • จำนวนสุดท้ายของแถวที่ 3 เป็นเศษของการหาร

ลองดูตัวอย่างกันครับ

Untitled
ลองนำไปทำดูนะครับ

สรุปว่า

ถ้าต้องการหาเศษจากการหารพหุนาม p(x) ด้วย x – c ให้ใช้ทฤษฎีบทเศษเหลือ หา p(c) ได้เท่่าไรนั่นคือเศษเหลือ
แต่หากต้องการแยกตัวประกอบของพหุนาม p(x) เพื่อนำไปใช้แก้สมการ ให้ใช้การหารสังเคราะห์จะสะดวกว่า (มากเลยแหละ) เพราะนอกจากจะได้ x – c แล้ว ยังได้ผลหาร q(x) ที่ทำให้ p(x) = (x – c)(q(x)) ด้วย ซึ่งจะทำให้เราสามารถแยกตัวประกอบต่อ (กรณีดีกรีเ่ท่ากับ 2) หรือหารสังเคราะห์อีกครั้ง (กรณีดีกรีสูงกว่า 2) ได้เลย

ครูอั๋น
7 กันยา’54

Advertisement

ทบทวนเนื้อหาสำหรับเตรียมเรียน ม.4


ให้นักเรียนศึกษา/เรียนรู้/ทบทวน เนื้อหาซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนะครับ
เริ่มกันเลยครับ


เพลงเลขยกกำลัง (ภาษาอังกฤษ)


ไปเรียนเอกนามกัน

WorK I: รายงานพหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนาม


ถามกันเยอะมากมายว่ารายละเอียดของรายงานเรื่อง “พหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนาม” มีว่าอย่างไร

อันดับ 1 รายงานนี้เป็นรายงานคู่ (คู่ หมายถึง ๒ คนนะครับ) ซึ่งสามารถทำคนเดียวได้ไม่ว่ากัน
และนักเรียนสามารถเลือกไม่ทำก็ได้ แต่ถ้านักเรียนทดสอบก่อนเรียนในบทที่ ๓ ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ นักเรียนจะต้องทำงาน/การบ้านหนักกว่าเพื่อนที่ทำรายงานเรียบร้อย และส่งตามกำหนดเวลา

อันดับ 2 รายงานให้เขียนเท่านั้น หรือถ้านักเรียนจะนำเสนอในรูปแบบอื่นก็ได้ เช่น พาวเวอร์พอยต์ เว็บไซต์ รายงานเป็นคลิบวีดีโอ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) แต่ไม่อนุญาตให้พิมพ์เป็นรายงานโดยใข้โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) เช่น MicroSoft Word เป็นต้น

อันดับ 3 กำหนดส่งรายงาน อย่างช้าที่สุดในวันที่มีการทดสอบก่อนเรียนบทที่ ๓ เรื่องสมการและอสมการพหุนาม (น่าจะราวๆ อีก ๒ – ๓ สัปดาห์)

ส่วนหัวข้อรายงาน คลิกที่นี่ครับ

ขอคุณที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
ผลที่ได้จากความตั้งใจ คือความรู้ และความสำเร็จของนักเรียนเอง

เร่งมือนะครับ “งานที่ไม่ได้เริ่มต้นลงมือทำ เป็นงานที่ใช้เวลายาวนานที่สุดกว่าจะสำเร็จ

ด้วยความปรารถนาดี

ครูอั๋น

WorK: มอบงานครั้งที่ 2


มอบงาน

มอบงาน 2 ชิ้นนะครับ (คลิกดูรายละเอียดได้เลยนะครับ)

  1. ข้อสอบตรรกศาสตร์
  2. รายงานเอกนามพหุนาม

ดำเนินการให้เรียบร้อยเลยนะครับ
หวังว่าจะได้รับความร่วมมือดังเคย

ครูอั๋น