หัวข้อสัมมนาคณิตศาสตร์


ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาถามหัวข้อการสัมมนาคณิตศาสตร์กันมาก บางคนก็มีหัวข้อมาให้แล้วถามว่าจะศึกษาประเด็นไหนได้บ้าง บางคนก็มาแบบลอยๆ ไม่มีอะไรมาเลย

จริงๆ แล้วตัวเองต้องออกตัวก่อนว่า ตอนเรียน ป.ตรี ไม่ได้เรียนวิชาสัมมนา แต่มาเรียนตอน ป.โท อาจารย์สั่งว่าการสัมมนาก็คือการเลือกศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่งแล้วนำเสนอเพื่ออภิปรายโต้แย้ง

ถ้าความหมายแบบ ป.ตรี ก็คือ แบบนี้ ก็น่าจะไม่ยากอะไร (หรอ???) ผมคิดว่าก็ควรมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ
  2. กำหนดขอเขตในการศึกษา
  3. ศึกษา/ค้นคว้า/รวบรวมข้อมูล
  4. เขียนร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษา
  5. แก้ไข้
  6. นำเสนอ/อภิปราย

ก็น่าจะเท่่านี้…

คำถาม คือ ขอบเขตการสัมมนา อาจารย์กำหนดแค่ไหน…ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่ง หรือต้องทำขนาดวิจัย หรือถ้าเกี่ยวกับการสร้างสื่อต้องสร้้างด้วยไหม ขอบเขตการสัมมนากำหนดไว้อย่างไร หรือ อาจารย์สั่งแค่ไปหาเรื่องมาสัมมนา…จบ…

ดังนั้น ถ้าจะถามหัวข้อในการสัมมนา ก็อยากจะแนะนำ น่าจะเลือกจากประเด็นที่เคยเรียนผ่านมา หรือจากสิ่งที่จะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น

  • การเขียนกราฟภาคตัดกรวยด้วย GSP
  • การนำ Excel มาใช้ในการเรียนการสอนความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล
  • ใช้ Excel ในการตรวจสอบคำตอบของสมการกำลังสอง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนจริง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนเชิงซ้อน
  • การพิสูจน์ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้รูปเรขาคณิต
  • สัจพจน์ข้อที่ ๕ ของยุคลิด
  • ฟังก์ชันชนิดต่างๆ การประยุกต์คณิตศาสตร์เรื่องต่างๆ เช่น การประยุกต์ของเมทริกซ์,
  • สูตรการสร้างเลขประจำตัวประชาชน
  • การคำนวณค่าพาย (เช่น Ice Cream Cone Proof)
  • ที่มาของสูตรและการพิสูจน์สูตรที่น่าสนใจ เช่น สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม
  • สามเหลี่ยมของปาสกาล
  • ลำดับชนิดต่างๆ เช่น ฟีโบนักชี
  • จำนวนเฉพาะ (เช่น จำนวนเฉพาะเมอร์แซน)

เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาของคณิตศาสตร์

คิดออกเท่านี้ครับผม ^^
ครอั๋น
12 พฤศจิกา’55
กวดวิชา Get Smart

Advertisement

เรียนเรขาคณิตไปทำไม


การนำการสร้างทางเรขาคณิตไปใช้ที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง

จุดมุ่งหมายหลักของการเรียนการสอนเรขาคณิต  มี  3  ประการดังนี้

ประการที่ 1  การฝึกให้เป็นคนมีเหตุมีผล

ประการที่ 2  ฝึกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ประการที่ 3 มีพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้

อ่่านอย่างละเอียดคลิกอ่านต่อได้เลยอครับ

ปีทาโกรัสแห่งซามอส


ถ้าถามว่ารู้จักนักคณิตศาสตร์คนไหนบ้าง

หลายคนก็จะตอบว่า “ปีทาโกรัส” เพราะมีชื่อทฤษฎีบทเป็นประกันในระดับ ม.ต้น “ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส”

หลายต่อหลายคนรู้จักแค่นั้น แล้วท่านเป็นใคร นอกจากทฤษฎีบทที่ตั้งตามชื่อท่านแล้วท่านยังมีเรื่องราวใดๆ ให้เราได้เรียนรู้อีก

ตามไปอ่านกันที่

 (คลิก) “Pythagoras ปราชญ์ยุคพุทธกาล” (คลิก)

พัฒนาการของคณิตศาสตร์


บทความ (ขนาดค่อนข้างยาวนี้) เป็ส่วนหนึ่งของงานที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ตั้งแต่ครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีจุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อเผยแพร่ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ให้เป็นที่รับรู้ของนักเรียน และบุคคลโดยทั่วไป

แบ่งออกเป็นตอนๆ สามารถอ่านได้เรื่อยๆ เมื่อทำเสร็จแล้วว่าจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักหน่อยครับ

“เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์”
(Milestone in the History of Mathematics)

เชิญคลิกไปอ่านได้นะครับ

ครูอั๋น

ไฮพาเทียแห่งอะเล็กซานเดรีย


มารู้จักกับ “นักคณิตศาสตร์หญิงคนแรก” ที่ปรากฏชื่อในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ยุคโบราณ เธอก็คือ “ไฮพาเทียแห่งอะเล็กซานเดรีย”

ไฮพาเทียแห่งอะเล็กซานเดรีย

เรื่องราวของเธอถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง “Agora” นั่นเองครับ

อยากรู้จักเธอใ้ห้มากขึ้น ไปหาภาพยนตร์เรื่อง Agora มาชม หรือคลิกไปอ่านต่อได้เลยครับผม

ครูอั๋น