วันพาย (Pi Day)


สัญลักษณ์พายในจานวงกลม ล้อมรอบด้วยค่าพาย 3.141592653...

นฤพนธ์  สายเสมา เรียบเรียง

π พาย (pi) เป็นคงตัวค่าหนึ่งในทางคณิตศาสตร์ เป็นค่าคงตัวที่ค้นพบ และถูกนำมาใช้งานตั้งแต่สมัยโบราณ และยังมีการศึกษาสมบัติของมันมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดค่าหนึ่ง ซึ่งค่าพายมีค่าประมาณ 3.14 หรือมีค่าประมาณ 22/7 ด้วยเหตุที่มันมีความสำคัญ เป็นที่รู้จัก และให้ความสนใจมาก จึงมีการกำหนดให้มี วันพาย (Pi Day) และ วันการประมาณค่าพาย (Pi Approximation Day) ขึ้นเป็นวันหยุดอย่างไม่เป็นทางการ 2 วัน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง และกล่าวถึงความสำคัญของค่าพาย

สาเหตุ ที่ยึดถือวันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันพาย” เนื่องจากค่าประมาณของพาย คือ 3.14 (หากยึดทศนิยม 2 ตำแหน่ง) ซึ่งมีความหมายดังนี้

3 คือเดือนมีนาคม และ14 คือวันที่ 14
จึงยึดเอาเดือนที่ 3 วันที่ 14 เป็นวันเฉลิมฉลองค่าพาย

นอกจากนั้น วันดังกล่าวยังเป็นวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ และเหตุการณ์ทั้งสองมักจะจัดการฉลองพร้อมกันในวันเดียวกัน

ส่วน วันการประมาณค่าพายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม เช่นกัน เนื่องจากประมาณ 240 ปีก่อน ค.ศ. นักเรขาคณิตชาวกรีกนามอาร์คีมีดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse, ประมาณ 287 – 212 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้คำนวณค่าพายได้ใกล้เคียงที่สุดในขณะนั้น ค่าประมาณของพายที่อาร์คีมีดีสคำนวณได้อยู่ที่ 22/7 และยังถูกใช้เป็นค่าประมาณของพายเรื่อยมา

อย่างไรก็ตาม มันอาจถูกเข้าใจผิดได้ ดังที่วันดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น “วันการประมาณค่า” (แต่พายเป็นจำนวนอตรรกยะ) และ เป็นค่าที่ใกล้เคียงของพายมากกว่า 3.14 วันที่ 14 มีนาคมจึงมักถูกจัดขึ้นในประเทศซึ่งใช้รูปแบบเดือน/วัน และวันที่ 22 กรกฎาคม มักถูกจัดขึ้นในประเทศที่ใช้รูปแบบวัน/เดือน

เมืองไทยเราก็น่าจะเริ่มมีบางนะครับ
ถ้าเป็นโรงเรียนก็เอาวันที่ 22 กรกฎาคม เหมาะเลย

Advertisement

จำนวนมันใหญ่มาก


หากมีคนถามคุณว่า เลขที่มากที่สุดที่คุณรู้จักคือเลขอะไร และเลขมากมีประโยชน์อย่างไร หรือเขาให้คุณคิดคำนวณเลข 200 หลัก เช่นให้แยกตัวประกอบ (factor) หรือคูณกัน หรือหารกัน คุณจะตอบได้ไหม คุณจะทำได้ไหม

แล้วเขาสนใจจำนวนพวกนี้ตั้งแต่เมื่อไร ใครบ้างสนใจมัน แล้วศึกษาไปให้ได้อะไร

ตามไปอ่านที่จำนวนใหญ่ ในบล็อกนี้ครับ

ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย


นักคณิตศาสตร์ที่มีบทบาทในการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และวางรากฐานในการพัฒนาคณิตศาสตร์ให้เป็นระบบดังเช่นปัจจุบัน “ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย

ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย (Euclid of Alexandria, ประมาณ 325 – 265 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ด้วยวลีเด็ดที่ว่า “There is no Royal Road to Geometry.” (ไม่มีลาดพระบาทสำหรับการเรียนเรขาคณิต—ประมาณว่าการเรียนไม่มีอะไรง่ายนั่นเอง-ครูอั๋น) และได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งเรขาคณิต” พร้อมทั้งบทพิสูจน์ “จำนวนเฉพาะมีไม่จำกัดจำนวน” ที่เป็นบทพิสูจน์ที่สวยงาม แม้นักคณิตศาสตร์ยุคต่อมาก็ยังยกย่องบทพิสูจน์ที่สวยงามว่า “หลุดมาจากคำภีร์ (Eliments)” เพื่อให้เกียรติ

ตามไปอ่านกันครับว่า ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย ท่านทำอะไรไว้มากมาย…อะไรบ้างหนอ แล้วเขาเล่าเรื่องของท่านไว้ว่าอย่างไร ไปกันเลยครับ

ครูอั๋น

เหตุการณ์สำคัญฯ ยุคโบราณ กรีก อียิปต์


ตอนที่ 2 เหตุการณ์สำคัญฯ ในยุคโบราณ หลักฐานแสดงความสามารถด้านจำนวน พัฒนาถึงคณิตศาสตร์ของบาบิโลน กรีก อียิปต์ ศูนย์กลางความรู้ที่อะเล็กซานเดรีย…ตราบจนสิ้นอะเล็กซานเดรีย ความเจริญของยุคโบราณจึงสิ้นสุด และหยุดชะงัก

อ่านต่อได้ที่ “เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตสาสตร์: ยุคโบราณ กรีก และอียิปต์ (ประมาณ 50,000 ปีก่อน ค.ศ. – ประมาณ ค.ศ.450)

แล้วท่านจะได้เห็นพัฒนาการของคณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ อีกทั้งจะพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์บางเรื่อง แม้เวลาผ่านไปเป็นพันปีแล้ว  ความรู้นั้นก็ยังถูกต้องเสมอ

ขอบคุณที่แวะมาเล่นด้วยครับ
ครูอั๋น

พัฒนาการของคณิตศาสตร์


บทความ (ขนาดค่อนข้างยาวนี้) เป็ส่วนหนึ่งของงานที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ตั้งแต่ครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีจุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อเผยแพร่ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ให้เป็นที่รับรู้ของนักเรียน และบุคคลโดยทั่วไป

แบ่งออกเป็นตอนๆ สามารถอ่านได้เรื่อยๆ เมื่อทำเสร็จแล้วว่าจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักหน่อยครับ

“เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์”
(Milestone in the History of Mathematics)

เชิญคลิกไปอ่านได้นะครับ

ครูอั๋น

ปลายทางที่ ∞


ปกหนังสือปลายทางที่อินฟินิตี้ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

รู้จักหนังสือเล่มนี้จากนิตยสารอับเดทฉบับที่ว่าด้วยคณิตศาสตร์…ศาสตร์ที่ใครหลายๆคนไม่ใคร่จะชอบนัก
เขาแนะนำว่าเป็นนิยายคณิตศาสตร์ แปลกใหม่ เลยซื้อมาอ่านดู หนังสือพิมพ์หลายปีก่อน เห็นว่าพิมพ์ครั้งที่ 2 แล้ว
ปีที่แล้ว อ่านแล้วก็รู้สึกชอบดี
แต่โดยคุณพิพัฒน์  พสุธารชาติ
เนื้อเรื่องย่อๆ ของปลายทางที่ ∞
อ.สัจจา สอนคณิตศาสตร์
อยู่ที่คณะคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สอนวิชาประวัติของคณิตศาสตร์
(ซึ่งเป็นวิชาทีผมชอบมาก เป็นการเอาสองวิชาที่ผมชอบมรวมกัน คือ ประวัติศาสตร์
กับคณิตศาสตร์—ไว้ผมจะเล่าให้ฟัง) แล้วก็มีแนวคิดเกี่ยวกับการทำวิจัย
ซึ่งต้องอาศัยศาสตร์อื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งมีการเล่าเรื่องผ่าน อ.สัจจา
ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ผู้อ่านจะได้อ่านจะได้ทำความเข้าใจกับศาสตร์นั้นๆเป็นเบื้องต้นด้วย
ผมเองได้มีโอกาสคุยกับผู้เขียน
คือ คุณพิพัฒน์ ด้วย ตอนนั้นคุณพิพัฒน์ว่าไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่
แต่เห็นผมเป็นคนคณิตศาสตร์อ่านด้วย
เขาก็ดีใจ…
หนังสืออาจจะอ่านเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่มีพื้นความรู้ในศาสตร์ต่างๆ
ที่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้เขียนก็ได้อธิบายเป็นพื้นฐานแล้ว
สามารถเข้าใจได้

ลองหามาอ่านดูนะครับ…
แล้วผมจะเมาเล่าเรื่องอื่นๆ
ให้ฟังอีก

ครูอั๋น