รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ประเด็นปัญหาที่สาธารณชนสนใจอย่าง หนึ่งทางด้านการศึกษาได้แก่ “กระบวนการพัฒนาครูทั้งระบบ” การมองปัญหาของการพัฒนาครูทั้งระบบอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน ในที่นี้หมายถึงครูที่จะสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ การกำหนดนโยบายทางการศึกษาในด้านการพัฒนาครูอาจมีความหลากหลาย โดยเฉพาะมุมมองจากมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูอาจมองเพียงกระบวนการของการผลิตครู เท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงระดับจุลภาค หรือ Micro Level โดยเน้นเฉพาะสิ่งที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูสามารถดำเนิน การได้
นอกจากนั้นยังมีมุมมองระดับมหภาค หรือ Macro Level ซึ่งเป็นระดับชาติ หรือระดับนโยบายที่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการของการพัฒนาครูโดย รวม ซึ่งหมายถึงการมองปัญหาองค์รวมของการพัฒนาครู โดยมองเป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูเริ่มตั้งแต่ 1) กระบวนการเตรียมการเพื่อคัดเลือกผู้จะมาเรียนวิชาชีพครู 2) กระบวนการผลิตครู 3) กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งและพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพครูระหว่างปฏิบัติ หน้าที่ 4) กระบวนการดูแลครูเมื่อเกษียณอายุราชการจนถึงสิ้นอายุไขของครู และ5) กระบวนการเชิดชูครูผู้ล่วงลับไปแล้ว
หลักการและวิธีการดำเนิน การในแต่ละกระบวนการมีความหลากหลายที่จะนำมาใช้เป็นนโยบายสำหรับการบริหาร จัดการพัฒนาครูในระดับชาติ ในการดำเนินการแต่ละกระบวนการดังกล่าวโดยการใช้เพียงแนวคิดโดยไม่มีทฤษฎีและ ผลการศึกษาวิจัยรองรับอาจทำให้มีความเสี่ยงมากที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ก็ตามถึงแม้ว่าข้อมูลและแนวคิดซึ่งเป็นองค์ความรู้สำหรับการกำหนดนโยบายอาจ ไม่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจดำเนินนโยบายทางการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพครู ทั้งระบบ เพราะฐานความรู้เหล่านั้นส่วนมากได้มาจากบริบทของสังคมในต่างประเทศ และไม่มีเวลาศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเปลี่ยนแปลง หรือ ยืนยันองค์ความรู้เหล่านั้น การระดมความคิดจากครูและผู้มีประสบการณ์สามารถช่วยให้การดำเนินการพัฒนาครู ประสบความสำเร็จและสร้างความพึงพอใจให้กับสาธารณชนได้
1. การเตรียมการเพื่อคัดเลือกผู้จะมาเรียนวิชาชีพครู การ คัดเลือกผู้จะมาเป็นครูนั้นนอกจากวิธีการที่ใช้ในกระบวนการแล้ว ปัจจัยจากกระบวนการอื่นในการพัฒนาครู เช่น ความก้าวหน้า รายได้ ความมั่นคง การยอมรับนับถือในอาชีพล้วนเป็นปัจจัยที่เสริมให้กระบวนการคัดเลือกครูมี ประสิทธิภาพทั้งสิ้น การทดสอบ การคัดเลือก การสัมภาษณ์ การพิจารณาภูมิหลัง การรับรองจากอาจารย์ผู้สอน การให้ทุนและสร้างความมั่นใจในตำแหน่งงานยังเป็นหลักสำคัญสำหรับการคัดเลือก ผู้ที่จะมาเรียนวิชาชีพครู สิ่งที่ควรนำมาใช้เพิ่มเติมได้แก่ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานทางด้านจริยธรรมและคุณธรรมสำหรับวิชาชีพครูที่เหมาะสม เพื่อใช้วัดและประเมินผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในวิชาชีพครู ถึงแม้จะมีความเป็นนามธรรมและเป็นการยากในการประเมินแต่ไม่น่าจะพ้นวิสัยของ ความพยายามให้เห็นถึงระดับมาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรมของผู้จะเป็นครู
2. กระบวนการผลิตครู มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีประสบการณ์ในการผลิตครูควรได้รับความไว้วางใจให้ผลิต ครูเป็นลำดับแรก โดยปัจจุบันได้มีการพิจารณามหาวิทยาลัยที่ได้ผ่านการรับรองให้ผลิตครูตาม โครงการผลิตครูพันธ์ใหม่แล้วจำนวนมาก แนวคิดที่ควรกลับนำมาใช้สำหรับการผลิตครูเพิ่มเติมจากกระบวนการและวิธีการ ที่ทำอยู่คือ การเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อหาในรายวิชาที่เป็นเนื้อหาสาระให้มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องลดรายวิชาที่เป็นวิชาชีพครู ฝึกสอน 1 ภาคการศึกษา และฝึกการพัฒนาสื่อการสอนและการวิจัยอีก 1 ภาคการศึกษารวมเป็น 1 ปีการศึกษาน่าจะเพียงพอ หน่วยกิตการเรียนอาจต้องยอมให้ปรับเพิ่มขึ้นสำหรับหลักสูตรวิชาชีพครู
3. การเข้าสู่ตำแหน่งและการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพครูระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ขณะนี้มีกระบวนการและวิธีการที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และไม่สะท้อนถึงลักษณะความต้องการของครูที่แท้จริง เพียงแต่เปิดช่องทางของความก้าวหน้าในอาชีพให้มากขึ้นและสูงขึ้นเท่านั้น การปรับระบบการเลื่อนตำแหน่งในวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาควรพิจารณา ทบทวนและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งขณะนี้กำลังมีกระบวนการศึกษาและหาทางปรับปรุงกระบวนการนี้อยู่ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับอาชีพครูและบุคคลากรทางการศึกษา
4. กระบวนการดูแลครูเมื่อเกษียณอายุราชการจนถึงสิ้นอายุไขของครู การติดตามดูแลเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับครูหลังพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ควรมีกระบวนการที่ควบคุมและตรวจสอบมิให้ครูตกเป็นเหยื่อแก่ผู้ต้องการแสวงหา ประโยชน์จากครูเหล่านั้น ขณะนี้มีกระบวนการที่พยายามแฝงตัวเข้ามาหาประโยชน์จากครูผู้เกษียณอายุ ราชการ จากเงินบำเหน็จ บำนาญของครู การดูแลตักเตือนและปกป้องผลประโยชน์ของครูต้องได้รับการเอาใจใส่มากกว่านี้ นอกจากนั้นควรมีการส่งเสริมดูแลฐานะความเป็นอยู่ให้กับครูได้มีชีวิตอย่างสม ศักดิ์ศรีของความเป็นครู เช่น มีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ครูในอัตราพิเศษเมื่อเกษียณอายุราชการโดยไม่ต้อง ให้ไปเสี่ยงกับการลงทุนที่ครูไม่มีความถนัดมากนัก และอาจหมดเนื้อหมดตัวได้ง่าย ๆ
5. กระบวนการเชิดชูครูผู้ล่วงลับไปแล้วความ ต้องการของครูเหมือนกับความต้องการของศิลปิน คือต้องการให้ผู้คนยอมรับนับถือในคุณงามความดีและอุดมการณ์ของตน การส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างมีอุดมการณ์นั้น อาจสนองตอบได้ด้วยผลของการปฏิบัติต่อครูทั้งเมื่อมีชีวิตอยู่และล่วงลับไป แล้ว กระบวนการของการเชิดชูครูที่ทำอยู่ปัจจุบันอาจยังไม่เข้มแข็งพอที่จะทำให้ ครูทราบและตระหนักในคุณค่าของอุดมการณ์และความทุ่มเทให้กับอาชีพครู ถ้ามีกระบวนการที่ดีแล้วเชื่อว่าจะทำให้ครูสามารถปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ มากขึ้น มีอุดมการณ์มากขึ้น
สรุป
การพัฒนา คุณภาพครู ทั้งระบบ เป็นกระบวนการที่ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบ (Systematic) ตั้งแต่การนำคนเข้าสู่อาชีพครูจนถึงการจากไปแล้วของครู และให้ดำเนินการเป็นระบบ (Systemic) ที่สามารถตรวจสอบและมีผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจนในแต่ละอนุ ระบบ (Subsystem) ของกระบวนการต่าง ๆ จะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพครูทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหาภาคสามารถดำเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการพัฒนาครูทั้งระบบอย่างมีคุณภาพ
ขอบคุณที่มาดีๆ: ไทยรัฐออนไลน์
- โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
- 1 สิงหาคม 2554, 08:00 น.
- http://www.thairath.co.th/content/edu/190569