ยุคมืด และยุคอาหรับ

เหตุการณ์สำคัญในประวัติ
และพัฒนาการของคณิตสาสตร์
:

ยุคมืด และยุคอาหรับ

(ประมาณ ค.ศ.450 – ค.ศ.1200)

หลังไฮพาเทียถูกฆาตรกรรมอย่างโหดเหี้ยมใน ค.ศ.415 ความเป็นศูนย์กลางทางวิทยาการของอะเล็กซานเดรียเริ่มเสื่อมถอย และยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรียถูกเผาทำลาย ในปี ค.ศ.641 อะเล็กซานเดรียจึงสิ้นสุดการเป็นศูนย์กลางความเจริญทางวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และผู้รู้ทั้งหลาย ได้เดินทางไปยังอาราเบีย (ตะวันออกกลาง) เพื่อเป็นครูและทำงานร่วมกับพวกอาหรับ ซึ่งพวกอาหรับได้รับความรู้ทางเรขาคณิต ตรีโกณมิติและดาราศาสตร์จากพวกกรีก และความรู้ทางเลขคณิตและพีชคณิตของชาวฮินดู หนังสือเอลิเม้นต์ของยุคลิด และอัลมาเจสของปโตเลมีก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอาหรับ และรวมถึงหนังสืออีกหลายๆ ซึ่งข้อนี้เป็นความดีของชาวอาหรับ เนื่องจากชาวอาหรับใช้หนังสือเป็นตำราเรียน ซึ่งเป็นการรักษาความรู้เหล่านี้ตลอดยุคมืดของยุโรป ซึ่งความเจริญทางวิทยาการต่างๆ หยุดชะงักลงทั่วยุโรป

  • ค.ศ.499     นักคณิตศาสตร์ชาวฮินดูนามอารยภัทรผู้พี่ (Aryabhata the Elder, ค.ศ….) ได้อธิบายถึงระบบตัวเลขของชาวอินเดีย และเขายังเป็นคนทำให้การใช้วิธีการหารในการหาตัวหารร่วมมากของจำนวน 2 จำนวนที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันด้วย
  • ค.ศ.700     จำนวนลบได้รับการนำเสนอโดยชาวฮินดูในการใช้เป็นตัวแทนสมดุลเชิงลบ (Negative Balance)
  • ค.ศ.820     นักพีชคณิตและนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับนาม… (al-Khawārizmī, ค.ศ….) ได้เขียนหนังสือคณิตศาสตร์ ซึ่งภายในได้แนะนำให้รู้จักคำในภาษาอารบิกที่ว่า al-jabr ซึ่งต่อมาแผลงเป็นคำว่า algebra (พีชคณิต) ในเวลาต่อมา และชื่อของเขาถูกแปลไปผิดกลายเป็นคำว่า algorism ซึ่งได้กลายมาเป็นความหมายว่า “ศิลปะแห่งการคำนวณ” (the Art of Calculating) หรือเลขคณิต (Arithmetic) นั่นเอง นอกจากนี้ al-Khawārizmī ยังได้ใช้ตัวเลขของฮินดูในงานของเขา ซึ่งรวมถึงเลขศูนย์ด้วย และเมื่อผลงานของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาลาติน และได้รับการตีพิมพ์ในตะวันตก (ยุโรป) ตัวเลขเหล่านั้นถูกเรียกว่าตัวเลขอารบิก (Arabic Numerical)
  • ค.ศ.825     al-Khawārizmī ได้แนะนำการใช้ระบบทศนิยม (Decimal System)
Advertisement

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s