ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

เหตุการณ์สำคัญในประวัติ
และพัฒนาการของคณิตสาสตร์
:

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

(ประมาณ ค.ศ.1150 – ค.ศ.1500)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้มีผู้นำวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของกรีกมาเผยแพร่ในยุโรป ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแปลหนังสือจากภาษาอาหรับเป็นภาษาลาตินกว่า 90 ฉบับ รวมถึงเอลิเม้นต์ของยุคลิด และอัลมาเจสของปโตเลมีด้วย และในยุโรปได้เริ่มใช้ระบบตัวเลขฮินดู – อารบิก ด้วย ศตวรรษที่ 13 มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปได้เกิดขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยปารีส ออกซฟอร์ด แคมบริดจ์ เนเปิล เป็นต้น มีการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย

  • ค.ศ.1202   นักทฤษฎีจำนวนชาวอิตาเลียนนามลีโอนาร์โน ปิซาโน พีโบนักชี (Leonardo Pisano Fibonacci, ค.ศ….) เขียนหนังสือเกี่ยวกับการใช้ลูกคิด การใช้เลขศูนย์ และระบบตัวเลขอารบิก (ฮินดู) ความสำคัญของการใช้สัญกรณ์กำหนดตำแหน่ง (Positional notation) และคุณค่าของระบบทศนิยม
  • ค.ศ.1225   ฟีโบนักชีเขียนหนังสือเรื่อง Liber Quadratorum ซึ่งเขาได้พัฒนาพีชคณิตโดยอาศัยพื้นฐานของระบบตัวเลขอารบิก
  • ค.ศ.1299   กฎหมายฉบับหนึ่งถูกประกาศใช้ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี กฎหมายฉบับดังกล่าวสกัดกั้นการใช้ตัวเลขฮินดู – อารบิก โดยนักการธนาคารที่อำนาจเชื่อว่าตัวเลขระบบดังกล่าวสามารถปลอมแปลงได้ง่ายกว่าตัวเลขโรมัน
  • ค.ศ.1482   หนังสือเอลิเมนต์ของยุคลิดแห่งอะเล็กซานเดรียฉนับปรับปรุงได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในเมืองเวณิช ประเทศอิตาลี
Advertisement

2 thoughts on “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s