นักคณิตศาสตร์หญิงเจ้าของรางวัลฟิลด์คนแรกจากไปด้วยมะเร็ง


หลังจากเมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาเราสูญเสียศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ ปั้นนิ่ม (ค.ศ.1951 – 2017, พ.ศ.2494 – 2560) ผู้ที่เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ และครู ที่เป็นแรงบันดาลใจกับครูคณิตศาสตร์มากมาย
มาถึงเดือนนี เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ที่ผ่านมา วงการคณิตศาสตร์โลกก็สูญเสีย มาเรียม มีร์ซาคานี (Maryam Mirzakhani, 1977 – 2017, พ.ศ.2520 – 2560) นักคณิตศาสตร์หญิงชาวอิหร่านวัย 40 ปี เจ้าของรางวัลเหรียญฟิลด์ (Fields Medal) คนแรกที่เป็นสตรี เมื่อปี ค.ศ.2014 ทั้งนี้มาเรียมเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิก 2 ครั้ง ในปี 1994 และ 1995 โดยในปีหลังมาเรียมได้คะแนนเต็ม 42 คะแนน
มาเรียมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชาริฟ (Sharif University of Technology) ที่อิหร่าน ในปี 1999 และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา ในปี 2004 ที่ซึ่งเธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่ออายุ 31 ปี

โดยมาเรียมได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมในปี 2013 หลังจากพยายามรักษานาน 4 ปี มะเร็งได้ลุกลามไปยังไขกระดูกของเธอ และเป็นสาเหตุทำให้เธอเสียชีวิตในที่สุด

ต้นฉบับข่าว

Award-winning Iranian mathematician Maryam Mirzakhani has reportedly passed away due to cancer at a hospital in the United States.

Iran’s Mehr News Agency cited one of Mirzakhani’s relatives as confirming her death on Saturday.

Firouz Naderi, a former Iranian director of Solar Systems Exploration at NASA, had also announced her death in an Instagram post earlier in the day.

Mirzakhani had recently been taken to hospital as her health condition worsened due to breast cancer. Cancerous cells had recently spread to her bone marrow. She had already been battling the disease for several years.

In 2014, Mirzakhani was awarded the coveted Fields Medal, also known as the Nobel Prize of mathematics. The 40-year-old, who used to teach at Stanford University, was also the first Iranian woman to be elected to the US National Academy of Sciences (NAS) in May 2016 in recognition of her “distinguished and continuing achievement in original research.”

Mirzakhani was born in Tehran in 1977 and brought up in the Islamic Republic.

She scored the International Mathematical Olympiad’s gold medal twice — in 1994 and 1995. In the second competition, she received the contest’s full 42 points.

She then earned her bachelor’s degree from Iran’s prestigious Sharif University of Technology in 1999, and followed up the rest of her education in the United States, where she earned a doctoral degree from Harvard University in 2004 and became full professor of mathematics at Stanford at the age of 31.

She is survived by husband Jan Vondrák, a Czech theoretical computer scientist, and their daughter Anahita.

Condolences pouring in over Mirzakhani’s death

In a message, Iranian President Hassan Rouhani said Mirzakhani’s “doleful passing” has caused “great sorrow.”

The president praised her scientific achievements, saying the “unprecedented brilliance of this creative scientist and modest human being, who made Iran’s name resonate in the world’s scientific forums, was a turning point in showing the great will of Iranian women and young people on the path towards reaching the peaks of glory and in various international arenas,” read part of the message.

In a post on Instagram, Iranian Foreign Minister Mohammad Javad Zarif also offered his condolences over Mirzakhani’s death.

He said that the death of the young Iranian math genius has caused grief for all Iranians who take pride in their country’s prominent scientific figures.

Iranian Parliament Speaker Ali Larijani also offered his condolences in a post on his Instagram’s account.

In a tweet, Gary Lewis, UN Resident Coordinator for the Islamic Republic of Iran, also expressed his sorrow over Mirzakhani’s death. “Sad to learn about the passing of #MaryamMirzakhani – the intelligent #Iranian daughter, wife, mother, professor. May her eternal soul RIP.”

เครดิต
Advertisement

ผู้ให้การศึกษา


catherine_coxwalliss_3

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีนักเรียนนักศึกษาต่างชาติไปเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก เหตุที่ประชากรของออสเตรเลียมีคุณภาพ นอกจากการจัดการศึกษาในระบบที่มีคุณภาพแล้ว ครอบครัวและสังคมในฐานะผู้ให้การศึกษาก็ส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบได้ เป็นอย่างดี โดยครอบครัวนั้น สามารถทำหน้าที่ในการอบรม เลี้ยงดูเด็กและเยาวชนในช่วงขวบปีแรกๆ ก่อนการเข้ารับการศึกษาในระบบได้อย่างดี จากนั้นก็ทำหน้าที่ดูและเอาใจใส่เด็กและเยาวชนร่วมกับโรงเรียนอย่างต่อ เนื่อง เมื่อเด็กและเยาวชนออกไปใช้ชีวิตในสังคม สังคมที่หมายรวมถึงคนในสังคมต่างก็เป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน ตามกฎเกณฑ์ของสังคม และกฎหมายของบ้านเมือง เมื่อเด็กและเยาวชนที่มีพื้นฐานความประพฤติที่ดีมาจากบ้าน ได้รับการหล่อมหลอมด้านความรู้จากการได้รับการศึกษาในโรงเรียน และพบเห็นแต่สิ่งที่ดีในสังคม เท่ากับว่าเด็กและเยาวชนของออสเตรเลียได้รับการศึกษาทั้งจากผู้มีหน้าที่ จัดการศึกษา และจากผู้ให้การศึกษาอย่างรอบด้าน จึงทำให้ประชากรของออสเตรเลียมีคุณภาพ และเมื่อเป็นเช่นนั้น การพัฒนาใดๆ ที่ตามมาก็ย่อมไม่มีปัญหา และพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เพราะทรัพยากรมนุษย์นั้น สำคัญกว่าทรัพยากรทั้งปวง

อ่านต่อ

จำนวนเฉพาะพาลินโดรม


เราๆ ท่านๆ คงรู้จักพาลินโดรมกัน (คลิกอ่านรายละเอียด หรือ Palindrome) ซึ่งคือ จำนวนหรือตัวอักษรที่อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายได้จำนวนเดิม หรือคำเดิม เช่น 121, 28182, ยาย, นาน, วาดดาว, นริน, dad, …

ที่มา: จำนวนเฉพาะพาลินโดรม

=


 

ภาพนิ่ง1

ค.ศ.1557 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษนามโรเบิร์ต เรคอร์ด (Robert Recorde, ค.ศ.1510 – 1558) เป็นบุคคลแรกที่ใช้เครื่องหมายใหม่สำหรับการเท่ากัน (=) ในงานเขียนของเขา

เขากล่าวว่า

…to avoid the tedious repetition of these words: “is equal to”, I will set (as I do often in work use) a pair of parallels, or Gemowe lines, of one length (thus =), because no two things can be more equal.

ซึ่งแปลได้ว่า

เพื่อหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อของการใช้คำว่า “เท่ากับ“ ซ้ำไปซ้ำมา ผมจะกำหนด (อย่างที่ผมมักจะทำเสมอ
ในการใช้งาน) ให้ใช้เส้นขนานหนึ่งคู่ หรือเส้น
Gemowe (ก็คือเส้นขนานในภาษาละติน) ที่มีความยาวเท่ากัน (เช่น =) แทน

เพราะไม่มีสองสิ่งใดที่จะสามารถเท่ากันได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว

ครูอั๋น
may’28, 2014

ห่า…


10151290_656390167731641_4237126380234181088_n

“ฟ้ามืดขนาดนี้ฝนคงจะตกสักห่าสองห่า”

ได้ยินคำพูดแม่ที่มาพร้อมกับลมพายุฝนตั้งแต่เด็กๆ สงสัยว่าแม่ด่าใคร ด่าทำไม ว่า “ห่า” แล้วมันเกี่ยวกับอะไรกับฝนตก ทำไมต้องไปด่ามัน พระพิรุณท่านให้ฝนกับเกษตรกรก็นับเป็นเรื่องนี้

พอโตมาหน่อยได้ยินประกาศสงกรานต์ว่า “ปีนี้นาคให้น้ำในทะเล…ห่า” เอ๊า…ประกาศสงกรานต์ก็ด่าอีกแล้ว… ก็ถามแม่

ครูอั๋น: ฝนตกทำไม่ต้องบอกเป็นห่าๆ ด้วย

คุณนายวิไล: เขาก็เรียกเป็นห่าๆ แหละ คนสมัยก่อนเขาเรียกกัน

ครูอั๋น: แล้วห่านึงมันแค่ไหนอะแม่ ตกขนาดไหนถึงเรียกห่านึง

คุณนายวิไล: ไม่รู้เหมือนกัน

pd150_1เก็บความสงสัยมาจนโต วันหนึ่งก็ได้ดูหรือได้ฟังรายการอะไรสักอย่างนี่แหละ เขาพูดเรื่องหน่วยการวัดเป็น “ห่า” ของน้ำฝน ก็เลยได้คำต่อว่า..

 

ห่า เป็นหน่วยวัดปริมาณน้ำฝนที่ตก โดยการเอาบาตรพระขนาดกลางไปวางไว้กลางแจ้งกลางฝน แล้วดูว่าน้ำฝนที่อยู่ในบาตรพระนั้นมีปริมาณแค่ไหน ถ้าเต็มบาตร ก็เรียกว่า ฝนตกหนึ่งห่า หรือโดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน เป็นต้นครับ

ทุกวันนี้ไม่ค่อยใช้เลย ครั้งหนึ่งในการสอนสอนเรื่องการวัด ม.2 ก็เลยแอบถามเด็กๆ หลังจากถามหน่วยวัดอื่นๆ ไปแล้ว ว่า

ครูอั๋น: แล้วหน่วยการวัดน้ำฝนล่ะครับนักเรียน

นักเรียน: มิลลิิเมตรครับ

ครูอั๋น: ได้ยินมาจากไหน

นักเรียน: ข่าวพยากรณ์อากาศครับ

ครูอั๋น: ดีมาก แสดงว่าติดตามข่าวสารบ้านเมือง ถูกครับ…แต่ครูอยากได้หน่วยการวัดแบบไทยๆ น่ะครับ เหมือน คืบ ศอก วา อะไรเงี้ยะ…

นักเรียน: …

ครูอั๋น: ใบ้ให้…เหมือนคำด่าเลย ออกเสียงเหมือนกัน เขียนเหมือนกัน

นักเรียน: อ๋อ…ห่าครับ เคยได้ยินยายพูด

ครูอั๋น: ถูกต้องนะครับบบบบบ…

เรืองของ “ห่า” ก็เอวังด้วยประการละชะนี้…

ครูอั๋น
29 เมษายน 2557

 

2013 in review


The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2013 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

The Louvre Museum has 8.5 million visitors per year. This blog was viewed about 610,000 times in 2013. If it were an exhibit at the Louvre Museum, it would take about 26 days for that many people to see it.

Click here to see the complete report.

ดราม่าเรื่องนาฏศิลป์ไทย


1282695026

เรื่องความสำคัญของวิชานาฏศิลป์นั้น ผมอ่านจน (อ่านแบบวางไม่ลง) ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช ท่านเล่าเรื่องเมือสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า แล้วท่านป้าของท่าน คือ หม่อมเจ้าฉวีวรรณ ปราโมช พาคณะละครของเจ้าจอมมารดาอำภาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งท่านได้รับสืบทอดต่อมา หนีออกพระราชอาณาจักรไปประเทศกัมพูชา จนพระมารดาของท่านถูกจำสนม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เล่าไว้ว่า…
kurkrit1-tile
“เรื่องการละเม็งละครน้ัน จะถือว่าเป็นเล็กไม่ได้ในสมัยนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ แถวนี้ถือว่าโขนละครและหนังนั้นเป็นสมบัติที่ส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง และโขนละครและหนังใหญ่เมืองไทยนั้นถือว่าประเสริฐสุด ทุกประเทศอยากได้ไปไว้เป็นของต้น หรือเป็นแบบฉบับ เมื่อเจ้้าอนุวงศ์เวียงจันทน์บรรพบุรุษของผู้เขียนเรื่องนี้อีก่คนหนึ่งเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนต้นรัชกาลที่ 3 เพื่อช่วยงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เมื่อก่อนจะกลับได้เข้าไปกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถือโอกาสขอพระราชทานตัวละครในไปไว้ที่เวียงจันทน์เพื่อจะได้ฝึกหัดละครในที่เวียงจันทน์ต่อไป เนื่องด้วยเมืองเวียงจันทน์ในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราช ชะรอยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะทรงพระราชดำริว่าเจ้าอนุวงศ์ฯ อาจเอื้อมตีเสมอ ถึงกับจะมีละครในเป็นของตน จึงไม่โปรดเกล้้าฯ พระราชทานให้ เจ้าอนุฯ ก็โทมนัสน้อยใจและผูกใจเจ็บ เริ่มเอาใจออกห่าง และในที่สุดก็ถึงกับเป็นกบฏยกทัพมารุกรานพระราชอาณาจักรจนถึงเมืองนครราชสีมา เป็นเหตุให้ต้องปราบปรามกันเป็นการใหญ่
ที่เมืองเขมรนั้น ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับเวียงจันทน์คงจะไม่มีสิทธิ์ที่จะมีโขนหลวงและละครในเช่นเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กัมพูชานั้น ท่านจึงได้ออกไปจากกรุงเทพฯ แต่ลิเกซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สมัยนั้นและกำลังเป็น “ฮิต” เหมือนกับเพลงลูกทุ่งสมัยนี้ และได้ทรงส่งเสริมลิเกในเมืองเขมรเป็นการใหญ่ จนมีตำนานในเมืองเขมรว่าการละเล่นที่เรียกว่าลิเกนั้น สมเด็จพระนโรดมทรงเป็นผู้ตรัสรู้คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และทรงสั่งสอนคนอื่นต่อมา ลิเกเมืองเขมรนั้นร้องเพลงราดนิเกริงไม่เป็น เพราะเพลงราดนิเกริงเป็นเพลงที่พระเอกลิเกไทยชื่อนายดอกดินแกคิดขึ้น และนายดอกดินแกเป็นคนรุ่นหลังสมเด็จพระนโรดม
เมื่อท่านป้าฉวีวาดเอาละครเจ้าจอมมารดาอำเภอ ซึ่งเล่นแบบละครในไปด้วยทั้งโรงเช่นนี้ สมเด็จพระนโรดมย่อมจะต้องเห็นว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่ต้องการมนานแล้ว สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนปัจจุบัน…”— หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โครงกระดูกในตู้

ผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน


การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 63 ประจำปีการศึกษา 2556 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา/เครือข่าย สหวิทยาเขต 7 (ปราสาทเชิงพนม) และสหวิทยาเขต 8 (นครศรีอัจจะ) (โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สพท. สุรินทร์ เขต 3 เดิม)  วันที่ 5 ตุลาคม 2556 ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

ผลการแข่งขัน (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์)

กิจกรรม ม.ต้น ม.ปลาย
การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ชนะเลิศ เหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทอง
การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 เหรียญทอง เหรียญทอง
การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP รองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญเงิน ชนะเลิศ เหรียญทอง
การแข่งขันคิดเลขเร็ว เหรียญทองแดง รองชนะเลิศอันดับ 2 เหรียญทองแดง
A-Math ชนะเลิศ เหรียญทอง เหรียญทองแดง
ซูโดกุ เหรียญทอง เหรียญทอง

สรุปผลการแข่งขัน

ชนะเลิศ รองฯ อันดับ 1 รองฯ อันดับ 2 รวม
คณิตศาสตร์ 2 2 1 5
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 1 2
รวม 3 2 2 7
ทอง เงิน ทองแดง รวม
คณิตศาสตร์ 5 1 2 8
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 1 4
รวม 8 1 3 12

(สำหรับผลการแข่งขันทั้งหมดตามลิงค์นี้นะครับ http://www.esan63.sillapa.net/sm-srn3/?name=category&file=view_all)

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม???


นักเรียนชั้น ม.5/9, 11, 13
และ          ม.6/8, 9, 10, 12, 13

ร่วมกิจกรรมออกความคิดเห็นกันหน่อยครับว่า

เราเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไมกัน

โดยกรอกลงในแบบฟอร์มนี้นะครับ ใครมาร่วมตอบก็จะได้รับคะแนนพิเศษส่วนหนึ่งในการสอบปลายภาค และเป็นคะแนนการอ่านคิดวิเคราะห์ฯ ด้วยนะครับ

โดยครูให้เวลา 2 สัปดาห์ และจะปิดโหวต…เอ๊ย…ปิดระบบในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 24.00 น. นะครับผม…

เอาล่ะครับ…ไปตอบกันได้เลย

มีข้อสงสัย ฝากข้อความไว้ด้านล่างนะครับ

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ

ครูอั๋น

ข้อสอบ TME (พร้อมเฉลย)


TME_logo

TME (Thailand Mathematics Evaluation) หรือโคงการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน และบริษัท เอดู พาร์ค จำกัด

ดาวน์โหลดข้อสอบได้ที่ https://coolaun.com/testbank/tme/

(อับโหลดไว้เรื่อยๆ นะครับ)

banner2

Last update 25 Aug’2013