คนสมัยโบราณมีวิธีตอบคำถามที่ว่า “เท่าไร” ได้ ถึงแม้ว่าเขาจะยังไม่มีคำที่ใช้เรียกจำนวน และยังไม่มีสัญลักษณ์ที่เขียนแทนจำนวน
เขาใช้วิธีขีดรอยบนกิ่งไม้ หรือใช้กิ่งไม้เล็กๆ แทนสิ่งที่จะต้องนับทีละสิ่ง
ต่อมาเมื่อคนรู้จักบันทึกเรื่องราวเพื่อช่วยความจำ เขาจึงเขียนสัญลักษณ์ขึ้นสำหรับแทนจำนวน

ชาวบาบิโลนบันทึกเรื่องราวลงบนแผ่นดินเหนียวสญลักษณ์ที่เขียนแทนจำนวนจึงมีรูปร่าง ดังนี้
l แทน จำนวนหนึ่ง
< แทน จำนวนสิบ
สัญลักษณ์ที่เขียนแทนจำนวน เรียกว่า ตัวเลข ตัวเลขที่ใช้ในปัจจุบันทั่วโลก เป็นตัวเลขฮินดูอารบิกได้แก่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0 ตัวเลขฮินดูอารบิกนี้ชาวฮินดูเป็นผู้คิด ชาวอาหรับเป็นผู้นำไปเผยแพร่
คนไทยมีตัวเลขไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และได้ดัดแปลงเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ปรากฏตามหลักฐานดังนี้
ตัวเลขอียิปต์
ในสมัยโบราณ อียิปต์เป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการก่อนชาติอื่นๆ ชาวอียิปต์รู้จักบันทึกจำนวนโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

การเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนของชาวอียิปต์ ใช้วิธีรวมค่าของสัญลักษณ์เหล่านั้น ไม่คำนึงถึงตำแหน่งของสัญลักษณ์ ดังนั้น จำนวนเดียวกัน อาจจะเขียนสัญลักษณ์สลับที่เป็นแบบต่างๆ ได้ | ![]() |
ตัวเลขบาบิโลน เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ประเทศบาบิโลนเนียตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศซีเรีย และเลบานอน ในกลางศตวรรษที่ 19 นักโบราณคดีได้ขุดพบแผ่นอิฐมากกว่าห้าหมื่นแผ่น ใกล้ๆ กับเมืองนิปเปอร์ (Nippur) และได้นำแผ่นอิฐเหล่านี้ไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี รวมทั้งสถานที่แสดงวัตถุโบราณที่เยล โคลัมเบีย ืและที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในสหรัฐอเมริกา จากแผ่นอิฐ ทำให้ทราบเรื่องราวของชาวบาบิโลน |
ชาวบาบิโลนถือตำแหน่งของสัญลักษณ์เป็นสำคัญ ถ้าสลับที่สัญลักษณ์จะทำให้ได้จำนวนที่มีค่าต่างกัน ดังเช่น<|| ไม่เท่ากับ |<| จำนวนแรกแทนสิบสอง จำนวนหลังแทนเจ็ดสิบเอ็ดต่อมาเมื่อมีความจำเป็นต้องแสดงจำนวนที่ใหญ่ขึ้น เขาจะใช้สัญลักษณ์นี้เขียนเป็นกลุ่มใหม่ โดยนำกลุ่มนี้ไปไว้ทางซ้ายของกลุ่มเดิม ที่แทนจำนวนสิบกับหนึ่ง และกำหนดให้สัญลักษณ์ในกลุ่มใหม่ มีค่าเป็นหกสิบเท่าของจำนวนในกลุ่มนี้เช่น
![]() |
ตำแหน่งของสัญลักษณ์ที่ชาวบาบิโลนกำหนดไว้ จะประกอบด้วยหลักหน่วยนับได้ตั้งแต่ หนึ่งถึงห้าสิบเก้า เขียนเป็นกลุ่มอยู่ทางขวามือสุด กลุ่มที่สองซึ่งอยู่ถัดไปทางซ้าย จะเป็นหลักหกสิบ ซึ่งจะมีค่าเป็นหกสิบเท่าของจำนวนในหลักนั้น กลุ่มที่สาม กลุ่มที่สี่ และกลุ่มต่อไป ที่อยู่ถัดไปทางซ้ายก็จะเป็นหลักหกสิบกำลังสอง, หลักหกสิบกำลังสาม,… ไปตามลำดับ เช่น
![]() |
ข้อสังเกต
ตัวเลขบาบิโลน เป็นตัวเลขในระบบฐานหกสิบ เมื่อนำสัญลักษณ์ตัวเดิมไปวางไว้ในตำแหน่ง หรือหลักที่ต่างกัน จะได้ค่าต่างกัน เนื่องจากชาวบ้านบาบิโลนยังไม่รู้จักใช้สัญลักษณ์ศูนย์ จึงมีข้อยุ่งยากของการใช้ตัวเลขในระบบนี้ คือ ถ้าจำนวนในหลักใดขาดหายไป จะทำให้เกิดความสับสนในการอ่าน และการเขียนตัวเลขกรีก ในสมัยต้นๆ ชาวกรีกใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนดังนี้
![]() ในสมัยต่อมา กรีกเปลี่ยนมาใช้ตัวอักษร ซึ่งมียี่สิบเอ็ดตัว แทนจำนวนโดยใช้อักษรเก้าตัวแรกแทนหนึ่งถึงเก้า เก้าตัวถัดไปแทนสิบถึงเก้าสิบ และเก้าตัวสุดท้ายแทนหนึ่งร้อยถึงเก้าร้อย ดังนี้
![]() |
จำนวนที่ไม่ได้เขียนตัวอักษรกำกับไว้ หมายความว่า ตัวอักษรนั้นๆ เลิกใช้แล้ว
![]() นอกจากจะใช้วิธีรวมค่าสัญลักษณ์แล้ว เมื่อต้องการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนใหญ่ๆ ชาวกรีกจะใช้วิธีขีดเฉียง / เติมหน้าตัวอักษรนั้นๆ หมายถึง พันเท่าของจำนวนนั้นๆ
![]() สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนแบบนี้ ต้องอาศัยความจำมาก ไม่สะดวกในการเขียน อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าอย่างหนึ่งก็คือ การรู้จักคูณทวีพันเท่า ตัวเลขโรมัน ในสมัยต้นๆ ชาวโรมันใช้สัญลักษณ์เขียนแทนจำนวน ดังนี้ ![]() การเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน ชาวโรมันใช้วิธีรวมค่าของสัญลักษณ์เช่นเดียวกับอียิปต์ เช่น IlII แทนจำนวนสี่ และ LXXXX แทนจำนวนเก้าสิบ ในสมัยต่อมาชาวโรมันใช้การลบ และการบวก และถือตำแหน่งเป็นสำคัญในการบอกจำนวน ช่วยให้ใช้สัญลักษณ์น้อยตัวลง สำหรับสัญลักษณ์ และต่อมากลายรูปเป็น D และ M เพื่อช่วยให้สะดวกในการเขียนขึ้น |
ตัวเลขจีน ชาวจีนมีสัญลักษณ์สิบสองตัวที่ใช้เขียนแทนจำนวน
![]() ชาวจีนใช้วิธีคูณตามค่าประจำตำแหน่งของแต่ละหลัก แล้วรวมผลคูณนั้นๆเข้าด้วยกัน การเขียนเป็นดังนี้ ![]() |
ตัวเลขมายัน
ในสมัยก่อนที่โคลัมบัสพบซีกาโลกตะวันตกนั้น ชนเผ่ามายันได้อาศัยอยู่ในอเมริกากลาง และเม็กซิโก เป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว ชาวมายันใช้ตัวเลขที่มีค่าประจำตำแหน่ง และเป็นชาติแรกที่มีสัญลักษณ์แทนจำนวนศูนย์ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนของชาวมายัน มีดังนี้
|
การเขียนตัวเลขแทนจำนวนใหญ่ๆ ของชาวมายันใช้วิธีการเดียวกันกับของจีน คือเขียนในแนวตั้ง เรียงจากมากลงมาหาน้อย
เขียนตัวเลขหลักหน่วยไว้ตำแหน่งล่างสุด
เขียนตัวเลขหลักที่สองเหนือหลักหน่วย หลักที่สองมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้
เขียนตัวเลขหลักที่สามเหนือหลักที่สอง หลักที่สามมีค่าประจำตำแหน่งเป็น 18 X 20 เท่าของจำนวนในหลักนี้
เขียนตัวเลขหลักที่สี่ ที่ห้า ที่หก,… เหนือหลักที่ต่ำกว่าไปตามลำดับค่าประจำตำแหน่งจะเป็น 18 X 202 , 18 X 2034,… เท่าของจำนวนในแต่ละหลักตามลำดับ ตัวอย่างเช่น , 18 X 20

ขอบคุณคะ มีความรู้เพิ่มขึ้น หวังว่าจะได้อ่านเกร็ดความรู้ต่างๆอีกนะคะ