สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง


ตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงคือตำแหน่งอะไร มีความเฉพาะเจาะจงอย่างไร และเจ้านายฝ่ายในที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ต้องเป็นอย่างไร ทางนี้มีคำตอบครับ (ขออนุญาตให้คำสามัญ)

via สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

Advertisement

ดราม่าเรื่องนาฏศิลป์ไทย


1282695026

เรื่องความสำคัญของวิชานาฏศิลป์นั้น ผมอ่านจน (อ่านแบบวางไม่ลง) ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช ท่านเล่าเรื่องเมือสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า แล้วท่านป้าของท่าน คือ หม่อมเจ้าฉวีวรรณ ปราโมช พาคณะละครของเจ้าจอมมารดาอำภาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งท่านได้รับสืบทอดต่อมา หนีออกพระราชอาณาจักรไปประเทศกัมพูชา จนพระมารดาของท่านถูกจำสนม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เล่าไว้ว่า…
kurkrit1-tile
“เรื่องการละเม็งละครน้ัน จะถือว่าเป็นเล็กไม่ได้ในสมัยนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ แถวนี้ถือว่าโขนละครและหนังนั้นเป็นสมบัติที่ส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง และโขนละครและหนังใหญ่เมืองไทยนั้นถือว่าประเสริฐสุด ทุกประเทศอยากได้ไปไว้เป็นของต้น หรือเป็นแบบฉบับ เมื่อเจ้้าอนุวงศ์เวียงจันทน์บรรพบุรุษของผู้เขียนเรื่องนี้อีก่คนหนึ่งเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนต้นรัชกาลที่ 3 เพื่อช่วยงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เมื่อก่อนจะกลับได้เข้าไปกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถือโอกาสขอพระราชทานตัวละครในไปไว้ที่เวียงจันทน์เพื่อจะได้ฝึกหัดละครในที่เวียงจันทน์ต่อไป เนื่องด้วยเมืองเวียงจันทน์ในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราช ชะรอยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะทรงพระราชดำริว่าเจ้าอนุวงศ์ฯ อาจเอื้อมตีเสมอ ถึงกับจะมีละครในเป็นของตน จึงไม่โปรดเกล้้าฯ พระราชทานให้ เจ้าอนุฯ ก็โทมนัสน้อยใจและผูกใจเจ็บ เริ่มเอาใจออกห่าง และในที่สุดก็ถึงกับเป็นกบฏยกทัพมารุกรานพระราชอาณาจักรจนถึงเมืองนครราชสีมา เป็นเหตุให้ต้องปราบปรามกันเป็นการใหญ่
ที่เมืองเขมรนั้น ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับเวียงจันทน์คงจะไม่มีสิทธิ์ที่จะมีโขนหลวงและละครในเช่นเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กัมพูชานั้น ท่านจึงได้ออกไปจากกรุงเทพฯ แต่ลิเกซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สมัยนั้นและกำลังเป็น “ฮิต” เหมือนกับเพลงลูกทุ่งสมัยนี้ และได้ทรงส่งเสริมลิเกในเมืองเขมรเป็นการใหญ่ จนมีตำนานในเมืองเขมรว่าการละเล่นที่เรียกว่าลิเกนั้น สมเด็จพระนโรดมทรงเป็นผู้ตรัสรู้คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และทรงสั่งสอนคนอื่นต่อมา ลิเกเมืองเขมรนั้นร้องเพลงราดนิเกริงไม่เป็น เพราะเพลงราดนิเกริงเป็นเพลงที่พระเอกลิเกไทยชื่อนายดอกดินแกคิดขึ้น และนายดอกดินแกเป็นคนรุ่นหลังสมเด็จพระนโรดม
เมื่อท่านป้าฉวีวาดเอาละครเจ้าจอมมารดาอำเภอ ซึ่งเล่นแบบละครในไปด้วยทั้งโรงเช่นนี้ สมเด็จพระนโรดมย่อมจะต้องเห็นว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่ต้องการมนานแล้ว สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนปัจจุบัน…”— หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โครงกระดูกในตู้

สามนักคณิตศาสตร์ในตำนาน


ถ้าถามนักเรียนมัธยม…ว่า “นักเรียนรู้จักนักคณิตศาสตร์ท่านใดบ้าง???” คำตอบที่ครูมักจะได้ยินเสมอๆ คือ

  • ปีทาโกรัส (ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส)
  • ออยเลอร์ (แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์…แล้วทำไมไม่บอกว่ารู้จักเวนน์ด้วยล่ะ???)
  • เอราโตสเตเนส (ตะแกรงของเอราโตสเตเนส…เอาไว้ร่อนจำนวนเฉพาะ)
  • ยุคลิด (ขั้นตอนวิธีของยูคลิด)

ประมาณนี้ครับที่ติดโผมา…

แต่ยังมีนักคณิตศาสตร์หลายท่านที่มีผลงานสำคัญๆ ตลอดหลายพันปีแห่งพัฒนาการของคณิตศาสตร์ และ “นักคณิตศาสตร์สามท่าน” ในจำนวนหลายร้อยท่านนั้น ได้รับการยกย่องให้เป็น

สามนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกตลอดกาล

นั่นก็คือท่านทั้งสามในภาพ

(แม้ว่าปัจจุบันข้อมูลบางแห่งจะกล่าวว่าเป็น 4 ท่าน รวมออยเลอร์ไปด้วย แต่ผมยังถือว่าเป็น 3 ตามหนังสือที่เคยอ่านครับ)

คลิกอ่านประวัติและผลงานของท่านทั้งสามได้ตามลิงค์ด้านล่างครับผม

วันเยาวชนแห่่งชาติ


(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ขวา) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สองยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

วันเยาวชนแห่งชาติ เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยเมื่อสหประชาชาติกำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสองพระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในฐานะยุวกษัตริย์ คือ

ขอบคุณที่มาดีๆ จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วันเยาวชนแห่งชาติ

ทำไมต้อง 42.195


เอาล่ะ…วันนี้ผมจะเกาะกระแสหนัง “รัก 7 ปี ดี 7 หน” ดังครับ

ตัวอย่างหนัง “รัก 7 ปี ดี 7 หน

หนังเรื่องนี้มีคณิตศาสตร์ (ตัวเลข) ที่น่าสนใจปรากฎในหนังด้วย นั่นก็คือ… 42.195

พึ่งไปดูมา (และชอบ) ตอนที่ 3 ของเรื่องนี้คือตอน 42.195 หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ทำไมต้อง 42.195” คนที่พบจะทราบว่าตอนนี้ 3 นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอนก็จะตอบว่า “ก็เป็นระยะทางที่เขาใช้ในการวิ่งมาราธอนไงล่ะ” แล้วมีใครถาม/สงสัยต่อไปอีกหรือไม่ว่า ทำไมต้องใช้ 42.195 ทำไมต้องมีเศษ 42 กม. เลยไม่ได้หรอ เป๊ะๆ จะมีเศษ 195 เมตร มาทำ (ซาก) อะไร

เบื้องหลังการถ่ายทำตอนที่ 3 “42.195”

เอาล่ะครับ…ผมจะเล่าให้ฟังแบบย่อๆ

ย้อนไปอาณาจักรโรมันอันรุ่งเรืองและเกรียงไกร แต่ก็ต้องรบราฆ่าฟันทำสงครามกับคู่รักคู่แค้นกับเปอร์เซียตลอดเวลา ในการรบครั้งหนึ่ง เมื่อ 499 ปี ก่อนคริสต์กาล โรมันรบกับเปอร์เซียที่เมืองสปาร์ต้า ในครั้งนี้โรมันมีชนะเหนื่อเปอร์เซียคู่ปรับตลอดกาล ทหารนายหนึ่งชื่อ ” ฟิดิปปิเดซ ” (Pheidippides) ถูกใช้ให้กลับไปรายงานเจ้าเมืองเอเธนส์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะม้าศึกตายหมดหรือจะอย่างไรก็ไม่ทราบ พ่อคุณฟิดิปปิเดซรายนี้ต้องวิ่งจากเมืองที่ทำศึกข้ามทุ่ง “มาราธอน” (บางแห่งระบุว่าวิ่งจากเมืองมาราธอน) ตามประวัติเขียนไว้ว่าใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อฟิดิปปิเดซวิ่งเข้าประตูเมือง เขาตะโกนว่า “Victory” (เราชนะแล้ว) พอสิ้นเสียงเขาก็ขาดใจตายอยู่ ณ ตรงนั้น นี่เป็นตำนานเล่าขานกันมา เมื่อมีการจัดแข่งขันวิ่งทนระยะยาวขึ้นเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิคเขาจึงตั้งชื่อว่า “มาราธอน”

มาราธอน หมายถึง ระยะ 26 ไมล์ 385 หลา แต่ทางแถบเอเซียนิยมใช้เป็น 42.195 กม. นั่นเอง

(แต่ตำนานบอกเล่าเหล่านี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่ซึ่งขัดแย้งกับการบันทึกของเฮโรโดตุส เป็นส่วนใหญ่)

อ่านตำนานแบบเต็มๆ ได้จาก http://wlanru.blogspot.com/search?updated-max=2012-08-03T14:22:00%2B07:00&max-results=7

และนี่เองคือเหตุผลว่า

ทำไมเขาถึงต้องใช้ 42.195 เป็นระยะทางในการวิ่งมาราธอน

42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195

ขอบคุณที่มาดีๆ:

คลิปวีดีโอจาก http://www.youtube.com

ภาพจาก

อาร์คิมิดีส (อีกครั้ง)


อาร์คิมิดีส (กรีก: Αρχιμήδης; อังกฤษ: Archimedes; 287-212 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองซีราคิวส์ ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก แม้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาน้อยมาก แต่เขาก็ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในสมัยคลาสสิก ความก้าวหน้าในงานด้านฟิสิกส์ของเขาเป็นรากฐานให้แก่วิชาสถิตยศาสตร์ของไหล, สถิตยศาสตร์ และการอธิบายหลักการเกี่ยวกับคาน เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องจักรกลหลายชิ้น ซึ่งรวมไปถึงปั๊มเกลียว (screw pump) ซึ่งได้ตั้งชื่อตามชื่อของเขาด้วย ผลการทดลองในยุคใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า เครื่องจักรที่อาร์คิมิดีสออกแบบนั้นสามารถยกเรือขึ้นจากน้ำหรือสามารถจุดไฟเผาเรือได้โดยอาศัยแถบกระจกจำนวนมาก

อาร์คิมิดีสได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เช่นเดียวกับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์ เขาใช้ระเบียบวิธีเกษียณ (Method of Exhaustion) ในการคำนวณพื้นที่ใต้เส้นโค้งพาราโบลาด้วยการหาผลรวมของชุดอนุกรมอนันต์ และได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงที่สุดของค่าพาย เขายังกำหนดนิยามแก่วงก้นหอยของอาร์คิมิดีส ซึ่งได้ชื่อตามชื่อของเขา, คิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากพื้นผิวที่ได้จากการหมุน และคิดค้นระบบสำหรับใช้บ่งบอกถึงตัวเลขจำนวนใหญ่มากๆ

อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในระหว่างการล้อมซีราคิวส์ (ราว 214-212 ปีก่อนคริสตกาล) โดยถูกทหารโรมันคนหนึ่งสังหาร ทั้งๆ ที่มีคำสั่งมาว่าห้ามทำอันตรายแก่อาร์คิมิดีส ซิเซโรบรรยายถึงการเยี่ยมหลุมศพของอาร์คิมิดีสซึ่งมีลูกทรงกลมจารึกอยู่ภายในแท่งทรงกระบอกเหนือหลุมศพ เนื่องจากอาร์คิมิดีสเป็นผู้พิสูจน์ว่า ทรงกลมมีปริมาตรและพื้นที่ผิวเป็น 2 ใน 3 ส่วนของทรงกระบอกที่บรรจุทรงกลมนั้นพอดี (รวมพื้นที่ของฐานทรงกระบอกทั้งสองข้าง) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในทางคณิตศาสตร์

ขณะที่ผลงานประดิษฐ์ของอาร์คิมิดีสเป็นที่รู้จักกันดี แต่งานเขียนทางด้านคณิตศาสตร์กลับไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก นักคณิตศาสตร์จากอเล็กซานเดรียได้อ่านงานเขียนของเขาและนำไปอ้างอิง ทว่ามีการรวบรวมผลงานอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 530 โดย ไอซิดอร์ แห่งมิเลตุส (Isidore of Miletus) ส่วนงานวิจารณ์งานเขียนของอาร์คิมิดีสซึ่งเขียนขึ้นโดย ยูโตเซียส แห่งอัสคาลอน (Eutocius of Ascalon) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วยเปิดเผยผลงานของเขาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสหลงเหลือรอดผ่านยุคกลางมาได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคเรอเนสซองส์ ปี ค.ศ. 1906 มีการค้นพบต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ใน จารึกของอาร์คิมิดีส (Archimedes Palimpsest) ทำให้เราเห็นมุมมองใหม่ในกลวิธีที่เขาใช้ค้นหาผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์

อ่้านต่อคลิกครับ…

วันมหิดล


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันทิวงคต ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย (ประสูติ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 – ทิวงคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472)

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น “วันมหิดล” ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ไปทรงวางพวงมาลา ณ พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร โดยได้เสด็จฯ ทรงเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493

คลิกอ่านพระราชประวัติ ที่นี้ครับ 

องค์กุลเชษฐ์


วันนี้เข้าไปดูสถิติคำค้นของบล็อก คิดอยู่แล้วว่าคนต้องค้นเกี่ยวกับสมเด็จระเจ้าภคนีเธอเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เลยเจอบล็อกผมเยอะเป็นพิเศษ และอีกคำหนึ่งที่ฮิตมากคือคำว่า กุลเชษฐ์ ที่ถูกกล่าวถึงในการนำเสนอพระประวัติ

เคยเขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับองค์กุลเชษฐ์ไว้ แต่ว่ามันไม่สมบูรณ์ ค้างอยู่ แต่ดูแล้วเนื้อหาก็ไม่ได้มีอะไรมาก ดังนั้น จึงอยากนำเสนอ และขอความร่วมมือจากผู้อ่านที่ทราบ ช่วยเติมเต็มให้สมบูรณ์ด้วยนะครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน

กุลเชษฐ์ คือ เจ้านายหรือพระบรมวงศ์ที่ทรงพระชนมายุมากที่สุดในขณะนั้น โดยในรัชกาลปัจจุบัน องค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (เท่าที่ข้าพเจ้าจะพอลำดับได้ อาจจะไม่ครบและยังไม่ถูกต้องนัก ขอความกรุณาช่วยสอบด้วย เพราะยังไม่มีเวลาค้นคว้าเพิ่มเติม) ได้แก่

2554 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อ่านเพิ่มเติม

พัฒนาการของคณิตศาสตร์


บทความ (ขนาดค่อนข้างยาวนี้) เป็ส่วนหนึ่งของงานที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ตั้งแต่ครั้งศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีจุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อเผยแพร่ประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์ให้เป็นที่รับรู้ของนักเรียน และบุคคลโดยทั่วไป

แบ่งออกเป็นตอนๆ สามารถอ่านได้เรื่อยๆ เมื่อทำเสร็จแล้วว่าจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักหน่อยครับ

“เหตุการณ์สำคัญในประวัติและพัฒนาการของคณิตศาสตร์”
(Milestone in the History of Mathematics)

เชิญคลิกไปอ่านได้นะครับ

ครูอั๋น

ปลายทางที่ ∞


ปกหนังสือปลายทางที่อินฟินิตี้ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

รู้จักหนังสือเล่มนี้จากนิตยสารอับเดทฉบับที่ว่าด้วยคณิตศาสตร์…ศาสตร์ที่ใครหลายๆคนไม่ใคร่จะชอบนัก
เขาแนะนำว่าเป็นนิยายคณิตศาสตร์ แปลกใหม่ เลยซื้อมาอ่านดู หนังสือพิมพ์หลายปีก่อน เห็นว่าพิมพ์ครั้งที่ 2 แล้ว
ปีที่แล้ว อ่านแล้วก็รู้สึกชอบดี
แต่โดยคุณพิพัฒน์  พสุธารชาติ
เนื้อเรื่องย่อๆ ของปลายทางที่ ∞
อ.สัจจา สอนคณิตศาสตร์
อยู่ที่คณะคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สอนวิชาประวัติของคณิตศาสตร์
(ซึ่งเป็นวิชาทีผมชอบมาก เป็นการเอาสองวิชาที่ผมชอบมรวมกัน คือ ประวัติศาสตร์
กับคณิตศาสตร์—ไว้ผมจะเล่าให้ฟัง) แล้วก็มีแนวคิดเกี่ยวกับการทำวิจัย
ซึ่งต้องอาศัยศาสตร์อื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งมีการเล่าเรื่องผ่าน อ.สัจจา
ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ผู้อ่านจะได้อ่านจะได้ทำความเข้าใจกับศาสตร์นั้นๆเป็นเบื้องต้นด้วย
ผมเองได้มีโอกาสคุยกับผู้เขียน
คือ คุณพิพัฒน์ ด้วย ตอนนั้นคุณพิพัฒน์ว่าไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่
แต่เห็นผมเป็นคนคณิตศาสตร์อ่านด้วย
เขาก็ดีใจ…
หนังสืออาจจะอ่านเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับคนที่ไม่มีพื้นความรู้ในศาสตร์ต่างๆ
ที่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้เขียนก็ได้อธิบายเป็นพื้นฐานแล้ว
สามารถเข้าใจได้

ลองหามาอ่านดูนะครับ…
แล้วผมจะเมาเล่าเรื่องอื่นๆ
ให้ฟังอีก

ครูอั๋น