การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ

Advertisement

ShowMe.com โลกแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่ผมพึ่งเจอ


จริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอกครับ บางท่านอาจจะเคยใช้แล้ว แต่บังเอิญผมพึ่งมี iPad ใช้ และพยายามลองหา Application ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผม ที่ผมอยากจะบันทึกการสอนในแต่ละคาบไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาเรียนทบทวน หรือสำหรับนักเรียนที่ไม่มาเรียนได้เรียนเพื่อจะได้ตามทันเพื่อนไม่ตกหล่นเนื้ออะไร และนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดเวลาตามอัธยาศัย

IMG_0251

ที่จริงก็หลายตัวที่ใช้ เช่น Educreation, Doceri หรือง่ายๆ แบบไม่ต้องอัดอย่าง Type on PDF และ GoodNotes แต่ตัวที่ผมออกจะชอบหน่อยก็ “ShowMe” ครับ

มันทำงานเหมือนกันกระดานคำ (ขาว) และจะจับภาพหน้าจอสิ่งที่เราเขียนไว้ เหมือนกับ Captivate แล้วมันก็จะบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอ และเราสามารถอับโหลดขึ้นไปเก็บไว้ เหมือน YouTube ได้ ทั่วโลกสามารถเข้าชมได้ และเด็กนักเรียนก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

IMG_0252

หน้้าแรกของ application กด + ก็จะสร้างวิดีโอใหม่ได้ทันที

IMG_0253

กดบันทึกตรงกลาง อธิบายด้วยเสียงและตัวอักษร
เสร็จแล้วกดอีกครั้ง ก็จะได้วีดีโอการสอนของเราไว้ใช้แล้วครับ

ลองเข้าไปชมวีดีโอของผมได้ที่ www.showme.com/kruaun/ นะครับ เป็นห้องเรียนกับทางเหมือนที่กระทรวงต้องการพอดีครับ

ลองเข้าไปชม แนะนำติชมได้ครับ และลองทำไว้ใช้บ้างนะครับผม

คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาค 1


สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต้องเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานนั้น จัดไปตามนี้นครับ

คณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค32101)

|| ลำดับและอนุกรม || ความน่าจะเป็นเบื้องต้น ||

ว่าด้วยเรื่องลำดับและอนุกรม และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ครับ…คลิกที่ชื่อวิชาได้ศึกษากันได้เลยครับ (กำลังอยู่ระหว่างการอับเดทเนื้อหาเรื่อยๆ นะครับ)

fibonacciaaabbbb-tile

เตรียมความพร้อม O-NET ม.6


onet

การสอบ O – NET (Ordinary National Educational Test)

O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสอบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษาฯ
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. ศิลปะ
  8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดรายวิชคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33203-ค33204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในแผนการเรียนไม่เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อังกฤษ-สังคม, ศิลป์-จีน, ศิลป์-ญี่ปุ่น, พาณิชยกรรม (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ), อุตสาหกรรม และพลศึกษา) ได้ศึกษาทบทวนก่อนการสอบจริงที่จัดให้มีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557

set

ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ตามลิงค์นี้นะครับ

เลขประจำตัวประชาชน


idcard01ก้มลงมองบัตรประจำตัวประชน จะเห็นมีตัวเลขชุดหนึ่งมี 13 หลัก ที่เรียกว่า “เลขประจำตัวประชาชน” คือ เลขประจำตัวของเรานั่นเอง เราจะมีเลขชุดนี้คนละชุด ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุความเป็นคนไทยของเรา

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคุณประโยชน์ของคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้าง “รหัส” ที่เราใช้อยู่โดยไม่รู้ตัว

 

<<<อ่านทั้งหมดต่อได้แค่คลิก>>>

หัวข้อสัมมนาคณิตศาสตร์


ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาถามหัวข้อการสัมมนาคณิตศาสตร์กันมาก บางคนก็มีหัวข้อมาให้แล้วถามว่าจะศึกษาประเด็นไหนได้บ้าง บางคนก็มาแบบลอยๆ ไม่มีอะไรมาเลย

จริงๆ แล้วตัวเองต้องออกตัวก่อนว่า ตอนเรียน ป.ตรี ไม่ได้เรียนวิชาสัมมนา แต่มาเรียนตอน ป.โท อาจารย์สั่งว่าการสัมมนาก็คือการเลือกศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่งแล้วนำเสนอเพื่ออภิปรายโต้แย้ง

ถ้าความหมายแบบ ป.ตรี ก็คือ แบบนี้ ก็น่าจะไม่ยากอะไร (หรอ???) ผมคิดว่าก็ควรมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ
  2. กำหนดขอเขตในการศึกษา
  3. ศึกษา/ค้นคว้า/รวบรวมข้อมูล
  4. เขียนร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษา
  5. แก้ไข้
  6. นำเสนอ/อภิปราย

ก็น่าจะเท่่านี้…

คำถาม คือ ขอบเขตการสัมมนา อาจารย์กำหนดแค่ไหน…ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่ง หรือต้องทำขนาดวิจัย หรือถ้าเกี่ยวกับการสร้างสื่อต้องสร้้างด้วยไหม ขอบเขตการสัมมนากำหนดไว้อย่างไร หรือ อาจารย์สั่งแค่ไปหาเรื่องมาสัมมนา…จบ…

ดังนั้น ถ้าจะถามหัวข้อในการสัมมนา ก็อยากจะแนะนำ น่าจะเลือกจากประเด็นที่เคยเรียนผ่านมา หรือจากสิ่งที่จะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น

  • การเขียนกราฟภาคตัดกรวยด้วย GSP
  • การนำ Excel มาใช้ในการเรียนการสอนความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล
  • ใช้ Excel ในการตรวจสอบคำตอบของสมการกำลังสอง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนจริง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนเชิงซ้อน
  • การพิสูจน์ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้รูปเรขาคณิต
  • สัจพจน์ข้อที่ ๕ ของยุคลิด
  • ฟังก์ชันชนิดต่างๆ การประยุกต์คณิตศาสตร์เรื่องต่างๆ เช่น การประยุกต์ของเมทริกซ์,
  • สูตรการสร้างเลขประจำตัวประชาชน
  • การคำนวณค่าพาย (เช่น Ice Cream Cone Proof)
  • ที่มาของสูตรและการพิสูจน์สูตรที่น่าสนใจ เช่น สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม
  • สามเหลี่ยมของปาสกาล
  • ลำดับชนิดต่างๆ เช่น ฟีโบนักชี
  • จำนวนเฉพาะ (เช่น จำนวนเฉพาะเมอร์แซน)

เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาของคณิตศาสตร์

คิดออกเท่านี้ครับผม ^^
ครอั๋น
12 พฤศจิกา’55
กวดวิชา Get Smart

Thailand Blog Awards 2012


หลังจากส่งเข้าร่วมกิจกรรม Thailand Blog Awards 2012 ทั้งขอคะแนน ปั่นกระแสโหวตกัน มีร่วมเดือน จนผมเอง…ในฐานะที่ส่งเข้าร่วมประกวดด้วยในสาขาการศึกษา (Education) สาขาวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์ (Science Blog) โดยที่ตัวเองแอบหวังเล็กๆ ในสาขาการศึกษา แม้ว่าบล็อกเกอร์ไทยหลายๆ คนก็จะส่งสาขานี้กันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนครูร่วมวิชาชีพ ซึ่งบางท่านก็คุ้นเคยกันดี

วันนี้…ประกาศผลกันอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรางวัล Popular Vote และ 3 ผู้เข้าชิง (Nominees) ในแต่ละสาขา

โดยในสาขาการศึกษานั้น ผมไม่ติด 1 ใน 10 ของ Popular Vote (เหอๆๆๆ ก็เป็นไปตามคาด) ที่แต่คาดไม่ถึง (เข็มขัดสั้นมาก) คือ สาขาวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมไม่ได้หวังเลย ไม่คิดถึงมันด้วยซ้ำ วันนี้ประกาศผมออกมาเป็น 1 ใน 3 ของผู้เข้าชิง (3 Nominees)

โอ๊ยยยยย…ใจเต้นไม่เป็นส่ำ ตอนที่เห็นที่หน้ากระดานเฟซบุค เมื่อครูอ๋อ วิมลรัตน์ มาโพส Thailand Blog Awards 2012

เฮ้ย…เรามีเอี่ยว หรือว่า ครูอ๋อได้รางวัลนะ…คลิกปั๊บ เน็ตหลุดปุ๊บ และคอมพิวเตอร์เจ้ากรรมแฮงค์ทันที ต้องรอรีสตาร์ทใหม่

อ้าววววว…สาขาการศึกษาไม่มีชื่อเราดังคาด…แสดงว่าครูอ๋อต้องได้แน่เลย…เลยอ่านไปเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติม

เฉลย PAT1-มีนาคม 2554


ตารางสอบ GAT/PAT 6-9 ตุลาคม 2555

โค้งสุดท้ายกันแล้วสำหรับการเรียนในภาคเรียนที่ 1 และสำหรับน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 อีกหลายๆ คนคงกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ GAT/PAT ที่กำลังใกล้เข้ามาด้วยเช่นกัน

วันนี้ เรียนรู้กับครูอั๋นขอเสนอข้อสอบและเฉลย ข้อสอบ PAT1 (คณิตศาสตร์) ของเดือนมีนาคม 2554 มาให้ดูกันนะครับ เร่ิมกันที่ขอสอบก่อน ฉบับจริง จาก สทศ. ครับผม ดาวน์โหลดไปใช้ได้ แต่อาจจะต้องสมัครสมาชิก Scribd.com ก่อน log in ผ่าน FB ได้นะครับ

ถ้าโหลดไม่ได้ ลองดาวน์โหลดจากลิงค์นี้นะครับ คลิกเพื่อดาวน์โหลดเลย PAT1-คณิตศาสตร์ มีนาคม 2554

สำหรับข้สอบปีอื่นๆ เขาไปดาวน์โหลดมาลองทำกันได้ที่คลังข้อสอบ (คลิก)

ต่อไปก็เป็นเฉลย…เฉลยแบบเอกสารยังไม่ไม่มี แต่มีแบบวีดีโอ ที่มีพี่ๆ ใจดีทำไว้ให้นะครับ จากเว็บของ UniGang.com ดีกมาๆ และขอบคุณมากๆ เช่นกัน

เฉลย PAT1-มีนาคม 2554 คลิกตามไปชมกัน

สำหรับน้องๆ ที่เน็ตเต่า…ลองหาร้าน หรือบ้านเพื่อน หรือที่โรงเรียนนะครับ ที่เน็ตแรงๆ เราจะได้ความรู้สำหรับการเตรียมสอบแบบเต็มๆ ไปเลยครับ

สู้ๆ เพื่อฝัน เพื่อวันของเรานะครับ
คุณครูพี่อั๋น
10กันยา’2555

เพราะคณิตศาสตร์ขาดไม่ได้


กิจกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนโคกยางวิทยา
ชั้น ม. 4 และ ม.5 ทั้งวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมนะครับ

เอาล่ะนักเรียนที่รัก ครูมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมกันทำแล้วครับ…กิจกรรมคือ

“ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร…ถ้าโลกนี้ไร้คณิตศาสตร์”

โดยกิจกรรมนี้ก็ง่ายๆ ครับ แค่นักเรียนตอบว่า…

ในชีวิตประจำวันของนักเรียน…มีการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ทำอะไรบ้าง
และถ้าเราขาดสิ่งเหล่านั้นไป ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร ลองจิตนาการดูครับ…

ตอบลงในฟอร์มด้านล่างได้เลยนะครับ…อย่างช้าไม่เกิน ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕ นะครับ (ขยายเวลาอีก ๑ สัปดาห์)

++++++++++++++++++++++++++++++++

รายชื่อนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมแล้วครับผม

นักเรียนที่มีหมายเหตุท้ายชื่อว่า “ขอให้เข้าไปตอบใหม่” ให้นักเรียนเข้าไปตอบใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วยครับ ถ้าเพื่อนเห็นรบกวนช่วยบอกเพื่อนด้วยนะครับ
เหตุผลเพราะอะไร…นักเรียนน่าจะทราบได้เองนะครับ ครูจะไม่พูดในที่นี้ ส่วนนักเรียนที่กรอกชื่อและรหัสผิด ไม่ว่ากันครับ

ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัย ให้โพสถามที่เพจ “เรียนรู้กับครูอั๋น” หรือคลิกที่ “ใส่ความเห็น” ในหน้าบล็อกนี้ก็ได้นะครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++

หวังว่าคงได้รับความร่วมมือเช่นเคย

เปิดให้ส่งเพ่ิ่มเติมถึงวนที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๔.๐๐ น.นะครับ

แล้วพบกันในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๕

ขอบคุณและสวัสดีครับผม

ครูอั๋น
๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ๐๐๒๘ น.

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สรุป

นักเรียนร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๗๐ คน (มีการส่งงาน ๘๑ ครั้ง///บางคนส่งซ้ำและบางคนต้องตอบใหม่) แบ่งเป็น

  • ม.๔/๑  จำนวน ๑๖ คน
  • ม.๔/๒  จำนวน ๑๑ คน
  • ม.๔/๓  จำนวน   ๖ คน
  • ม.๔/๔  จำนวน   ๐ คน
  • ม.๕/๒  จำนวน ๑๙ คน
  • ม.๕/๓  จำนวน ๑๘ คน

สำหรับเรื่องที่นักเรียนคิดถึงและตอบมามากที่สุด คือ… (โปรดติดตามต่อตอนไป)

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

ความหมายของคณิตศาสตร์


มีการให้ความหมายของคณิตศาสตร์ไว้มากหมาย ขอยกตัวอย่างดังนี้

  • คณิตศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการคำนวณ (Mathematics is the Art of Calculation)
  • คณิตศาสตร์ คือ วิชาเกี่ยวกับการให้เหตุผล
  • คณิตศาสตร์ เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์
  • คณิตศาสตร์ เป็นภาษาแห่งจักรวาล

และที่เป็นความหมายที่เป็นที่ยอมรับที่สุดคือ

Bertrand Russell

  • Mathematics is the Science in which we never know what we are talking about not whether what we say is true. (Bertrand Russell)

นี่คือบทความต่อไปที่จะพยายามทำให้เสร็จ โปรดติดตามตอนต่อไปครับ