(บทความนี้เน้นภาพมากกว่ามั้งครับ)
เป็นเรื่องเดียวกันกับที่บล็อกแก๊งครับ http://kruaun.bloggang.com/
จำ ได้ว่านักเรียนที่รักประวัติศาสตร์เหมือนผม ตอนนี้เรียนเอกสังคมศึกษาเคยถามผมว่า “อาจารย์ครับ จำปาสักเคยเป็นเมืองหลวงของลาวใต้ แต่ทำไมไม่เห็นมีพระราชวัง ทั้งๆ ที่เคยเป็นเมืองหลวง???”
ก็เลยสารภาพไปว่า แม้จะสนใจและได้ศึกษาประวัติศาสตร์ลาวบ้าง แต่ก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลย ดังนี้เพื่อหาคำตอบดังกล่าว จึงต้องเดินทางไปจำปาสัก…เอ…รู้สึกว่าเหตุผลของการหนีเที่ยวไม่ค่อยเป็น สัจนิรันดร์เลยนะ ๕๕๕ ยอมรับก็ได้ครับว่าไม่เกี่ยวกัน
พี่ปานคนงามโทรมา ราววันพุธ ถามว่า ปิดเทอมมีโปรแกรมเที่ยวไหน ก็เลยบอกว่ามี ๒ ทริป คือ อยุธยา กับเชียงคาน พี่ปานเลยเสนอ “ทริปจำปาสัก” ผมตอบตกลงโดยไม่คิดมากเลย ใจง่ายมากๆ แล้วเดินทางวันไหนล่ะครับ พี่ปานว่า “วันศุกร์” ๕๕๕ ชวนพุธไปศุกร์ ให้มันได้อย่างนี้ซี พับผ่า!!!
วันศุกร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ เดินทาง
เก็บ กระเป๋าเตรียมเดินทาง วุ่นวายด้วยการหาหนังสือเดินทางไม่เจอ แล้วต่อไปก็จะรู้ว่า หนังสือเดินทางนี่เองเป็นตัวปัญญหาแรกของการเดินทาง
ออกเดินทางเย็นๆ เพื่อจะได้ไปพักแถวๆ อุบล ได้ที่พักที่เรือนพักวิเขื่อน ที่ อ.สิรินธร พักผ่อนๆ
วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ สู่ลาวใต้ สวรรค์ของคนรักธรรมชาติ
จุด มุ่งหมายของคนรักประวัติศาสตร์อย่างผมที่จำปาสัก คือ วัดพู มรดกโลกแห่งที่ ๒ ของลาว หลังจากที่ได้ไปหลวงพระบางมรดกโลกแห่งแรกของลาวไปแล้วเมื่อสองสามปีก่อน หัวหน้าคณะทัวร์บอกว่าต้องไปแน่นอน และที่สำคัญต้องหาคำตอบเรื่องพระราชวังหลวงเมืองจำปาสักมาให้นักเรียนด้วย
การ เดินทางเริ่มต้นด้วยความขลุกขลัก หลังจากออกจากที่พักแล้ว ก็ไปที่ด่านช่องเม็ก (ลาวเรียกด่านวังเต่า) ตอนแรกก็ไม่ได้ทำบัตรผ่านแดน แต่หนังสือเดินทางเหลือแค่ ๑ เดือน เจ้าหน้าที่สาวชาวไทยบอกว่าลาวไม่ได้ให้เข้าแน่ๆ เลยต้องออกมาทำหนังสือผ่านแดน ทำผิดอีก ต้องกลับไปทำอีกรอบ กว่าจะได้ออกเดินทางก็ปาเข้าไปสิบโมงกว่าแล้ว

ชาวคณะ ผมเป็นคนถ่าย
พี่เนี่ยวติดต่อรถเหมาได้คันหนึ่งวันละพันห้า ไม่รวมค่าน้ำมัน เลยตกลงไป คนขับชื่ออ้ายแกะ เป็นชาวลาวที่เคยมาทำงานที่ไทย แถวหัวหิน และสมุทรปราการ ก่อนจะกลับไปขับรถรับจ้างที่ปากเซ
อ่อ…ผมจะเรียกทั้งจำปาสัก และปากเซปนๆ กันเลยนะครับ ให้เข้าใจว่าปากเซเป็นเมืองเอกของแขวงจำปาสักแล้วกันนะครับ ง่ายดี
จาก นั้นก็เดินทางเข้าไปในลาว ผ่านหมู่บ้านหลายๆ แห่ง สะพาน หรือขัว บางแห่งต้องเสียค่าข้าม เพราะว่าเป็นสะพานเอกชน เขาจะสัมปะทานกันเป็นปีๆ เมื่อครบสัมปะทานแล้วจะมอบให้เป็นของรัฐ ซึ่งจะข้ามได้ฟรี
เดินทางไปราว ๓๐ กม. ก็จะถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงเข้าสู่เมืองปากเซ

สะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น
เรา ผ่านเมืองปากเซไปเลยเพื่อไปสู่จุดหมายแรกของการเดินทาง คือ วัดพู โบราณสถานสำคัญที่เป็นมรดกแห่งที่ ๒ ของลาว วัดพู เป็นศาสนาสถานที่สร้างขึ้นตามคติขอมโบราณ เพื่อบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ต่อเมื่อเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในแถบนี้ ก็มีการเปลี่ยนศาสนาสถานแห่งนี้เป็นวัด และเรียกกันว่าวัดพู
เดินขึ้นไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ก็สวยมากสมใจ เพราะว่าทับหลังกับลายสลักค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียวครับ
กองหินที่น่าจะเคยเป็นลานพลับพลาบริเวณบาราย
เสานางสองข้างทางเดินเข้าสู่บริเวณปราสาท
บริเวณปราสาทที่เหมือนจะเป็นวัง หรือพลับพลารับเสด็จกษัตริย์
หน้าบรรณ (จั่ว) ที่กำลังได้รับการบูรณะให้สมบูรณ์ ก่อนนำขึ้นไปติดตั้งไว้ที่เดิม
เก๋มากส่วนนี้
น่าจะเป็นศาลาเปลื้อง ก่อนจะเข้าสู่บริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ส่วนเริ่มต้นของสะพานนาค ทางเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับเขาพระสุเมรุ
สังเกตว่ามีต้นลีลาวดี หรือจำปา (ลาว) ปลูกอยู่มากมายตั้งแต่เริ่มสะพานนาค
ถ้ามองย้อนกลับไปรูปจากเสานางจะเห็นต้นจำปาลาวตลอดทางเดินขึ้นไปถึงตัวปราสาททีเดียว
ขอมโบราณ มีตาล เป็นสัญลักษณ์
ลาวพี่น้อง ที่รัก มีจำปาเป็นเอกลักษณ์ เช่นกัน
บริเวณทางขึ้นชั้นไปที่ ๓ ทางขึ้นนี้สูง และชันมาก แต่ก็ไม่เกินวิสัยจะขึ้นไปได้
ทวารบาลหนึ่งในสองตน แห่งวัดพู
อัปสราแห่งวัดพู
อัปสราตนนี้มีลักษณะคล้ายอัปสราที่ปราสาทบันทายสรี ในกัมพูชา
ส่วนอัปสราตนนี้คล้ายกับที่นครวัด นครธม
ลองเปรียบเทียบดูนะครับ
(บนซ้าย) นางอัปสราแห่งนครธม
(บนขวา) นางอัปสราแห่งนครวัด
(ล่าง) นางอัปสราแห่งบันทายสรี
ทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวรรณ
คล้ายสัญลักษณ์จังหวัดสุรินทร์
จขบ. กับทับหลังด้านในชั้นที่สอง ทับหลังด้านหน้าที่สำคัญที่สุดไม่เห็น
อาจจะนำไปจัดแสดงที่สถานแสดงประจำโบรารณสถานวัดพูก็เป็นได้
ทับหลังอีกชิ้น
ที่วัดพูมีทับหลังหลายชิ้น ที่สวยงามและค่อนข้างอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ภาพสลักพระพรหมณ์??? ด้านหลังปราสาท ซึ่งสลักบนหินธรรมชาติ
บันไดขึ้นจากด้านบนสุด จะเห็นว่าชันมาก
และจะเห็นว่าต้นจำปาลาวเต็มสองข้างบันไดเลยทีเดียวครับ
ความยิ่งใหญ่ของปราสาทวัดพู คงเทียบได้กับความยิ่งใหญ่ของปราสาทพระวิหาร (ซึ่งผมยังไม่ได้ไป)
เมื่อเขายกวัดพูเป็นมรดกโลกได้
ก็ไม่แปลกที่จะยกพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ก็ควรจะยกทั้งหมด ไม่ใช่ยกเฉพาะตัวปราสาทบนเขา
การเมืองอีกแระ…ไม่เอา ไม่พูด!!!

ตะวันลับฟ้าที่ริมโขงก่อนข้ามไปเมืองดอนโขง (ดอนของ) เพื่อที่พัก
คืนนั้นเราพักกันที่เรือนพักดอนโขงข้างใน ไม่ได้ติดโขง บรรยากาศใช้ได้
คุณแม่ (คุณป้า) ที่เป็นเจ้าของน่ารักมาก
ตอนเช้าเราแวะไปลาคุณแม่ที่เรียนพักดอนของที่ติดโขง กินกาแฟ ขนมปัง
แล้วจึงเดินทาง
วันนี้จะพาเที่ยวน้ำตกสองสามแห่งในจำปาสักครับ
ด้วยเวลาอันจำกัดได้ไปเพียงเท่านี้เอง
แห่งแรก…คอนพะเพ็ง

ป้ายน้ำตก
คอนพะเพ็ง เหมือนเป็นแนวหินที่กั้นแม่น้ำโขง
เขาว่าต้องไปดูช่วงน้ำน้อย เพราะจะทำให้เห็นแก่งต่างๆ
บรรยากาศจะเต็มไปด้วยเสียงอันดังของสายน้ำที่ไหลแรง
บริเวณศาลาที่เป็นจุดชมวิว
ตากล้องชาวลาวจะทำให้คุณเหมือนดาราดัง
แต่ความน่ารักอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ทำลักษณะคนไทย
คือ ไม่ถ่ายแล้วพิมพ์แล้วให้เราเลือก
แต่เขาจะให้เราดูจากกล้องเขาเลย แล้วพยายามขอร้องให้เราเอา
ถ้าไม่เอาก็แล้ว
ก่อนกลับไปอีกที่…มาฝึกอ่านภาษาลาวกันครับ
ส่วนอีกอย่างหนึ่งที่นี่ ทำให้เมืองไทยเสียหายมาก
นั่นก็คือ ความมือบอนของนักท่องเที่ยวไทย
จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ทำให้ผมอายคนแถวนั้นเหมือนกัน
ไปน้ำตกที่มีฉายาว่า “ไนแองการ่าแห่งเอเชีย” กันครับ
ตาดผาส้วม
ไม่บรรยายแล้วกันครับ ดูภาพกันเอาเอง
จากนั้นเราก็ข้ามสะพานแบบนี้ ไปยังอีกฟาก เพื่อจะเดินเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าของเขา
ที่หมู่บ้านนี้จะมีชาวบ้านมาตั้งบ้าน และดำเนินชีวิตตามปกติ
เราะได้แวะคุยที่บ้านนี้นาน เพราะ เขารู้เรื่องเกี่ยวกับชนเผ่าดี
และพูดจาแสดงถึงการเป็นคนใฝ่รู้ ซึ่งผมชอบมาก
คุณยายในภาพจะนั่งอย่างนี้ทั้งวันเพื่อทอผ้า
ซึ่งหูกทอผ้าก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรเลย
แค่นี้เอง…
สวยดีเหมือนกันนะครับ
จากนั้นคณะจึงออกเดินทางไปยังน้ำตกอีกแห่งไกลออกไปอีก คือ
ตาดอีตู้
อีตู้ ทางอีสานบ้านเฮาก็คือ ควายตัวเมียนั่นเองครับ
ทำไมชื่อนี้…??? ไม่รู้เหมือนกันครับ
ชมภาพกันดีกว่า
ทางลงแบบไหนหรอ…แบบนี้ไงครับ
ตอนลงไม่เท่าไหร่หรอกครับ…คิดสภาพตอนเดินขึ้นครับ…
ขาเกือบอ่อน…เกือบไม่มีแรงทำอะไรต่อ
สวยมากมายน้ำตกนี้
พอกลับขึ้นมาด้านบน เมื่อชมน้ำตก จะมีรุ้งด้วย
ด้านบนของตาดจะมีไร่กาแฟด้วยครับ
ซึ่งผมเองก็พึ่งได้เห็นต้นกาแฟเป็นๆ ครั้งแรก
หลังจากกินกาแฟ (หนักๆ) มาหลายปี
พอกลับออกมาจากตาดอีตู้ เราก็เข้าไปพักกันที่จำปาสัก
คืนนั้นไปเที่ยวผับลาว
อยากไปชมการเต้น บัดสะลบ ของลาวเขา
แต่ปรากฏว่า พี่ไทยอีกคณะใหญ่ไปด้วย
ไปแสดงความไม่มีระเีบียบแบบไทยๆ ในผับลาว
แทนที่จะได้ดูสาวๆ ลาวเต้นบัดสะลบ
กลายเป็นว่าเหมือนตัวเองอยู่ในงานเลี้ยงส่งครูที่โรงเรียนยังไงยังงั้น
เฮ้ย…เซ็งคนไทย (ด้วยกันเอง) ภาคสอง
คืนนั้นด้วยความที่ทรัพย์จางแล้วเลยพักห้องพักเล็กๆ ถูกๆ พอนอนได้
เช้านั้นก่อนกลับเราไปสถานที่ที่เป็นคำตอบ คือ พระราชวังแห่งจำปาสักครับ
ปัจจุบันกลายเป็นโรงแรมไปแล้ว
พระราชวังแห่งจำปาสัก เมืองหลวงแห่งลาวใต้