=


 

ภาพนิ่ง1

ค.ศ.1557 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษนามโรเบิร์ต เรคอร์ด (Robert Recorde, ค.ศ.1510 – 1558) เป็นบุคคลแรกที่ใช้เครื่องหมายใหม่สำหรับการเท่ากัน (=) ในงานเขียนของเขา

เขากล่าวว่า

…to avoid the tedious repetition of these words: “is equal to”, I will set (as I do often in work use) a pair of parallels, or Gemowe lines, of one length (thus =), because no two things can be more equal.

ซึ่งแปลได้ว่า

เพื่อหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อของการใช้คำว่า “เท่ากับ“ ซ้ำไปซ้ำมา ผมจะกำหนด (อย่างที่ผมมักจะทำเสมอ
ในการใช้งาน) ให้ใช้เส้นขนานหนึ่งคู่ หรือเส้น
Gemowe (ก็คือเส้นขนานในภาษาละติน) ที่มีความยาวเท่ากัน (เช่น =) แทน

เพราะไม่มีสองสิ่งใดที่จะสามารถเท่ากันได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว

ครูอั๋น
may’28, 2014

Advertisement

Math-Read: คณิตศาสตร์ของชาวจีน


 

เอกสารคณิตศาสตร์ที่โบราณที่สุดของจีน

 

เอกสารคณิตศาสตร์โบราณของจีน

 

ศาตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มศว

 

ก่อนปี ค.ศ. 1983 โลกเชื่อว่าตำรา Chou-pei ที่ถูกเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งได้กล่าวถึงสถานภาพทางคณิตศาสตร์ของจีนเมื่อ 100 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราคณิตศาสตร์ที่โบราณที่สุด ส่วนตำราที่มีอายุมากรองลงมาคือ Chiu-chang, Suan-shu (Nine Chapters on Mathematical Procedures) ก็ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งหรือเวลาที่เรียบเรียง ทั้งๆ ที่หนังสือทุกเล่มถูกจักรพรรดิจิ๋นซีทรงสั่งเผา และปราชญ์จีนทุกคนถูกฝังทั้งเป็น แต่ตำรานี้ก็ยังรอดชีวิตมาได้ และถูกปราชญ์จีนในเวลาต่อมา (หลังจากที่จักรพรรดิจิ๋นซีเสด็จสวรรคต) เขียนเพิ่มเติม

อ่านบทความต่อแบบเต็มๆ คลิกเลย