บทนำ

α-๑-1-I

บทนำ:
การแบ่งยุคสมัยทางคณิตศาสตร์

Milestone มีความหมายตามพจนานุกรม คือ หลักหรือเสาหินบอกระยะทางเป็นไมล์, หลักไมล์ (ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คงจะเป็นหลักกิโลเมตรนั่นเอง) และอีกความหมาย คือ เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของคนหรือประวัติศาสตร์ ซึ่งการแบ่งเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทั้งหลายก็นิยมลำดับเหตุการณ์ตามระยะเวลาที่เกิดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยปีศักราชเป็นหลักเวลาในการบอกเล่าเหตุการณ์นั้นๆ โดยยึดตามระบบสากลที่มักจะใช้ปีคริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. ในการบอกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

ในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน มีการแบ่งเหตุการณ์ออกเป็นยุคสมัย และบอกเล่าตามปีที่เกิดด้วย ซึ่งการแบ่งยุคทางคณิตศาสตร์นั้น (www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/history.Timelines/index.html) แบ่งตามช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ ทางคณิตศาสตร์ร่วมกัน หรือช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ประมาณ 800 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.700 ยุคกรีก (The Greek period)
  • ค.ศ.600 – 1500      ยุคอาหรับ หรืออารบิก (The Arabic Period)
  • ค.ศ.1450 – 1700    ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (the 16th and 17th Centuries)
  • ค.ศ.1650 – 1800    ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 (The 18th century)
  • ค.ศ.1750 – 1850    ยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 (The early 19th century)
  • ค.ศ.1825 – 1900    ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตอนปลาย (The late 19th century)
  • ค.ศ.1875 – 1960    ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 (The 20th century)

ส่วน Eves (200…) ได้แบ่งยุคสมัยทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Periods) ไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมทั้งบอกเล่าถึงเหตุการณ์และนักคณิตศาสตร์คนสำคัญๆ ไว้อีกด้วย ซึ่งได้แบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

  • 3000 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.260            อียิปต์และบาบีโลน
  • 1030 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.1644          จีน
  • 600 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.450              กรีก
  • 200 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.1250            ฮินดู
  • ค.ศ.450 – 1120                           ยุคมืด
  • ค.ศ.650 – 1200                           อาหรับ
  • ค.ศ.950 – 1500                           ช่วงเวลาแห่งการถ่ายโอนความรู้
  • ค.ศ.1450 – 1700                         ยุคใหม่ช่วงแรก
  • ค.ศ.1700 – ปัจจุบัน                       ยุคใหม่ช่วงที่สอง

ภาพประกอบที่ 1.1 แสดงการแบ่งยุคสมัยทางคณิตศาสตร์

จะเห็นได้ว่า การแบ่งช่วงเวลาหรือยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของคณิต-ศาสตร์นั้น มีการคาบเกี่ยวกับของช่วงเวลาบ้าง โดย Eves ได้ให้ความสำคัญของพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ในทวีปเอเชียด้วย คือ จีน อินเดีย และอาหรับ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า แนวคิดทางคณิตศาสตร์หลายประการซึ่งเป็นที่รู้จักกันในโลกปัจจุบันนี้ นักคณิตศาสตร์ชาวจีน และอินเดีย คิดค้นได้ก่อนนักคณิตศาสตร์ชาวตะวันตกหลายร้อยปีทีเดียว ส่วนชาวอาหรับนั้นก็มีความสำคัญต่อวิทยาการของโลก คือ เป็นผู้เก็บรักษาความรู้ต่างๆ ของกรีก และอียิปต์โบราณไว้ไม่ให้สูญหายไปจากโลก ในยุคสมัยที่ยุโรปตกในยุคมืด

นอกจากการแบ่งเป็นยุคตามที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ แล้ว ยังมีการบอกเล่าเหตุการณ์ในแต่ละปีว่ามีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้นบ้าง บางเหตุการณ์ก็เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโฉมหน้าคณิตศาสตร์เช่นกัน เช่น การค้นพบเรขาคณิตนอกระบบยูคลิด การค้นพบแคลคูลัส เป็นต้น

ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 ส่วนตามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ตามปีคริสต์ศักราช ดังนี้

  1. ยุคโบราณ กรีก และอียิปต์ (ประมาณ 50,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงประมาณ ค.ศ.450)
  2. ยุคมืด และยุคอาหรับ (ค.ศ.450 – ค.ศ.1200)
  3. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (ค.ศ.950 – ค.ศ.1500)
  4. ยุคใหม่ช่วงแรก (ค.ศ.1450 – ค.ศ.1700)
  5. ยุคใหม่ช่วงหลัง (ค.ศ.1700 – ปัจจุบัน)
Advertisement

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s