ดราม่าเรื่องนาฏศิลป์ไทย


1282695026

เรื่องความสำคัญของวิชานาฏศิลป์นั้น ผมอ่านจน (อ่านแบบวางไม่ลง) ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช ท่านเล่าเรื่องเมือสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า แล้วท่านป้าของท่าน คือ หม่อมเจ้าฉวีวรรณ ปราโมช พาคณะละครของเจ้าจอมมารดาอำภาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งท่านได้รับสืบทอดต่อมา หนีออกพระราชอาณาจักรไปประเทศกัมพูชา จนพระมารดาของท่านถูกจำสนม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เล่าไว้ว่า…
kurkrit1-tile
“เรื่องการละเม็งละครน้ัน จะถือว่าเป็นเล็กไม่ได้ในสมัยนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ แถวนี้ถือว่าโขนละครและหนังนั้นเป็นสมบัติที่ส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง และโขนละครและหนังใหญ่เมืองไทยนั้นถือว่าประเสริฐสุด ทุกประเทศอยากได้ไปไว้เป็นของต้น หรือเป็นแบบฉบับ เมื่อเจ้้าอนุวงศ์เวียงจันทน์บรรพบุรุษของผู้เขียนเรื่องนี้อีก่คนหนึ่งเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนต้นรัชกาลที่ 3 เพื่อช่วยงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เมื่อก่อนจะกลับได้เข้าไปกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถือโอกาสขอพระราชทานตัวละครในไปไว้ที่เวียงจันทน์เพื่อจะได้ฝึกหัดละครในที่เวียงจันทน์ต่อไป เนื่องด้วยเมืองเวียงจันทน์ในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราช ชะรอยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะทรงพระราชดำริว่าเจ้าอนุวงศ์ฯ อาจเอื้อมตีเสมอ ถึงกับจะมีละครในเป็นของตน จึงไม่โปรดเกล้้าฯ พระราชทานให้ เจ้าอนุฯ ก็โทมนัสน้อยใจและผูกใจเจ็บ เริ่มเอาใจออกห่าง และในที่สุดก็ถึงกับเป็นกบฏยกทัพมารุกรานพระราชอาณาจักรจนถึงเมืองนครราชสีมา เป็นเหตุให้ต้องปราบปรามกันเป็นการใหญ่
ที่เมืองเขมรนั้น ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับเวียงจันทน์คงจะไม่มีสิทธิ์ที่จะมีโขนหลวงและละครในเช่นเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กัมพูชานั้น ท่านจึงได้ออกไปจากกรุงเทพฯ แต่ลิเกซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สมัยนั้นและกำลังเป็น “ฮิต” เหมือนกับเพลงลูกทุ่งสมัยนี้ และได้ทรงส่งเสริมลิเกในเมืองเขมรเป็นการใหญ่ จนมีตำนานในเมืองเขมรว่าการละเล่นที่เรียกว่าลิเกนั้น สมเด็จพระนโรดมทรงเป็นผู้ตรัสรู้คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และทรงสั่งสอนคนอื่นต่อมา ลิเกเมืองเขมรนั้นร้องเพลงราดนิเกริงไม่เป็น เพราะเพลงราดนิเกริงเป็นเพลงที่พระเอกลิเกไทยชื่อนายดอกดินแกคิดขึ้น และนายดอกดินแกเป็นคนรุ่นหลังสมเด็จพระนโรดม
เมื่อท่านป้าฉวีวาดเอาละครเจ้าจอมมารดาอำเภอ ซึ่งเล่นแบบละครในไปด้วยทั้งโรงเช่นนี้ สมเด็จพระนโรดมย่อมจะต้องเห็นว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่ต้องการมนานแล้ว สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนปัจจุบัน…”— หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โครงกระดูกในตู้
Advertisement

ประกาศรายชื่อนักเรียนที่เข้าสอบแข่งขันทักษะคณิตศาสตร์ ประจำปี 2556


426863_405980996105894_1836656919_nตามที่กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
ได้จัดโครงการทดสอบแข่งขันทักษะคณิตศาสตร์
ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกำหนดการรับสมัครตั้งแต่
วันที่ 1 – 15 กรกฎาคม 2556 นั้น

บัดนี้สิ้นสุดการรับสมัครแล้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ ห้องสอบ และเลขที่นั่งสอบดังนี้

<<<ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบแข่งขัน>>>

อนี่ง สำหรับวันสอบ คือ
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556
ณ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร

  • ระดับประถมศึกษา เวลา  09.00 – 11.00 น.

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 12.00 – 14.00 น.

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลา 12.00 – 14.00 น.

2012 in review


The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2012 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

About 55,000 tourists visit Liechtenstein every year. This blog was viewed about 440,000 times in 2012. If it were Liechtenstein, it would take about 8 years for that many people to see it. Your blog had more visits than a small country in Europe!

Click here to see the complete report.

หัวข้อสัมมนาคณิตศาสตร์


ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาถามหัวข้อการสัมมนาคณิตศาสตร์กันมาก บางคนก็มีหัวข้อมาให้แล้วถามว่าจะศึกษาประเด็นไหนได้บ้าง บางคนก็มาแบบลอยๆ ไม่มีอะไรมาเลย

จริงๆ แล้วตัวเองต้องออกตัวก่อนว่า ตอนเรียน ป.ตรี ไม่ได้เรียนวิชาสัมมนา แต่มาเรียนตอน ป.โท อาจารย์สั่งว่าการสัมมนาก็คือการเลือกศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่งแล้วนำเสนอเพื่ออภิปรายโต้แย้ง

ถ้าความหมายแบบ ป.ตรี ก็คือ แบบนี้ ก็น่าจะไม่ยากอะไร (หรอ???) ผมคิดว่าก็ควรมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ
  2. กำหนดขอเขตในการศึกษา
  3. ศึกษา/ค้นคว้า/รวบรวมข้อมูล
  4. เขียนร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษา
  5. แก้ไข้
  6. นำเสนอ/อภิปราย

ก็น่าจะเท่่านี้…

คำถาม คือ ขอบเขตการสัมมนา อาจารย์กำหนดแค่ไหน…ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่ง หรือต้องทำขนาดวิจัย หรือถ้าเกี่ยวกับการสร้างสื่อต้องสร้้างด้วยไหม ขอบเขตการสัมมนากำหนดไว้อย่างไร หรือ อาจารย์สั่งแค่ไปหาเรื่องมาสัมมนา…จบ…

ดังนั้น ถ้าจะถามหัวข้อในการสัมมนา ก็อยากจะแนะนำ น่าจะเลือกจากประเด็นที่เคยเรียนผ่านมา หรือจากสิ่งที่จะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น

  • การเขียนกราฟภาคตัดกรวยด้วย GSP
  • การนำ Excel มาใช้ในการเรียนการสอนความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล
  • ใช้ Excel ในการตรวจสอบคำตอบของสมการกำลังสอง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนจริง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนเชิงซ้อน
  • การพิสูจน์ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้รูปเรขาคณิต
  • สัจพจน์ข้อที่ ๕ ของยุคลิด
  • ฟังก์ชันชนิดต่างๆ การประยุกต์คณิตศาสตร์เรื่องต่างๆ เช่น การประยุกต์ของเมทริกซ์,
  • สูตรการสร้างเลขประจำตัวประชาชน
  • การคำนวณค่าพาย (เช่น Ice Cream Cone Proof)
  • ที่มาของสูตรและการพิสูจน์สูตรที่น่าสนใจ เช่น สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม
  • สามเหลี่ยมของปาสกาล
  • ลำดับชนิดต่างๆ เช่น ฟีโบนักชี
  • จำนวนเฉพาะ (เช่น จำนวนเฉพาะเมอร์แซน)

เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาของคณิตศาสตร์

คิดออกเท่านี้ครับผม ^^
ครอั๋น
12 พฤศจิกา’55
กวดวิชา Get Smart

Thailand Blog Awards 2012


หลังจากส่งเข้าร่วมกิจกรรม Thailand Blog Awards 2012 ทั้งขอคะแนน ปั่นกระแสโหวตกัน มีร่วมเดือน จนผมเอง…ในฐานะที่ส่งเข้าร่วมประกวดด้วยในสาขาการศึกษา (Education) สาขาวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์ (Science Blog) โดยที่ตัวเองแอบหวังเล็กๆ ในสาขาการศึกษา แม้ว่าบล็อกเกอร์ไทยหลายๆ คนก็จะส่งสาขานี้กันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนครูร่วมวิชาชีพ ซึ่งบางท่านก็คุ้นเคยกันดี

วันนี้…ประกาศผลกันอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรางวัล Popular Vote และ 3 ผู้เข้าชิง (Nominees) ในแต่ละสาขา

โดยในสาขาการศึกษานั้น ผมไม่ติด 1 ใน 10 ของ Popular Vote (เหอๆๆๆ ก็เป็นไปตามคาด) ที่แต่คาดไม่ถึง (เข็มขัดสั้นมาก) คือ สาขาวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมไม่ได้หวังเลย ไม่คิดถึงมันด้วยซ้ำ วันนี้ประกาศผมออกมาเป็น 1 ใน 3 ของผู้เข้าชิง (3 Nominees)

โอ๊ยยยยย…ใจเต้นไม่เป็นส่ำ ตอนที่เห็นที่หน้ากระดานเฟซบุค เมื่อครูอ๋อ วิมลรัตน์ มาโพส Thailand Blog Awards 2012

เฮ้ย…เรามีเอี่ยว หรือว่า ครูอ๋อได้รางวัลนะ…คลิกปั๊บ เน็ตหลุดปุ๊บ และคอมพิวเตอร์เจ้ากรรมแฮงค์ทันที ต้องรอรีสตาร์ทใหม่

อ้าววววว…สาขาการศึกษาไม่มีชื่อเราดังคาด…แสดงว่าครูอ๋อต้องได้แน่เลย…เลยอ่านไปเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาคือความเจริญงอกงาม


ซ้าย: ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
ขวา: ตราวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ด้านล่างจะมีภาษาบาลี “สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” หมายถึง การศึกษาคือความเจริญงอกงาม

ตราของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ผมเป็นผู้คิด ตอนนั้นเราเป็นสถานศึกษาใหม่ๆ สีก็ไม่มี ตราก็ไม่มี บังเอิญเมื่อตอนเรียนปริญญาตรี ผมได้เรียนคณิตศาสตร์ จึงรู้ว่ามีเส้นกราฟอยู่เส้นหนึ่งสมการของมันก็คือ ‘y เท่ากับ e ยกกำลัง x’ เวลาพล็อตกราฟแล้วเส้นกราฟจะขึ้นเรื่อยไม่ มีวันลง ประดุจจรวดขึ้นไปในอวกาศ ถ้าจะนิยามคำว่า การศึกษาละก็อาจจะทำได้สองอย่าง คือ การศึกษาชนิดที่เป็นภาวะอย่างหนึ่ง และการศึกษาชนิดที่เป็นการกระทำอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นการศึกษาที่เป็นภาวะแล้ว ก็อาจพูดได้ว่า การศึกษา คือ การงอกงาม งอกงามไปเรื่อยๆ ไม่มีวันรู้จักจบสิ้น แต่ถ้าเป็นทางการกระทำ ก็แปลว่า การที่เราจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อว่าผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกัน

ศ.ดร.สาโรช บัวศรี
ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร
และอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาท่านแรก
ซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อ่านประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช  บัวศรี คลิกครับผม

ช่วยโหวตให้ด้วยนะครับ


ขอบความกรุณาจากทุกๆ ท่านที่ผ่านเข้ามาเล่นในบล็อกเล็กๆ ของผมนะครับ

ผมได้สมัครเข้าร่วมโครงการ Thailand Blog Awards 2012 ครับ และส่วนหนึ่งของการตัดสินคัดเลือกต้องมาจากคะแนนโหวตของทุกท่านครับผม ดังนั้นผมเลยอยากขอความกรุณาจากท่านช่วยโหวตให้ผมหน่อยครับ ไม่อยากครับ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ครับ

  1. Online FaceBook เอาไว้นะครับ
  2. คลิกตามลิงก์นี้ http://www.thailandblogawards.com/blogs/show/1279
  3. ด้านซ้ายบนจะมีคำว่า “ร่วมส่งประกวด” (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
    ด้านล่างจะมีปุ่ม คลิกหนึ่งครั้ง
    เมื่อขึ้นชื่อ FB ของท่าน ให้กด Refresh 1 ครั้งครับ
  4. คลิกปุ่ม ครับผม

โหวตได้วันละ 1 ครั้ง ถ้าเข้าโหวตได้ทุกวันจักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับผม
ครูอั๋น

 

วันแห่งความสำเร็จของนักเรียน


และแล้ววันที่เรือจ้างอย่างผมส่งผู้สารถึงฝั่งก็มาถึง เมื่อนักเรียนที่รักเหล่านั้นจบ ม.๓ และ ม.๖ ด้วยความปลอดภัย (บ้างไม่ปลอดภัยบ้าง)

ด้วยแนวคิดที่ได้จากสำโรงทาบวิทยาคม จึงขอเสนอให้มีการจัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔

ไปดูรูปกันครับ

ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

เพื่อนักเรียนที่รัก

นักเรียน ม.๓

พิธีกรของงานนี้ครับผม

กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการให้กำลังใจกับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา และสร้างความภูมิใจให้กับโรงเรียน อีกทั้งให้นักเรียนความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ปีหน้า…รูปแบบกิจกรรมจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามครับผม

ครูอั๋น (ทำหน้าที่นายทะเบียน)

29 กุมภาพันธ์


ปีนี้ในเดือนกุมภาพันธ์นอกจากจะมีวันพาลินโดรม (คืออะไรคลิกไปอ่านกัน) แล้ว

ยังเป็นปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์ 29 วันด้วย เป็นปีอธิกสุรทิน

แล้วคุณรู้จัก “วันที่ 29 กุมภาพันธ์” ที่มา 4 ปีครั้งดีแค่ไหน

หาคำตอบได้ใน…ปีที่มี 366 วันกันครับ

OBEC Web Media 2554


หลังจากตัดสินใจส่งบล็อกนี้เข้าร่วมพิจารณาคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีสื่อการสอนรูปแบบอิเล็กทรอนิสก์ออนไลน์ ประจำปี ๒๕๕๔ ตั้งแต่ช่วงกลางปีการศึกษา ๒๕๕๔ และรอคอยผลการตัดสินอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเห็นภาพการทำงานของคณะกรรมการว่ากำลังตัดสินอยู่ ก็ยิ่งลุ้นหนักมากขึ้น

ความหวังในการส่งครั้งนี้ คือ ขอผ่านเกณฑ์การประเมิน จะได้มีกำลังใจในการพัฒนางานต่อ

แต่ผลที่ประกาศมาวันนี้เกินคาดครับ คือ ได้เป็น ๑ ใน ๑๘ เว็บไซต์ที่ได้รับรางวัล เป็น ๑ ใน ๑๐ ของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ร่วมกับเพื่อนพี่น้องครูจากทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม