พื้นฐาน ม.5 ภาค 1

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑
รายวิชาพื้นฐาน                     รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ๓ (ค๓๒๑๐๑)
เวลาเรียน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์        ๖๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน    ๑.๕ หน่วยกิต

—————— 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 ——————

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ได้ ในเนื้อหาเกี่ยวกับ

  • ลำดับและอนุกรม ลำดับ ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรม ผลบวก n พจน์แรกของอนุกรม
  • ความน่าจะเป็น กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

จัดกิจกรรมการเรียนรู้เทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และแก้โจทย์ปัญหา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และการรวมตัวของประชาคมอาเซียน บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ และเชื่อมั่นในตนเอง วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง ทั้งเนื้อหา ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

รหัสตัวชี้วัด   

  • ค ๔.๑   ม.๔-๖/๔, ม.๔-๖/๕
  • ค ๔.๒   ม.๔-๖/๖
  • ค ๕.๒   ม. ม.๔-๖/๒
  • ค ๕.๓   ม.๔-๖/๒,
  • ค ๖.๑   ม.๔-๖/๑, ม.๔-๖/๒, ม.๔-๖/๓, ม.๔-๖/๔, ม.๔-๖/๕, ม.๔-๖/๖.

รวมทั้งหมด ๑๑ ตัวชี้วัด

เนื้อหาประกอบด้วย

ลำดับและอนุกรม

  • ลำดับ
    • ลำดับเลขคณิต
    • ลำดับเรขาคณิต
    • (ลำดับฟีโบนักชี)
  • อนุกรมและผลบวกของอนุกรมจำกัด (n พจน์แรก)
    • อนุกรมเลขคณิต
    • อนุกรมเรขาคณิต

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

  • กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ
    • กฏการคูณ
    • กฎการบวก
  • ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
    • การทดลองสุ่ม
    • ปริภูมิตัวอย่าง
    • เหตุการณ์
    • ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
    • สมบัติบางประการของความน่าจะเป็น

แผนการสอน

Advertisement

6 thoughts on “พื้นฐาน ม.5 ภาค 1

  1. pam pom พูดว่า:

    แบบฝึกหัดที่ 10.1 ข้อ 2 ใหญ่ หน้า 228 ทำไมถึงให้เลข 0 เป็นจำนวนคู่ล่ะคะ เลข 0 เป็นจำนวนเต็มศูนย์ ไม่ใช่จำนวนเต็มคู่ไม่ใช่หรอคะ ? ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ ตอนนี้ งง มาก

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s