อสงไขย

เคยฟังเพลงนี้ไหมครับ…เพลงอสงไขย เคยประกอบละครเรื่องแต่ปางก่อน ขับร้องโดย The Sis

บังเอิญคิดถึงคำนี้ แล้วเอามาแต่งกลอน

หนึ่งสัปดาห์ เวลาราว อสงไขย
หนึ่งวันดั่ง ไม่ผ่านไป เลยสักหน
ชั่วโมงผ่าน เชื่องช้า ข้าอับจน
กว่านาที จะผ่านพ้น แทบสิ้นใจ

แล้วโพสใน FaceBook (ปรับปรุงแล้ว) ปรากฎว่ามีคนถามมาทันทีทันใดว่า อสงไขย มันยาวนานขนาดไหนกัน???

คำตอบคือ ยาวนานถึง  10140  ปี ยาวนานมากเหลือเกิน

เลยไปค้นหาดูว่าอสงไขยยาวนานแค่ไหน

จริงๆ เคยอ่านบทความใน Update ฉบับที่ 171 (ที่เป็นฉบับของคณิตศาสตร์) หน้า 42  ชื่อ ” จากศูนย์…ถึงอสงไขย จำนวนในภาษาไทย… ที่ไม่ค่อยมีใครรู้”! โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ แต่ว่านิตยสารเล่มนั้นโดนปลวกแทะสูญสิ้นไปแล้ว เลยไปค้นมาเจอในสารานุกรมเสรีเจ้าเก่า เลยอยากเก็บมาเล่าให้ฟังครับ

อสงไขย

อสงไขย (สันสกฤต: असंख्येय อส̊ขฺเยย หมายถึง นับไม่ถ้วน) เป็นหน่วยสำหรับจำนวน 10140 หรือหมายถึงเลข 10^{(a\cdot2^b)} ซึ่งมีหลายความหมาย Buddhabhadra ตีความว่า a=5,b=103 Shikshananda ตีความว่า a=7,b=103 และ Thomas Cleary ตีความว่า a=10,b=104 ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้นิยามว่า หนึ่งอสงไขยเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20

อสงไขยใช้เป็นหน่วยสำหรับสิ่งใดก็ได้ เช่น มีถั่วเป็นจำนวน 1 อสงไขยเมล็ด ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป

อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่ไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า เท่ากับฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์

การคำนวณความยาวนาน

  1. สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100 โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
  2. (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1,600 × 1,600 × 1,600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10 × 100 × 1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน 1,000,000 ÷ 0.5 = 2,000,000 เมล็ด
  3. ดังนั้น 16 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน 16 × 2,000,000 = 32,000,000 เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง × ยาว × สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ 32,000,000 × 32,000,000 × 32,000,000 = 3.2768 × 1022 เมล็ด
  4. ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 3.2768 × 1022 × 100 = 3.2768 × 1024 ปี
  5. จึงได้เวลา 1 กัป เท่ากับ 3.2768 × 1024 ปี
  6. 1 อสงไขยมีกี่ปีนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 10140 ปี
  7. อายุของโลกตามหลักธรณีวิทยา โลกเกิดมาประมาณ 4.5 × 109 ปี แสดงว่าตั้งแต่โลกก่อตัวจากกลุ่มก๊าซ ผ่านยุคต่างๆมา อายุยังไม่ถึงกัปหรืออสงไขยเลย ยังอีกยาวนานมาก

วิธีนับอสงไขย

การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้

  1. สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
  2. สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
  3. สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น
  4. สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
  5. ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
  6. ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
  7. ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
  8. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
  9. ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
  10. ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
  11. ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
  12. ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
  13. ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
  14. ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
  15. ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
  16. ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
  17. ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
  18. ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
  19. ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
  20. ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
  21. ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
  22. ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน
  23. ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
  24. ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย

จำนวนอสงไขย

อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ

  1. นันทอสงไขย
  2. สุนันทอสงไขย
  3. ปฐวีอสงไขย
  4. มัณฑอสงไขย
  5. ธรณีอสงไขย
  6. สาครอสงไขย
  7. บุณฑริกอสงไขย
ขอบคุณที่มาดีๆ จาก http://th.wikipedia.org/wiki/อสงไขย
Advertisement

10 thoughts on “อสงไขย

  1. ทรงศักดิ์ พูดว่า:

    กัปป์ จะแบ่งเป็น 64 รอบ จากชนิดการสลายของสสาร 3 ชนิด ครบเป็นรอบๆไปเหมือนๆเดิม เรียกว่า มหากัปป์ ดังนั้น แต่ละรอบ จึงยาวนานไม่เท่ากัน ตายตัว ซึ่ง อาจต่างกันทั้ง 64 รอบเลยก็ได้ เพราะส่งผลต่อ ขนาดพื้นที่ ภพภูมิ และขนาดของ ระบบดาว ที่เกี่ยวข้องต่างกัน จึงใช้คำศัทพ์คำหนึ่งมากำหนด

    อสงไขยกัปป์
    อ =ไม่ *เป็นคำปฏิเสธ*
    สง = การแบ่งสิ่งหนึ่ง ให้เป็นสิ่งยิบย่อยเท่าๆกัน
    ไขย/ขัย = จุดสูงสุด,การสิ้นสุด
    กัปป์ =รอบการเกิดดับของจักรวาล

    คำนี้ที่จริงเป็นคำปฏิเสธ ว่า จักรวาลมีรอบการเกิดดับ 1 รอบ ที่ไม่แน่นอนตายตัว ด้วยแบ่งตามวิวัฒนาการเป็นหลัก 4 ลักษณะ คือ
    1.จักรวาลที่ว่างเปล่าด้วย ถูกทำลาย จาก ไฟ/น้ำ/ลม ตามรอบนั้นๆ
    2.จักรวาล เริ่มวิวัฒนาการย้อนกลับจากจุดที่ถูกทำลายนั้นกลับมาจนเกิดดาวโลกแล้ว
    3.จักรวาล เกิดดาวโลกจน สัตว์กลุ่มหนึ่ง ลงมากินอาหาร แล้วเกิดเป็น มนุษย์ชมภูทวีปขึ้น จะเข้าสู่ยุคจักรพรรดิ แล้วเกิดอายุลดลง จาก อายุสูงสุด มาถึง 10 ปี แล้วอายุกัปป์จะเพิ่มกลับไปสู่จุดสูงสุด เป็นรอบๆ เรียกว่า อันตรกัปป์ เกิดขึ้น 64 รอบ(64 อันตรกัปป์)
    4.เกิดเหตุการณ์สลายด้วย ไฟ น้ำ ลม อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้น ในรอบนั้นๆ จึงทำให้สิ่งต่างค่อยๆถูกทำลาย ไปจนหมดตามขอบเขตในการทำลายนั้นๆ

    ในพระสูตรกล่าว เนื้อหา กัปป์ และอสงไขยกัปป์ ไว้ประมาณเท่านี้ ซึ่งเป็นการแบ่งตาม ลักษณะวิวัฒนาการ และบอกว่า 1 อสงไขยกัปป์ ไม่ได้มีค่าเท่ากัน ทั้งจากการแบ่งในแต่ละรอบจักรวาลที่แบ่งเป็น 4 ลักษณะ และแต่ละลักษณะนั้นๆของแต่ละรอบ ก็อาจจะไม่เท่ากัน พูดง่ายๆ คือ อสงขัยกัปป์ ไม่ได้เท่ากับ 64 อันตรกัปป์ เสมอไป หรือ

    1 กัปป์ ไม่ได้เท่ากับ 256 อันตรกัปป์ เสมอไป เท่านั้น (ในรอบที่ถูกทำลายด้วย ลม อาจกินเวลายาวนานมาก กว่าจะวิวัฒนาการย้อนกลับ จาก ภพที่ 9 ลงมา และระบบดาวขนาดใหญ่ อย่าง พันโลกธาตุกลาง ที่เป็นเขตจุติของพระโพธิสัตว์ และมีจักรวาล อยู่ประมาณ 2 ล้านจักรวาล หรือระบบของดาวคู่กาแลกซี่/ระบบดาวที่กาแลกซี่อยู่เป็นคู่ๆในแต่ละจุดย่อย/ทวิ อันเป็นหน่วยย่อยของ พันโลกธาตุใหญ่ ที่เป็นพุทธเขต ไม่ซ้ำใคร ที่มี จักรวาลประมาณ 6 ล้านล้านจักรวาลหรือ แสนโกฏิจักรวาล เป็น 3 เกลียวหรือติ ในจุดที่เหมาะสมโคจรสว่างไสวไปทั่วโลกธาตุนั้น)

    หรือแม้แต่การพยายามตีความเป็นเลขยกกำลัง ก็เกิดในชั้นอื่นๆ ในพระสูตรอื่นท่านยกมา กัปป์ ละประมาณ ยกกำลัง 20-30 แต่ก็บอกว่า น้อยกว่า เอาไว้ ใช้คำว่า กัปป์และมหากัปป์ ปะปนกัน ต้องดูให้ละเอียดว่า บทนั้นกล่าวถึงอะไร เช่นบท ที่เกี่ยวกับนรก การคำนวน ปทุมนรก ต้องเข้าใจว่า 1 กัปป์เท่ากับ 1 วัน ไม่ใช่เท่ากัปป์ปทุมนรก ต้องใช้อายุทิพย์×12เดือน×30วัน มาหารด้วย จะลดเลขยกกำลังหรือ 0 ไปถึง 7 ตัวเลยทีเดียว

    ในที่นี้ปัจจุบัน อันตรกัปป์ที่ 12 หารประมาณ 4,000 จากธรณีวิทยา จะตกแค่ 300 ล้านปี เท่านั้น ซึ่งตรงกับยุคไดโนเสาร์(กัสสปโคตร) และสอดคล้องกับ ข้อมูลการคิดวันเวลาสวรรค์ -นรก ในหลายๆอรรถ ความสัมพันธ์เชิงตัวเลข ไปสู่ อายุกัปป์ประมาณ 72,380 ล้านปีขึ้นไปใน 1 กัปป์ หากคำนวน 256 อันตรกัปป์ (หนึ่งวันนรกขุม 8 =1 กัปป์) ในที่นี้ 1 กัปป์มีค่าไม่นิ่งในอสงขัยกัปป์อื่นๆที่ไม่มีมนุษย์ชมภูทวีป(จึงไม่มีอันตรกัปป์เกิดขึ้น) การตีเลขกัปป์ เป็นปี จึงจะไม่สอดคล้องมากขึ้น กันต่อไป หากกล่าวถึง มากกว่านี้ ในพระสูตรจึงตีคำเป็นกี่ กัปป์ ไป ด้วยเหตุนี้

    หรือแม้แต่ การตีความ มนุษาต้นกัปป์ ที่อายุอสงไขยปี เป็นตัวเลขยกกำลัง ในชั้น อรรถ ก็ยังดัดแปลงคำไปจากคำว่า สัตว์ ในชั้นพระสูตร ที่หมายถึง พรหมโลกชั้นที่ถูกทำลายนั้นๆมาถึง มนุษย์ชมภูทวีป ซึ่งใช้ไม่ได้กับ เดรัชฉาน อย่างนาค ที่มีการตั้ง ราชา ขึ้นมาในจตุมหาราชิกา เป็นการตีความที่ผิดเพี้ยน จากคำว่า สัตว์ ในพระสูตร กลายมาเป็น มนุษย์ต้นกัปป์ที่ อายุยืนยาว นับ อันตรกัปป์กันตั้งแต่ ต้นกัปป์

  2. ปูเปรี้ยว พูดว่า:

    น่าสนใจมากเลยค่ะ แต่แบบฝึกหัด พอถึงเวลาแล้ว อยากมีเฉลยบ้างจัง ได้รู้ว่าที่ทำไปแล้ว มันถูกต้องไหมเอย

  3. Chokchai พูดว่า:

    ***กัปป์ และ อสงไขย นานเท่าไหร่นะ !!??????
    ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “กัปป์” หรือ “อสงไขย” ซึ่งเป็นสำนวนเป็นอเนกสังขยา(บอกว่ามากเท่านั้น) ….ตามนัยแล้วคำเหล่าหมายถึงเป็น “เป็นเวลามาช้านาน ” ซึ่งคนในสมัยนั้นเข้าใจถึงความหมายดีแต่คนในสมัยนี้หรือปัจจุบันไปยึดเอาติดกับตัวเลข ดังจะยกตัวอย่างเช่น คนนี้ใจกว้างอย่างกับมหาสมุทร(ต้องวัดไหมมหาสมุทรกว้างลึกเท่าใด), งานกองเท่าภูเขาเหล่ากา เป็นต้น. คงจะเข้าใจแล้วนะจ๊ะ
    Cr: http://youtu.be/W4Vlrlwf6mI นาที่ที่27 เป็นต้นไป(หากฟังทุกตอนจะเข้าใจมากขึ้น)

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s