นักคณิตศาสตร์หญิงเจ้าของรางวัลฟิลด์คนแรกจากไปด้วยมะเร็ง


หลังจากเมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาเราสูญเสียศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ ปั้นนิ่ม (ค.ศ.1951 – 2017, พ.ศ.2494 – 2560) ผู้ที่เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ และครู ที่เป็นแรงบันดาลใจกับครูคณิตศาสตร์มากมาย
มาถึงเดือนนี เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ที่ผ่านมา วงการคณิตศาสตร์โลกก็สูญเสีย มาเรียม มีร์ซาคานี (Maryam Mirzakhani, 1977 – 2017, พ.ศ.2520 – 2560) นักคณิตศาสตร์หญิงชาวอิหร่านวัย 40 ปี เจ้าของรางวัลเหรียญฟิลด์ (Fields Medal) คนแรกที่เป็นสตรี เมื่อปี ค.ศ.2014 ทั้งนี้มาเรียมเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิก 2 ครั้ง ในปี 1994 และ 1995 โดยในปีหลังมาเรียมได้คะแนนเต็ม 42 คะแนน
มาเรียมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชาริฟ (Sharif University of Technology) ที่อิหร่าน ในปี 1999 และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา ในปี 2004 ที่ซึ่งเธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่ออายุ 31 ปี

โดยมาเรียมได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมในปี 2013 หลังจากพยายามรักษานาน 4 ปี มะเร็งได้ลุกลามไปยังไขกระดูกของเธอ และเป็นสาเหตุทำให้เธอเสียชีวิตในที่สุด

ต้นฉบับข่าว

Award-winning Iranian mathematician Maryam Mirzakhani has reportedly passed away due to cancer at a hospital in the United States.

Iran’s Mehr News Agency cited one of Mirzakhani’s relatives as confirming her death on Saturday.

Firouz Naderi, a former Iranian director of Solar Systems Exploration at NASA, had also announced her death in an Instagram post earlier in the day.

Mirzakhani had recently been taken to hospital as her health condition worsened due to breast cancer. Cancerous cells had recently spread to her bone marrow. She had already been battling the disease for several years.

In 2014, Mirzakhani was awarded the coveted Fields Medal, also known as the Nobel Prize of mathematics. The 40-year-old, who used to teach at Stanford University, was also the first Iranian woman to be elected to the US National Academy of Sciences (NAS) in May 2016 in recognition of her “distinguished and continuing achievement in original research.”

Mirzakhani was born in Tehran in 1977 and brought up in the Islamic Republic.

She scored the International Mathematical Olympiad’s gold medal twice — in 1994 and 1995. In the second competition, she received the contest’s full 42 points.

She then earned her bachelor’s degree from Iran’s prestigious Sharif University of Technology in 1999, and followed up the rest of her education in the United States, where she earned a doctoral degree from Harvard University in 2004 and became full professor of mathematics at Stanford at the age of 31.

She is survived by husband Jan Vondrák, a Czech theoretical computer scientist, and their daughter Anahita.

Condolences pouring in over Mirzakhani’s death

In a message, Iranian President Hassan Rouhani said Mirzakhani’s “doleful passing” has caused “great sorrow.”

The president praised her scientific achievements, saying the “unprecedented brilliance of this creative scientist and modest human being, who made Iran’s name resonate in the world’s scientific forums, was a turning point in showing the great will of Iranian women and young people on the path towards reaching the peaks of glory and in various international arenas,” read part of the message.

In a post on Instagram, Iranian Foreign Minister Mohammad Javad Zarif also offered his condolences over Mirzakhani’s death.

He said that the death of the young Iranian math genius has caused grief for all Iranians who take pride in their country’s prominent scientific figures.

Iranian Parliament Speaker Ali Larijani also offered his condolences in a post on his Instagram’s account.

In a tweet, Gary Lewis, UN Resident Coordinator for the Islamic Republic of Iran, also expressed his sorrow over Mirzakhani’s death. “Sad to learn about the passing of #MaryamMirzakhani – the intelligent #Iranian daughter, wife, mother, professor. May her eternal soul RIP.”

เครดิต
Advertisement

=


 

ภาพนิ่ง1

ค.ศ.1557 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษนามโรเบิร์ต เรคอร์ด (Robert Recorde, ค.ศ.1510 – 1558) เป็นบุคคลแรกที่ใช้เครื่องหมายใหม่สำหรับการเท่ากัน (=) ในงานเขียนของเขา

เขากล่าวว่า

…to avoid the tedious repetition of these words: “is equal to”, I will set (as I do often in work use) a pair of parallels, or Gemowe lines, of one length (thus =), because no two things can be more equal.

ซึ่งแปลได้ว่า

เพื่อหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อของการใช้คำว่า “เท่ากับ“ ซ้ำไปซ้ำมา ผมจะกำหนด (อย่างที่ผมมักจะทำเสมอ
ในการใช้งาน) ให้ใช้เส้นขนานหนึ่งคู่ หรือเส้น
Gemowe (ก็คือเส้นขนานในภาษาละติน) ที่มีความยาวเท่ากัน (เช่น =) แทน

เพราะไม่มีสองสิ่งใดที่จะสามารถเท่ากันได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว

ครูอั๋น
may’28, 2014

สามนักคณิตศาสตร์ในตำนาน


ถ้าถามนักเรียนมัธยม…ว่า “นักเรียนรู้จักนักคณิตศาสตร์ท่านใดบ้าง???” คำตอบที่ครูมักจะได้ยินเสมอๆ คือ

  • ปีทาโกรัส (ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส)
  • ออยเลอร์ (แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์…แล้วทำไมไม่บอกว่ารู้จักเวนน์ด้วยล่ะ???)
  • เอราโตสเตเนส (ตะแกรงของเอราโตสเตเนส…เอาไว้ร่อนจำนวนเฉพาะ)
  • ยุคลิด (ขั้นตอนวิธีของยูคลิด)

ประมาณนี้ครับที่ติดโผมา…

แต่ยังมีนักคณิตศาสตร์หลายท่านที่มีผลงานสำคัญๆ ตลอดหลายพันปีแห่งพัฒนาการของคณิตศาสตร์ และ “นักคณิตศาสตร์สามท่าน” ในจำนวนหลายร้อยท่านนั้น ได้รับการยกย่องให้เป็น

สามนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกตลอดกาล

นั่นก็คือท่านทั้งสามในภาพ

(แม้ว่าปัจจุบันข้อมูลบางแห่งจะกล่าวว่าเป็น 4 ท่าน รวมออยเลอร์ไปด้วย แต่ผมยังถือว่าเป็น 3 ตามหนังสือที่เคยอ่านครับ)

คลิกอ่านประวัติและผลงานของท่านทั้งสามได้ตามลิงค์ด้านล่างครับผม

เรียนเรขาคณิตไปทำไม


การนำการสร้างทางเรขาคณิตไปใช้ที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง

จุดมุ่งหมายหลักของการเรียนการสอนเรขาคณิต  มี  3  ประการดังนี้

ประการที่ 1  การฝึกให้เป็นคนมีเหตุมีผล

ประการที่ 2  ฝึกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ประการที่ 3 มีพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้

อ่่านอย่างละเอียดคลิกอ่านต่อได้เลยอครับ

วันพาย (Pi Day)


สัญลักษณ์พายในจานวงกลม ล้อมรอบด้วยค่าพาย 3.141592653...

นฤพนธ์  สายเสมา เรียบเรียง

π พาย (pi) เป็นคงตัวค่าหนึ่งในทางคณิตศาสตร์ เป็นค่าคงตัวที่ค้นพบ และถูกนำมาใช้งานตั้งแต่สมัยโบราณ และยังมีการศึกษาสมบัติของมันมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดค่าหนึ่ง ซึ่งค่าพายมีค่าประมาณ 3.14 หรือมีค่าประมาณ 22/7 ด้วยเหตุที่มันมีความสำคัญ เป็นที่รู้จัก และให้ความสนใจมาก จึงมีการกำหนดให้มี วันพาย (Pi Day) และ วันการประมาณค่าพาย (Pi Approximation Day) ขึ้นเป็นวันหยุดอย่างไม่เป็นทางการ 2 วัน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง และกล่าวถึงความสำคัญของค่าพาย

สาเหตุ ที่ยึดถือวันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันพาย” เนื่องจากค่าประมาณของพาย คือ 3.14 (หากยึดทศนิยม 2 ตำแหน่ง) ซึ่งมีความหมายดังนี้

3 คือเดือนมีนาคม และ14 คือวันที่ 14
จึงยึดเอาเดือนที่ 3 วันที่ 14 เป็นวันเฉลิมฉลองค่าพาย

นอกจากนั้น วันดังกล่าวยังเป็นวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ และเหตุการณ์ทั้งสองมักจะจัดการฉลองพร้อมกันในวันเดียวกัน

ส่วน วันการประมาณค่าพายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม เช่นกัน เนื่องจากประมาณ 240 ปีก่อน ค.ศ. นักเรขาคณิตชาวกรีกนามอาร์คีมีดีสแห่งไซราคิวส์ (Archimedes of Syracuse, ประมาณ 287 – 212 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้คำนวณค่าพายได้ใกล้เคียงที่สุดในขณะนั้น ค่าประมาณของพายที่อาร์คีมีดีสคำนวณได้อยู่ที่ 22/7 และยังถูกใช้เป็นค่าประมาณของพายเรื่อยมา

อย่างไรก็ตาม มันอาจถูกเข้าใจผิดได้ ดังที่วันดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น “วันการประมาณค่า” (แต่พายเป็นจำนวนอตรรกยะ) และ เป็นค่าที่ใกล้เคียงของพายมากกว่า 3.14 วันที่ 14 มีนาคมจึงมักถูกจัดขึ้นในประเทศซึ่งใช้รูปแบบเดือน/วัน และวันที่ 22 กรกฎาคม มักถูกจัดขึ้นในประเทศที่ใช้รูปแบบวัน/เดือน

เมืองไทยเราก็น่าจะเริ่มมีบางนะครับ
ถ้าเป็นโรงเรียนก็เอาวันที่ 22 กรกฎาคม เหมาะเลย

อาร์คิมิดีส (อีกครั้ง)


อาร์คิมิดีส (กรีก: Αρχιμήδης; อังกฤษ: Archimedes; 287-212 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองซีราคิวส์ ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก แม้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาน้อยมาก แต่เขาก็ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในสมัยคลาสสิก ความก้าวหน้าในงานด้านฟิสิกส์ของเขาเป็นรากฐานให้แก่วิชาสถิตยศาสตร์ของไหล, สถิตยศาสตร์ และการอธิบายหลักการเกี่ยวกับคาน เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องจักรกลหลายชิ้น ซึ่งรวมไปถึงปั๊มเกลียว (screw pump) ซึ่งได้ตั้งชื่อตามชื่อของเขาด้วย ผลการทดลองในยุคใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า เครื่องจักรที่อาร์คิมิดีสออกแบบนั้นสามารถยกเรือขึ้นจากน้ำหรือสามารถจุดไฟเผาเรือได้โดยอาศัยแถบกระจกจำนวนมาก

อาร์คิมิดีสได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เช่นเดียวกับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์ เขาใช้ระเบียบวิธีเกษียณ (Method of Exhaustion) ในการคำนวณพื้นที่ใต้เส้นโค้งพาราโบลาด้วยการหาผลรวมของชุดอนุกรมอนันต์ และได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงที่สุดของค่าพาย เขายังกำหนดนิยามแก่วงก้นหอยของอาร์คิมิดีส ซึ่งได้ชื่อตามชื่อของเขา, คิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากพื้นผิวที่ได้จากการหมุน และคิดค้นระบบสำหรับใช้บ่งบอกถึงตัวเลขจำนวนใหญ่มากๆ

อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในระหว่างการล้อมซีราคิวส์ (ราว 214-212 ปีก่อนคริสตกาล) โดยถูกทหารโรมันคนหนึ่งสังหาร ทั้งๆ ที่มีคำสั่งมาว่าห้ามทำอันตรายแก่อาร์คิมิดีส ซิเซโรบรรยายถึงการเยี่ยมหลุมศพของอาร์คิมิดีสซึ่งมีลูกทรงกลมจารึกอยู่ภายในแท่งทรงกระบอกเหนือหลุมศพ เนื่องจากอาร์คิมิดีสเป็นผู้พิสูจน์ว่า ทรงกลมมีปริมาตรและพื้นที่ผิวเป็น 2 ใน 3 ส่วนของทรงกระบอกที่บรรจุทรงกลมนั้นพอดี (รวมพื้นที่ของฐานทรงกระบอกทั้งสองข้าง) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในทางคณิตศาสตร์

ขณะที่ผลงานประดิษฐ์ของอาร์คิมิดีสเป็นที่รู้จักกันดี แต่งานเขียนทางด้านคณิตศาสตร์กลับไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก นักคณิตศาสตร์จากอเล็กซานเดรียได้อ่านงานเขียนของเขาและนำไปอ้างอิง ทว่ามีการรวบรวมผลงานอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 530 โดย ไอซิดอร์ แห่งมิเลตุส (Isidore of Miletus) ส่วนงานวิจารณ์งานเขียนของอาร์คิมิดีสซึ่งเขียนขึ้นโดย ยูโตเซียส แห่งอัสคาลอน (Eutocius of Ascalon) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วยเปิดเผยผลงานของเขาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสหลงเหลือรอดผ่านยุคกลางมาได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคเรอเนสซองส์ ปี ค.ศ. 1906 มีการค้นพบต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ใน จารึกของอาร์คิมิดีส (Archimedes Palimpsest) ทำให้เราเห็นมุมมองใหม่ในกลวิธีที่เขาใช้ค้นหาผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์

อ่้านต่อคลิกครับ…

ปีทาโกรัสแห่งซามอส


ถ้าถามว่ารู้จักนักคณิตศาสตร์คนไหนบ้าง

หลายคนก็จะตอบว่า “ปีทาโกรัส” เพราะมีชื่อทฤษฎีบทเป็นประกันในระดับ ม.ต้น “ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส”

หลายต่อหลายคนรู้จักแค่นั้น แล้วท่านเป็นใคร นอกจากทฤษฎีบทที่ตั้งตามชื่อท่านแล้วท่านยังมีเรื่องราวใดๆ ให้เราได้เรียนรู้อีก

ตามไปอ่านกันที่

 (คลิก) “Pythagoras ปราชญ์ยุคพุทธกาล” (คลิก)

ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย


นักคณิตศาสตร์ที่มีบทบาทในการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และวางรากฐานในการพัฒนาคณิตศาสตร์ให้เป็นระบบดังเช่นปัจจุบัน “ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย

ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย (Euclid of Alexandria, ประมาณ 325 – 265 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ด้วยวลีเด็ดที่ว่า “There is no Royal Road to Geometry.” (ไม่มีลาดพระบาทสำหรับการเรียนเรขาคณิต—ประมาณว่าการเรียนไม่มีอะไรง่ายนั่นเอง-ครูอั๋น) และได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งเรขาคณิต” พร้อมทั้งบทพิสูจน์ “จำนวนเฉพาะมีไม่จำกัดจำนวน” ที่เป็นบทพิสูจน์ที่สวยงาม แม้นักคณิตศาสตร์ยุคต่อมาก็ยังยกย่องบทพิสูจน์ที่สวยงามว่า “หลุดมาจากคำภีร์ (Eliments)” เพื่อให้เกียรติ

ตามไปอ่านกันครับว่า ยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรีย ท่านทำอะไรไว้มากมาย…อะไรบ้างหนอ แล้วเขาเล่าเรื่องของท่านไว้ว่าอย่างไร ไปกันเลยครับ

ครูอั๋น

เหตุการณ์สำคัญฯ ยุคโบราณ กรีก อียิปต์


ตอนที่ 2 เหตุการณ์สำคัญฯ ในยุคโบราณ หลักฐานแสดงความสามารถด้านจำนวน พัฒนาถึงคณิตศาสตร์ของบาบิโลน กรีก อียิปต์ ศูนย์กลางความรู้ที่อะเล็กซานเดรีย…ตราบจนสิ้นอะเล็กซานเดรีย ความเจริญของยุคโบราณจึงสิ้นสุด และหยุดชะงัก

อ่านต่อได้ที่ “เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตสาสตร์: ยุคโบราณ กรีก และอียิปต์ (ประมาณ 50,000 ปีก่อน ค.ศ. – ประมาณ ค.ศ.450)

แล้วท่านจะได้เห็นพัฒนาการของคณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ อีกทั้งจะพบว่า ความรู้ทางคณิตศาสตร์บางเรื่อง แม้เวลาผ่านไปเป็นพันปีแล้ว  ความรู้นั้นก็ยังถูกต้องเสมอ

ขอบคุณที่แวะมาเล่นด้วยครับ
ครูอั๋น

พัฒนาการของคณิตศาสตร์


บทความ (ขนาดค่อนข้างยาวนี้) เป็ส่วนหนึ่งของงานที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ตั้งแต่ครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีจุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อเผยแพร่ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ให้เป็นที่รับรู้ของนักเรียน และบุคคลโดยทั่วไป

แบ่งออกเป็นตอนๆ สามารถอ่านได้เรื่อยๆ เมื่อทำเสร็จแล้วว่าจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักหน่อยครับ

“เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์”
(Milestone in the History of Mathematics)

เชิญคลิกไปอ่านได้นะครับ

ครูอั๋น