การแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่โดยใช้กราฟ

การแสดงการแจกแจงความถี่โดยวิธีนี้ สามารถทำให้เราเห็นการกระจายของข้อมูลได้ชัดเจนกว่าการสังเกตจากตารางแจกแจงความถี่ กราฟที่ใช้ในการแสดงการแจกแจงความถี่มีดังนี้

  1. แผนภาพต้น-ใบ (Stem-and-leaf plot หรือ Stem plot) ในตารางแจกแจความถี่และฮีสโทแกรมไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลใดอยู่บ้าง เพราะจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นช่วงๆ การจัดข้อมูลเป็นกลุ่ม อาจใช้วิธีสร้างแผนภาพเพื่อแจกแจงความถี่และวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นไปพร้อมกัน เรียกว่า แผนภาพต้น-ใบstem-leaf
  2. ฮีสโทแกรม (Histogram) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากวางเรียงติดกน ความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนความกว้างของอันตรภาคชั้น ส่วนสูงของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแต่ละรูปแทนความถี่ของแต่ละอันตรภาคชั้นถ้าแต่ละอันตรภาคชั้นมีความกว้างเท่ากัน ความสูงของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจะแปรผันตรงกับความถี่ ถ้าแต่ละรูปกว้าง 1 หน่วย จึงใช้ความถี่เป็นความสูงของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากได้iw_histogram
  3. รูปหลายเหลี่ยมของความถี่ (Frequency polygon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่เกิดจากการต่อจุดกึ่งกลางของยอดแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากของฮีสโทแกรมและจุดกึ่งกลางของอันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าและสูงกว่าบนแกนนอนstat_histogram7
  4. เส้นโค้งของความถี่ (Frequency curve) คือเส้นที่ได้จากการปรับด้านของรูปหลายเหลี่ยมของความถี่ให้เรียบขึ้น โดยให้พื้นที่ภายใต้เส้นโค้งมีขนาดใกล้เคียงกับรูปหลายเหลี่ยมของความถี่f_curve
Advertisement

One thought on “การแจกแจงความถี่

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s