ตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงคือตำแหน่งอะไร มีความเฉพาะเจาะจงอย่างไร และเจ้านายฝ่ายในที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ต้องเป็นอย่างไร ทางนี้มีคำตอบครับ (ขออนุญาตให้คำสามัญ)
หมวดหมู่: พระมหากษัตริย์
ดราม่าเรื่องนาฏศิลป์ไทย
เรื่องความสำคัญของวิชานาฏศิลป์นั้น ผมอ่านจน (อ่านแบบวางไม่ลง) ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเล่าเรื่องเมือสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า แล้วท่านป้าของท่าน คือ หม่อมเจ้าฉวีวรรณ ปราโมช พาคณะละครของเจ้าจอมมารดาอำภาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งท่านได้รับสืบทอดต่อมา หนีออกพระราชอาณาจักรไปประเทศกัมพูชา จนพระมารดาของท่านถูกจำสนม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เล่าไว้ว่า…
“เรื่องการละเม็งละครน้ัน จะถือว่าเป็นเล็กไม่ได้ในสมัยนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ แถวนี้ถือว่าโขนละครและหนังนั้นเป็นสมบัติที่ส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง และโขนละครและหนังใหญ่เมืองไทยนั้นถือว่าประเสริฐสุด ทุกประเทศอยากได้ไปไว้เป็นของต้น หรือเป็นแบบฉบับ เมื่อเจ้้าอนุวงศ์เวียงจันทน์บรรพบุรุษของผู้เขียนเรื่องนี้อีก่คนหนึ่งเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนต้นรัชกาลที่ 3 เพื่อช่วยงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เมื่อก่อนจะกลับได้เข้าไปกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถือโอกาสขอพระราชทานตัวละครในไปไว้ที่เวียงจันทน์เพื่อจะได้ฝึกหัดละครในที่เวียงจันทน์ต่อไป เนื่องด้วยเมืองเวียงจันทน์ในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราช ชะรอยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะทรงพระราชดำริว่าเจ้าอนุวงศ์ฯ อาจเอื้อมตีเสมอ ถึงกับจะมีละครในเป็นของตน จึงไม่โปรดเกล้้าฯ พระราชทานให้ เจ้าอนุฯ ก็โทมนัสน้อยใจและผูกใจเจ็บ เริ่มเอาใจออกห่าง และในที่สุดก็ถึงกับเป็นกบฏยกทัพมารุกรานพระราชอาณาจักรจนถึงเมืองนครราชสีมา เป็นเหตุให้ต้องปราบปรามกันเป็นการใหญ่
ที่เมืองเขมรนั้น ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับเวียงจันทน์คงจะไม่มีสิทธิ์ที่จะมีโขนหลวงและละครในเช่นเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กัมพูชานั้น ท่านจึงได้ออกไปจากกรุงเทพฯ แต่ลิเกซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สมัยนั้นและกำลังเป็น “ฮิต” เหมือนกับเพลงลูกทุ่งสมัยนี้ และได้ทรงส่งเสริมลิเกในเมืองเขมรเป็นการใหญ่ จนมีตำนานในเมืองเขมรว่าการละเล่นที่เรียกว่าลิเกนั้น สมเด็จพระนโรดมทรงเป็นผู้ตรัสรู้คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และทรงสั่งสอนคนอื่นต่อมา ลิเกเมืองเขมรนั้นร้องเพลงราดนิเกริงไม่เป็น เพราะเพลงราดนิเกริงเป็นเพลงที่พระเอกลิเกไทยชื่อนายดอกดินแกคิดขึ้น และนายดอกดินแกเป็นคนรุ่นหลังสมเด็จพระนโรดม
เมื่อท่านป้าฉวีวาดเอาละครเจ้าจอมมารดาอำเภอ ซึ่งเล่นแบบละครในไปด้วยทั้งโรงเช่นนี้ สมเด็จพระนโรดมย่อมจะต้องเห็นว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่ต้องการมนานแล้ว สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนปัจจุบัน…”— หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โครงกระดูกในตู้
วันมหิดล

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันทิวงคต ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย (ประสูติ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 – ทิวงคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472)
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น “วันมหิดล” ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ไปทรงวางพวงมาลา ณ พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร โดยได้เสด็จฯ ทรงเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493
องค์กุลเชษฐ์
วันนี้เข้าไปดูสถิติคำค้นของบล็อก คิดอยู่แล้วว่าคนต้องค้นเกี่ยวกับสมเด็จระเจ้าภคนีเธอเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เลยเจอบล็อกผมเยอะเป็นพิเศษ และอีกคำหนึ่งที่ฮิตมากคือคำว่า กุลเชษฐ์ ที่ถูกกล่าวถึงในการนำเสนอพระประวัติ
เคยเขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับองค์กุลเชษฐ์ไว้ แต่ว่ามันไม่สมบูรณ์ ค้างอยู่ แต่ดูแล้วเนื้อหาก็ไม่ได้มีอะไรมาก ดังนั้น จึงอยากนำเสนอ และขอความร่วมมือจากผู้อ่านที่ทราบ ช่วยเติมเต็มให้สมบูรณ์ด้วยนะครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน
กุลเชษฐ์ คือ เจ้านายหรือพระบรมวงศ์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดในขณะนั้น โดยในรัชกาลปัจจุบัน องค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (เท่าที่ข้าพเจ้าจะพอลำดับได้ อาจจะไม่ครบและยังไม่ถูกต้องนัก ขอความกรุณาช่วยสอบด้วย เพราะยังไม่มีเวลาค้นคว้าเพิ่มเติม) ได้แก่
2554 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สิ้นแล้วองค์กุลเชษฐ์แห่งพระราชจักรีวงศ์

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
คลิกอ่านเรื่องกุลเชษฐ์ จากบล็อกครูอั๋น
สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้สิ้นพระชนม์แล้วเมื่อเวลา 16.27 น. วันที่ 27 ก.ค. ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมพระชันษา 85 ปี…
เมื่อ วันที่ 27 ก.ค. สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2554 แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 16.37 น. วันที่ 27 ก.ค. รวมพระชันษา 85 ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป
อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้า ถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13.00-16.00 น. ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ค. 2554
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พ.ย. 2468 เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ
ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ และคำนำหน้าพระนามนี้ยังใช้จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นพระกุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในปัจจุบัน
จาก ไทยรัฐออนไลน์ http://www.thairath.co.th/content/misc/189577