การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ

Advertisement

คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์


วันนี้เราลองมองหาสิ่งที่อยู่รอบตัวแล้วโยงเข้ากับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์กันหน่อยนะครับ

ตั๋วรถเมล์ใน กทม.
นำมาจาก http://www.bloggang.com/data/bustickets/picture/1248248440.jpg

ในชีวิตประจำวันของนักเรียนและชาวกรุงเทพ อาจจะต้องขึ้นรถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ทุกวัน คงคุ้นตากับตั๋วรถเมล์กันดี ซึ่งก็เห็นจนชินตา ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เราลองมาดูกันว่าเราเรียนสอนคณิตศาสตร์กับตั๋วรถเมล์ได้หรือไม่ อย่างไร คลิกไปอ่านที่ “คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์” ได้เลยครับ

ใครมีแนวคิดอะไรก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับผม

คลิกอ่าน “คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์” ได้เลยครับ

โยงคณิต…เข้าหาชีวิตของเรา ตอนที่ 1


ตอน

ตัวเชื่อม “ถ้า…แล้ว…” เกี่ยวโยงกับเรื่องของเราอย่างไร?

มีคนถามเยอะว่า สำหรับตัวเชื่อมถ้าแล้วมีหลักการอธิบายให้เห็นภาพอย่างไร สำหรับตัวเชื่อม หรือ และ ก็ต่อเมื่อ นั้น พอจะหาคำอธิบายได้ แต่ถ้า…แล้ว… เนี้ยะ หาคำอธิบายไม่ได้เลย

เข้าทางครูอั๋น

อ่านเพิ่มเติม

ข้อสอบ O-NET ม.3


วันนี้ได้มีโอกาสไปสอนเพิ่มเติมนักเรียน ม.3 ที่โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา และวันพรุ่งนี้ก็จะไปสอนที่โรงเรียนปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ก็เลยเอาเฉลยมาฝากไว้ เผื่อว่าใครจะได้ใช้ประโยชน์จากมันนะครับ

ผิดถูกอย่างไรชี้แนะได้ครับ

มี Link 2 แห่งนะครับ

ขอบคุณที่แวะมาเล่นด้วยครับ

เฉลยข้อสอบภาคตัดกรวย


ข้อสอบภาคตัดกรวยที่เขาไว้บนบล็อกให้นักเรียนร่วมกิจกรรมเฉลยนั้น (https://kruaun.wordpress.com/m4/admath2/conicsectio/conicsectiontest/) มีบางส่วนนักเรียนได้เฉลยและโพสไว้ที่ FB เรียนรู้กับครูอั๋น วันนี้ เลยเอามาให้ชมกันครับ

ตามไปที่ลิงค์นี้เลยนะครับ https://kruaun.wordpress.com/m4/admath2/conicsectio/conicsectiontest/ansconic/

 

เขาใช้เมทริกซ์ทำอะไร…นอกจากใช้สอบ???


นักเรียนมักจะถามครูเสมอว่า “เรียนเรื่องนี้แล้วเอาไปใช้อะไรได้” หรือ เมื่อมีผู้มาประเมินโรงเรียน (เช่น โรงเรียนในฝัน) มักจะถามนักเรียนว่า “เอาไปใช้อะไรในชีวิตประจำวันได้” เป็นคำถามที่นักเรียนตอบยากมาก และแม้แต่ครูผู้สอนเอง…บางทีก็ไม่รู้จะตอบว่าอะไร

“เมทริกซ์” เป็นเนื้อหาหนึ่งในวิชาคณิตสาสตร์เพิ่มเติม ม.4 ศึกษาเกี่ยวกับตัวแบบชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเมทริกซ์ และมีการประยุกต์ในการแก้ระบบสมการเชิงเส้น

ในระดับอุดมศึกษาจึงมีการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ โดยในการเรียนวิชาพีชคณิตเชิงเส้น ได้มีการกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขา ที่มีการนำสมการเชิงเส้นไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ดังนั้น จึงต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างตัวแบบเชิงคณิตสาสตร์ที่เป็นระบบสมการเชิงเส้นก่อน แล้วจึงนำเมทริกซ์ไปช่วยในการแ้ก้ระบบสมการเชิงเส้น และของยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหา ดังนี้

(คลิกเพื่ออ่าน…บางเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการนะครับ)

  1. การประยุกต์ทางธุรกิจ
  2. การประยุกต์ทางเศรษฐศาสตร์
  3. การประยุกต์ทางฟิสิกส์ (วงจรไฟฟ้า)
  4. การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของการจราจร

แบบจำลองภาคตัดกรวย 2/54


ต่อไปนี้เป็นงานสำหรับนักเรียนชั้น ม.4/2-3 นะครับ งานสำหรับบทที่ 3 เรื่อง เรขาคณิตวเคราะห์และภาคตัดกรวย (ที่มอบไว้แล้วตั้งแต่ต้นเทอม) นั่นก็คือ

“การสร้างแบบจำลองภาคตัดกรวย”

เป็นการสร้างงาน “คณิตศาสตร์กับศิลปะ” ด้วยวิธีการทางเรขาคณิตที่ใช้ “สันตรง และวงเวียน” ในการสร้าง

โดยนักเรียนสามารถเข้าไปศึกษา/อ่าน/ดาวน์โหลดเอกสารและวิธีการทำงานและส่งได้งานได้ตามลิงค์ “แบบจำลองภาคตัดกรวย” นะครับครับ

สำหรับกำหนดการส่งงาน ให้ส่งวันสอบท้ายบทที่ 2 ควาุ้มสัมพันธ์และฟังก์ชันนะครับ

ขอให้โชคดีในการทำงาน…มีคำถามฝากไว้ที่กลุ่มเรียนรู้กับครูอั๋น หรือที่ แฟนเพจ: เรียนรู้กับครูอั๋นนะครับผม

ครูอั๋น
10 ธันวาคม 2554

จำนวนมันใหญ่มาก


หากมีคนถามคุณว่า เลขที่มากที่สุดที่คุณรู้จักคือเลขอะไร และเลขมากมีประโยชน์อย่างไร หรือเขาให้คุณคิดคำนวณเลข 200 หลัก เช่นให้แยกตัวประกอบ (factor) หรือคูณกัน หรือหารกัน คุณจะตอบได้ไหม คุณจะทำได้ไหม

แล้วเขาสนใจจำนวนพวกนี้ตั้งแต่เมื่อไร ใครบ้างสนใจมัน แล้วศึกษาไปให้ได้อะไร

ตามไปอ่านที่จำนวนใหญ่ ในบล็อกนี้ครับ

เฉลยข้อสอบโอเน็ต


กำลังดำเนินการเรื่อยๆ นะครับ เฉลยเองบ้าง นักเรียนทำบ้างไม่ว่ากันครับ

เป็นผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนโคกยางวิทยาเป็นผู้เฉลยบ้าง
บ้างครั้งผมก็เป็นคนทำเฉลยบ้างครับ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะครับ
ครูอั๋น
14 กันยายน 2554

(Last Update:  15Feb’2012)

การตรวจสอบการหารลงตัว


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องเกี่ยวกับการจำนวนเต็ม ทฤษฎีจำนวน และเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะการตรวจสอบการหารลงตัว และการตรวจสอบจำนวนเฉพาะนั้น นักเรียนจะมีปัญหาในการหารว่าควรจะเลือกจำนวนใดมาหารดี ถึงจะรวดเร็วที่สุด และทำให้ได้คำตอบไวที่สุด มีผู้คิดการสอบหลายวิธี ในที่นี้ผู้เขียนจะได้นำเสนอการตรวจสอบการหารลงตัวด้วยจำนวนเต็มตั้งแต่ 2 – 20

จำนวนเต็มที่หารด้วย 2 ลงตัว ได้แก่ จำนวนคู่ หรือจำนวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 0, 2, 4, 6 และ 8
ตัวอย่าง จำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว เช่น 12, 54, 296, 568, 1000 เป็นต้น

ƒ  จำนวนเต็มที่หารด้วย 3 ลงตัว ได้แก่ จำนวนเต็มที่เมื่อนำเลขโดดทุกตัวมารวมกันไปเรื่อยๆ จนได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนหลักเดียว หรือสองหลัก แล้วดูว่าจำนวนที่ได้นั้นหารด้วย 3 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 3 หาร 27 ลงตัว          เพราะ  2 + 7 = 9       ซึ่ง 3 หาร 9 ลงตัว
3 หาร 147 ลงตัว        เพราะ  1 + 4 + 7 = 12 ซึ่ง 3 หาร 12 ลงตัว
3 หาร 134 ไม่ลงตัว     เพราะ  1 + 3 + 4 = 8  ซึ่ง 3 หาร 8 ไม่ลงตัว

อ่านฉบับเต็มที่นี่ครับ ตามลิงค์นี้นะครับ “การตรวจสอบการหารลงตัว” ซึ่งอยู่ในบล็อกนี้
หรือที่ “กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนโคกยางวิทยา” สำหรับที่นี้ ต้องดูดีๆ นิดนึงนะครับ เพราะว่าเครื่องหมายคูณ (×) กับหาร (÷) เหมือนจะยังแก้ไขไม่หมด เพราะ Copy มาจาก Word มันเพี้ยนๆ อยู่ครับ

อ่านและดาวน์โหลดไปอ่านได้เลยครับผม

ครูอั๋น
ปรับปรุง ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔