คุณภาพผู้เรียน (เมื่อจบชั้นมัธยยมศึกษาปีที่ 6)
- มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง จำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ หาค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังโดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสมและสามารถนำสมบัติของจำนวนจริงไปใช้ได้
ตัวชี้วัด
- ค 1.1 ม.4-6/3
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในปกรณฑ์ - ค 1.2 ม.4-6/1
เข้าใจความหมายและหาผลลัพธ์ที่เกิดจากการบวก การลบ การคูณ การหารจำนวนจริง จำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ - ค 1.3 ม.4-6/1
หาค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังโดยใช้วิธีการคำนวณที่เหมาะสม
เนื้อหา/สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- จำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
- การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
- ค่าประมาณของจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลัง
กิจกรรมการเรียนรู้
- การบรรยาย อภิปราย ซักถาม สรุป ในชั้นเรียน
- ชมวิดีทัศน์ และการศึกษาด้วยตนเอง
- แบบฝึกหัดในชั้นเรียน และการบ้าน
- แบบทดสอบ
เอกสารประกอบ
ทบทวนเกี่ยวกับเลขยกกำลังกันก่อนนะครับ นักเรียนเคยได้เรียนไปแล้วตอน ม.ต้น (ม.1) รื้อฟื้นความคิดกันหน่อยนะครับ
- เลขยกกำลัง
- สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ตัวอย่างแบบทดสอบ
- ข้อสอบโอเน็ต
- วีดีทัศน์ (คลิปวีดีโอ) เฉลยข้อสอบโอเน็ตเรื่องเลขยกกำลัง (คลิกลิงค์)
ฃอบใจมากนะ ได้ประโยชน์อย่างมาก
วีทีการเรียงลำดับจากมากไปน้อยของเลขยกกำลัง ครุที่โรงเรียนบอกหั้ยทำเลขชี้กำลังหั้ยเท่ากัน ทำไงค่ะ
ใช้สมบัติของเลขยกกำลังข้อที่ว่า (a^m)^n = a^mn ครับ
เช่น จงเปรียบเทียบ 2^20 กับ 3^10
เราก็ทำ 2^20 = 2^2*10 = (2^2)^10 = 4^10
พบว่า เลขชี้กำลังเท่ากันแล้ว ก็เอาฐานมาเปรียบเทียบกับ
ซึ่ง 4 > 3 ดังนั้น 4^10 > 3^10
เพราะฉะนั้น 2^20 > 3^10 ครับผม
ขอบคุนมากเลยค่ะ อิอิทำได้แร้วววววววว
ยินดีครับ ส่งคำตอบมาดูบ้างที่ http://www.facebook.com/LearningKruAun/ (เพจ เรียนรู้กับครูอั๋น นะครับ)