สารบัญภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563


  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33202) ชั้น ม.6/4
    • ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
    • อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
    • อินทิเกรต
  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33206) ชั้น ม.6/1 – 2 (SMTE, SMET)
    • ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
    • อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
    • อินทิเกรต
  • Additional Mathematics (ค33211) ชั้น ม.6/3 (IEP)
    • Introduction to Calculus
  • Additional Mathematics (ค32209) ชั้น ม.5/3 (IEP)
    • Exponential Functions
    • Logarithmic Functions

อ่าน/ดูเพิ่มเติม

  • (6/1, 2, 3, 4) PreCaculus via YouTube
  • คณิตศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ

  • (5/3) บทนำฟังก์ชันเลขชี้กำลังและลอการิทึม

Advertisement

จำนวนเฉพาะพาลินโดรม


เราๆ ท่านๆ คงรู้จักพาลินโดรมกัน (คลิกอ่านรายละเอียด หรือ Palindrome) ซึ่งคือ จำนวนหรือตัวอักษรที่อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายได้จำนวนเดิม หรือคำเดิม เช่น 121, 28182, ยาย, นาน, วาดดาว, นริน, dad, …

ที่มา: จำนวนเฉพาะพาลินโดรม

=


 

ภาพนิ่ง1

ค.ศ.1557 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษนามโรเบิร์ต เรคอร์ด (Robert Recorde, ค.ศ.1510 – 1558) เป็นบุคคลแรกที่ใช้เครื่องหมายใหม่สำหรับการเท่ากัน (=) ในงานเขียนของเขา

เขากล่าวว่า

…to avoid the tedious repetition of these words: “is equal to”, I will set (as I do often in work use) a pair of parallels, or Gemowe lines, of one length (thus =), because no two things can be more equal.

ซึ่งแปลได้ว่า

เพื่อหลีกเลี่ยงความน่าเบื่อของการใช้คำว่า “เท่ากับ“ ซ้ำไปซ้ำมา ผมจะกำหนด (อย่างที่ผมมักจะทำเสมอ
ในการใช้งาน) ให้ใช้เส้นขนานหนึ่งคู่ หรือเส้น
Gemowe (ก็คือเส้นขนานในภาษาละติน) ที่มีความยาวเท่ากัน (เช่น =) แทน

เพราะไม่มีสองสิ่งใดที่จะสามารถเท่ากันได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว

ครูอั๋น
may’28, 2014

ลำดับของการดำเนินการ


3-horzเป็นเรื่องราวใหญ่โตในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการคิดเลขที่มีบวก/ลบ/คูณ/หารปนกัน แต่ไม่มีวงเล็บ เถียงกันจะเป็นจะตาย ยิ่งมาเจอเครื่องคิดเลขเจ้ากรรมนี่อีกยิ่งหนักเลย

คณิตศาสตร์ มีคำตอบเดียวครับ และมีหลักเกณฑ์การคำนวณที่วางไว้ชัดเจนแล้ว

แต่หลักเกณฑ์เป็นอย่างไร…ไปอ่านกันใน “ลำดับของการดำเนินการ” (คลิกเลยครับ)

 

ครูอั๋น
May’27, 2014

ห่า…


10151290_656390167731641_4237126380234181088_n

“ฟ้ามืดขนาดนี้ฝนคงจะตกสักห่าสองห่า”

ได้ยินคำพูดแม่ที่มาพร้อมกับลมพายุฝนตั้งแต่เด็กๆ สงสัยว่าแม่ด่าใคร ด่าทำไม ว่า “ห่า” แล้วมันเกี่ยวกับอะไรกับฝนตก ทำไมต้องไปด่ามัน พระพิรุณท่านให้ฝนกับเกษตรกรก็นับเป็นเรื่องนี้

พอโตมาหน่อยได้ยินประกาศสงกรานต์ว่า “ปีนี้นาคให้น้ำในทะเล…ห่า” เอ๊า…ประกาศสงกรานต์ก็ด่าอีกแล้ว… ก็ถามแม่

ครูอั๋น: ฝนตกทำไม่ต้องบอกเป็นห่าๆ ด้วย

คุณนายวิไล: เขาก็เรียกเป็นห่าๆ แหละ คนสมัยก่อนเขาเรียกกัน

ครูอั๋น: แล้วห่านึงมันแค่ไหนอะแม่ ตกขนาดไหนถึงเรียกห่านึง

คุณนายวิไล: ไม่รู้เหมือนกัน

pd150_1เก็บความสงสัยมาจนโต วันหนึ่งก็ได้ดูหรือได้ฟังรายการอะไรสักอย่างนี่แหละ เขาพูดเรื่องหน่วยการวัดเป็น “ห่า” ของน้ำฝน ก็เลยได้คำต่อว่า..

 

ห่า เป็นหน่วยวัดปริมาณน้ำฝนที่ตก โดยการเอาบาตรพระขนาดกลางไปวางไว้กลางแจ้งกลางฝน แล้วดูว่าน้ำฝนที่อยู่ในบาตรพระนั้นมีปริมาณแค่ไหน ถ้าเต็มบาตร ก็เรียกว่า ฝนตกหนึ่งห่า หรือโดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน เป็นต้นครับ

ทุกวันนี้ไม่ค่อยใช้เลย ครั้งหนึ่งในการสอนสอนเรื่องการวัด ม.2 ก็เลยแอบถามเด็กๆ หลังจากถามหน่วยวัดอื่นๆ ไปแล้ว ว่า

ครูอั๋น: แล้วหน่วยการวัดน้ำฝนล่ะครับนักเรียน

นักเรียน: มิลลิิเมตรครับ

ครูอั๋น: ได้ยินมาจากไหน

นักเรียน: ข่าวพยากรณ์อากาศครับ

ครูอั๋น: ดีมาก แสดงว่าติดตามข่าวสารบ้านเมือง ถูกครับ…แต่ครูอยากได้หน่วยการวัดแบบไทยๆ น่ะครับ เหมือน คืบ ศอก วา อะไรเงี้ยะ…

นักเรียน: …

ครูอั๋น: ใบ้ให้…เหมือนคำด่าเลย ออกเสียงเหมือนกัน เขียนเหมือนกัน

นักเรียน: อ๋อ…ห่าครับ เคยได้ยินยายพูด

ครูอั๋น: ถูกต้องนะครับบบบบบ…

เรืองของ “ห่า” ก็เอวังด้วยประการละชะนี้…

ครูอั๋น
29 เมษายน 2557

 

ผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน


การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 63 ประจำปีการศึกษา 2556 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา/เครือข่าย สหวิทยาเขต 7 (ปราสาทเชิงพนม) และสหวิทยาเขต 8 (นครศรีอัจจะ) (โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สพท. สุรินทร์ เขต 3 เดิม)  วันที่ 5 ตุลาคม 2556 ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

ผลการแข่งขัน (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์)

กิจกรรม ม.ต้น ม.ปลาย
การแข่งขันอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ ชนะเลิศ เหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญทอง
การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 เหรียญทอง เหรียญทอง
การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP รองชนะเลิศอันดับ 1 เหรียญเงิน ชนะเลิศ เหรียญทอง
การแข่งขันคิดเลขเร็ว เหรียญทองแดง รองชนะเลิศอันดับ 2 เหรียญทองแดง
A-Math ชนะเลิศ เหรียญทอง เหรียญทองแดง
ซูโดกุ เหรียญทอง เหรียญทอง

สรุปผลการแข่งขัน

ชนะเลิศ รองฯ อันดับ 1 รองฯ อันดับ 2 รวม
คณิตศาสตร์ 2 2 1 5
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 1 2
รวม 3 2 2 7
ทอง เงิน ทองแดง รวม
คณิตศาสตร์ 5 1 2 8
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 1 4
รวม 8 1 3 12

(สำหรับผลการแข่งขันทั้งหมดตามลิงค์นี้นะครับ http://www.esan63.sillapa.net/sm-srn3/?name=category&file=view_all)

ข้อสอบ TME (พร้อมเฉลย)


TME_logo

TME (Thailand Mathematics Evaluation) หรือโคงการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน และบริษัท เอดู พาร์ค จำกัด

ดาวน์โหลดข้อสอบได้ที่ https://coolaun.com/testbank/tme/

(อับโหลดไว้เรื่อยๆ นะครับ)

banner2

Last update 25 Aug’2013

การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ

ประกาศรายชื่อนักเรียนที่เข้าสอบแข่งขันทักษะคณิตศาสตร์ ประจำปี 2556


426863_405980996105894_1836656919_nตามที่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
ได้จัดโครงการทดสอบแข่งขันทักษะคณิตศาสตร์
ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกำหนดการรับสมัครตั้งแต่
วันที่ 1 – 15 กรกฎาคม 2556 นั้น

บัดนี้สิ้นสุดการรับสมัครแล้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ ห้องสอบ และเลขที่นั่งสอบดังนี้

<<<ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน>>>

อนี่ง สำหรับวันสอบ คือ
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร

  • ระดับประถมศึกษา เวลา  09.00 – 11.00 น.

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 12.00 – 14.00 น.

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลา 12.00 – 14.00 น.

ShowMe.com โลกแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่ผมพึ่งเจอ


จริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอกครับ บางท่านอาจจะเคยใช้แล้ว แต่บังเอิญผมพึ่งมี iPad ใช้ และพยายามลองหา Application ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผม ที่ผมอยากจะบันทึกการสอนในแต่ละคาบไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาเรียนทบทวน หรือสำหรับนักเรียนที่ไม่มาเรียนได้เรียนเพื่อจะได้ตามทันเพื่อนไม่ตกหล่นเนื้ออะไร และนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดเวลาตามอัธยาศัย

IMG_0251

ที่จริงก็หลายตัวที่ใช้ เช่น Educreation, Doceri หรือง่ายๆ แบบไม่ต้องอัดอย่าง Type on PDF และ GoodNotes แต่ตัวที่ผมออกจะชอบหน่อยก็ “ShowMe” ครับ

มันทำงานเหมือนกันกระดานคำ (ขาว) และจะจับภาพหน้าจอสิ่งที่เราเขียนไว้ เหมือนกับ Captivate แล้วมันก็จะบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอ และเราสามารถอับโหลดขึ้นไปเก็บไว้ เหมือน YouTube ได้ ทั่วโลกสามารถเข้าชมได้ และเด็กนักเรียนก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

IMG_0252

หน้้าแรกของ application กด + ก็จะสร้างวิดีโอใหม่ได้ทันที

IMG_0253

กดบันทึกตรงกลาง อธิบายด้วยเสียงและตัวอักษร
เสร็จแล้วกดอีกครั้ง ก็จะได้วีดีโอการสอนของเราไว้ใช้แล้วครับ

ลองเข้าไปชมวีดีโอของผมได้ที่ www.showme.com/kruaun/ นะครับ เป็นห้องเรียนกับทางเหมือนที่กระทรวงต้องการพอดีครับ

ลองเข้าไปชม แนะนำติชมได้ครับ และลองทำไว้ใช้บ้างนะครับผม