เหตุการณ์สำคัญ
ในประวัติและพัฒนาการของคณิตสาสตร์
เรียบเรียงโดย… นฤพนธ์ สายเสมา
ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมขอประกาศคุณูปการก่อนนะครับ
หากบทความนี้มีคุณประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เรียบเรียงขออุทิศความดีของบทความนี้ เป็นเครื่องบูชาพระคุณของ
- บิดา มารดาและพี่ชายของผู้เรียบเรียง ที่สนับสนุนด้านการศึกษาของผู้เรียบเรียงมาตลอดชีวิต
- คุณครู… (ผู้เรียบเรียงจำชื่อครูท่านนั้นไม่ได้แล้ว) ซึ่งเป็นครูอนุบาลที่โรงเรียนวัดเกศแก้ว จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ค้นพบความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของผู้เรียบเรียง อีกทั้งสอนให้ผู้เรียบเรียงบวก และลบจำนวนได้ ทำให้ผู้เรียบเรียงรักคณิตศาสตร์นับตั้งแต่บัดนั้นครูและอาจารย์ที่ให้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์แก่ผู้เรียบเรียง ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- คุณครูรัตนา ระยานนท์ และคุณครูรัชนีย์ เลิศหัสดีรัตน์ ที่เปิดโอกาสให้เข้าเจ้าได้ทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตลอดระยะเวลา 4 ปีครึ่งที่เรียนที่โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา
- อาจารย์สุวรรณา คล้ายกระแส ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่จุดประกายความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และโดยเฉพาะประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์
- ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ ปั้นนิ่ม ที่มอบหนังสือเกี่ยวกับแฟร์มาต์ไว้ให้ผู้เรียบเรียงได้อ่าน (แม้จะยังอ่านไม่จบก็ตาม) รวมถึงอาจารย์ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ มศว ทุกๆ ท่าน
- เพื่อนๆ กศ.บ. เอกคณิตศาสตร์ (Ed42Math) ทุกๆ คน
ตลอดจนบุคคลอีกมากมายที่มิอาจเอ่ยนามได้ทั้งหมด ที่คอยสนับสนุนผู้เรียบเรียงมาตลอดชีวิต
ก่อนอ่านทั้งหมด…อ่านตรงนี้ก่อน
คำชี้แจง
ในการเรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาของคณิตศาสตร์นี้ ผู้เรียบเรียงได้ใช้ข้อมูลจากหนังสือ 2 เล่มและจากเว็บไซต์ 1 แห่ง เป็นแกนหลักในการเรียบเรียง ได้แก่
- Math and Mathematicians: the History of Math Discoveries Around the World ของ Leonard C Bruno (1999)
- An Introduction to the History of Mathematics ของ Haward Eves
- เว็บไซต์ของ ม.เซ็นต์แอนดรูว์
พร้อมกันนี้ ได้แทรกเนื้อหา รายละเอียด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเข้าไปด้วย ซึ่งได้จากตำรา เอกสารและข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตดังเอกสารประกอบการเรียบท้ายบทความชุดนี้ โดยเรียงเหตุการณ์ตามปีคริสต์ศักราชตามความนิยม
ชื่อของนักคณิตศาสตร์ และคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ผู้เรียบเรียงพยายามยึดตามศัพท์คณิตศาสตร์ ของราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 พ.ศ.2549 แต่มีบางคำที่ใช้ตามความนิยม แต่ได้ให้ชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย พร้อมทั้งคำอ่านตามหลักของภาษานั้นๆ ไว้บ้าง ส่วนปีที่นักคณิตศาสตร์เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ เทียบเคียงจากเอกสารและตำราหลายเล่ม เนื่องจากการอ้างปีที่มีชีวิตอยู่บางท่านในบางแหล่งไม่ตรงกัน ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารประกอบการเรียบเรียงท้ายบทความนี้เช่นกัน
เรื่องเหล่านั้นก็มีอยู่ว่า…(คลิกอ่านได้เลยครับผม)
- บทนำ
- เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์
- ยุคโบราณ กรีก และอียิปต์
- ยุคมืด และยุคอาหรับ
- ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
- ยุคใหม่ช่วงแรก
- ยุคใหม่ช่วงที่สอง
- เอกสารประกอบการเรียบเรียง
- เอกสารอ่านเพิ่มเติม
ยอดเยี่ยมครับ
^____^
ขอบคุณครับ
ครูอั๋น หรือแต่ก่อน เคยมีคนเรียกว่า น้องขนมปัง ใช่ป่าว
น่าจะไม่ใช่ครับ
สามก๊กวิทยามาโหวตให้ครับ (35)
ขอบคุณครับผม^___^
มีพัฒนาการของคณิตศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลายรึเปล่าคะ
ใช้คำว่ารัตนโกสินทร์ตอนปลาย…น่าจะไม่ควรนะครับ…เพราะนี่คือยุคปัจจุบัน พูดเหมือนมันสิ้นสุดยุคไปแล้วงั้นแหละ
มีงานวิจัยของ มศว เกี่ยวกับหลักสูตรคณิตศาสตร์ยุคปัจจุบัน แต่ทำไว้นานแล้วเล่มหนึ่งเล่าเกี่ยวกับพัฒนาการของคณิตศาสตร์ในประเทศไทย ผมจำชื่อเรื่องไม่ได้ จำได้แค่ว่าผู้วิจัยชื่อ สุวรรณา มุ่งเกษม ครับผม ลองหาอ่านดูนะครับ
ดีมากๆค่ะ ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ นะคะ ขอขคุณจริงๆ ^ ^
ยินดีครับผม
เยี่ยมคำเดียว
ขอบคุณครับผม ขอบคุณที่แวะมาชม ขอบคุณสำหรับคำชมด้วยครับ จะสู้ต่อไป
สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและประโยชน์สำหรับคณิตศาสตร์อีกแล้วเพื่อนเรา เอาใจช่วยนะ
ขอบใจเพื่อน ว่างๆ ก็หาเรื่องมาลงบ้างก็ได้นะ ยินดีมาก ช่วยๆ กัน