คำอธิบายรายวิชา
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความคิดรวบยอด และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ ระบบสมการเชิงเส้นและเมทริกซ์ บทนิยามของเมทริกซ์ การดำเนินการของเมทริกซ์ ดีเทอร์มิแนนต์ ไมเนอร์และโคแฟกเตอร์ การหาดีเทอร์มิแนนต์โดยการกระจายโคแฟกเตอร์ เมทริกซ์ผกผัน การแทนระบบสมการเชิงเส้นด้วยเมทริกซ์ กฎเกณฑ์ของคราเมอร์ เรขาคณิตวิเคราะห์เบื้องต้นและภาคตัดกรวย ระยะทางระหว่างจุดสองจุด จุดกึ่งกลาง ระยะทางระหว่างเส้นตรงกับจุด ความชันของเส้นตรง ความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นเส้นตรง เส้นขนาน และเส้นตั้งฉาก การหาสมการเส้นตรงที่ตั้งฉากหรือขนานกับเส้นตรงที่กำหนดให้ วงกลม วงรี พาราโบลา ไฮเพอร์โบลา และการเลื่อนแกน โดยจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และแก้โจทย์ปัญหา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด และทักษะกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ พร้อมทั้งบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความตรงต่อเวลา สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเชื่อมั่นในตนเอง วัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งเนื้อหา ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สำหรับเนื้อหาในภาคเรียนที่ ๒ นี้จะประกอบด้วย ๓ บท/หน่วย นะครับ ประกอบด้วย
- เมทริกซ์และระบบสมการเชิงเส้น (Metrix and Linear Equation System) เนื้อหาประกอบด้วย
- บทนิยาม สัญลักษณ์ และข้อตกลงเกี่ยวกับเมทริกซ์
- เมทริกซ์บางชนิด (ศึกษาเอง)
- การดำเนินการของเมทริกซ์ (การบวก การลบ และการคูณเมททริกซ์)
- ตัวกำหนด หรือดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant)
- ตัวผกผัน หรือเมทริกซ์ผกผัน หรืออินเวอร์สของเมทริกซ์ (Inverse)
- ตัวประกอบร่วมเกี่ยว (Co-factor) สำหรับการหาตัวกำหนด
- เมทริกซ์ผูกพัน หรือแอดจอยซ์ (Adjoint Metrice) สำหรับการหาตัวผกผัน
- การเปลี่ยนระบบสมการเิชิงเส้นเป็นเมทริกซ์
- การแก้ระบบสมการเชิงเ้ส้นโดยใ้ช้เมทริกซ์ (วิธีดีเทอร์มีแนนต์-หลักเกณฑ์ของคราเมอร์ และวิธีทำให้เป็นเมทริกซ์ขั้นบันไดลดรูปตามแถว หรือการดำเนินการตามแถวเบื้องต้น ERO: Elemantary Row Operation)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ (An Introduction to Analytic Geometry) เนื้อหาประกอบด้วย
- ระยะทางระหว่างจุดสองจุด
- จุดกึ่งกลาง จุดมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม
- การหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยม
- ความชัน เส้นขนาน เส้นตั้งฉาก
- ระยะ่ทางระหว่างจุดกับเส้น
- ระยะทางระหว่างเส้นขนานสองเส้น
- ความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นเส้นตรง
- ภาคตัดกรวย (Conic Section) เนื้อหาประกอบด้วย
- วงกลม
- วงรี
- พาราโบลา
- ไฮเพอร์โบลา
เมทริกซ์สามารถบูรณาการกับอะไรได้บ้างคะใน3ข้อนี้ 1ความน่าจะเป็น 2ตรรกศาสตร์ 3อนุกรมเลขคณิต
ที่จริงนิยามของดีเทอร์มืแนนต์ก็มาจากวิธีเรียงสับเปลี่ยน{หรือจัดหมู่นี่แหละ}นะครับ
ข้อมูลเป็นประโยชน์มากค่ะ
ยินดีครับผม :p
ยินดีและขอบคุณครับ