เลขประจำตัวประชาชน


idcard01ก้มลงมองบัตรประจำตัวประชน จะเห็นมีตัวเลขชุดหนึ่งมี 13 หลัก ที่เรียกว่า “เลขประจำตัวประชาชน” คือ เลขประจำตัวของเรานั่นเอง เราจะมีเลขชุดนี้คนละชุด ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุความเป็นคนไทยของเรา

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคุณประโยชน์ของคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้าง “รหัส” ที่เราใช้อยู่โดยไม่รู้ตัว

 

<<<อ่านทั้งหมดต่อได้แค่คลิก>>>

Advertisement

Thailand Blog Awards 2012


หลังจากส่งเข้าร่วมกิจกรรม Thailand Blog Awards 2012 ทั้งขอคะแนน ปั่นกระแสโหวตกัน มีร่วมเดือน จนผมเอง…ในฐานะที่ส่งเข้าร่วมประกวดด้วยในสาขาการศึกษา (Education) สาขาวิทยาศาสตร์/ดาราศาสตร์ (Science Blog) โดยที่ตัวเองแอบหวังเล็กๆ ในสาขาการศึกษา แม้ว่าบล็อกเกอร์ไทยหลายๆ คนก็จะส่งสาขานี้กันมากมาย ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนครูร่วมวิชาชีพ ซึ่งบางท่านก็คุ้นเคยกันดี

วันนี้…ประกาศผลกันอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับรางวัล Popular Vote และ 3 ผู้เข้าชิง (Nominees) ในแต่ละสาขา

โดยในสาขาการศึกษานั้น ผมไม่ติด 1 ใน 10 ของ Popular Vote (เหอๆๆๆ ก็เป็นไปตามคาด) ที่แต่คาดไม่ถึง (เข็มขัดสั้นมาก) คือ สาขาวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมไม่ได้หวังเลย ไม่คิดถึงมันด้วยซ้ำ วันนี้ประกาศผมออกมาเป็น 1 ใน 3 ของผู้เข้าชิง (3 Nominees)

โอ๊ยยยยย…ใจเต้นไม่เป็นส่ำ ตอนที่เห็นที่หน้ากระดานเฟซบุค เมื่อครูอ๋อ วิมลรัตน์ มาโพส Thailand Blog Awards 2012

เฮ้ย…เรามีเอี่ยว หรือว่า ครูอ๋อได้รางวัลนะ…คลิกปั๊บ เน็ตหลุดปุ๊บ และคอมพิวเตอร์เจ้ากรรมแฮงค์ทันที ต้องรอรีสตาร์ทใหม่

อ้าววววว…สาขาการศึกษาไม่มีชื่อเราดังคาด…แสดงว่าครูอ๋อต้องได้แน่เลย…เลยอ่านไปเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติม

วันเยาวชนแห่่งชาติ


(ซ้าย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ขวา) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สองยุวกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

วันเยาวชนแห่งชาติ เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยเมื่อสหประชาชาติกำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสองพระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในฐานะยุวกษัตริย์ คือ

ขอบคุณที่มาดีๆ จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วันเยาวชนแห่งชาติ

การพิมพ์สมการและสัญลักษณ์คณิตศาสตร์


สำหรับครูคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ที่อยากพิมพสมการสวยๆ โดยไม่ต้องถ่ายภาพหน้าจอแล้วตัดเป็นรูปภาพมาแปะที่บล็อก ผมได้การสร้างสมการมาจาก อ.ยูซุฟ เจะบ่าว ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://cyusuf.wordpress.com/) เห็นท่านสร้างไว้ ผมเลยมาลองสร้างดูครับ

ถ้าอยากได้สมการ/อสการประมาณนี้ครับ…จะทำยังไง ผมลองทำได้แล้ว กำลังศึกษาต่ออยู่นะครับ

x=2

tan(A+B)=\frac{tan A + tan B}{1 - tan A tan B}

x^2 + 3x - 4 = 0

\frac{x^2 - 2x - 3}{x^2 - 4} > o

ผมกำลังศึกษาอยู่ เชิญทุกท่านร่วมกันลองใช้ดูนะครับ มีลิงค์ที่เกี่ยวข้องคือ

ลองดูนะครับ เราจะได้มีสมการที่สวยงามในบล็อกของเรา

ครูอั๋น
๑๘ กันยายน ๒๕๕๕

ช่วยโหวตให้ด้วยนะครับ


ขอบความกรุณาจากทุกๆ ท่านที่ผ่านเข้ามาเล่นในบล็อกเล็กๆ ของผมนะครับ

ผมได้สมัครเข้าร่วมโครงการ Thailand Blog Awards 2012 ครับ และส่วนหนึ่งของการตัดสินคัดเลือกต้องมาจากคะแนนโหวตของทุกท่านครับผม ดังนั้นผมเลยอยากขอความกรุณาจากท่านช่วยโหวตให้ผมหน่อยครับ ไม่อยากครับ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ครับ

  1. Online FaceBook เอาไว้นะครับ
  2. คลิกตามลิงก์นี้ http://www.thailandblogawards.com/blogs/show/1279
  3. ด้านซ้ายบนจะมีคำว่า “ร่วมส่งประกวด” (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
    ด้านล่างจะมีปุ่ม คลิกหนึ่งครั้ง
    เมื่อขึ้นชื่อ FB ของท่าน ให้กด Refresh 1 ครั้งครับ
  4. คลิกปุ่ม ครับผม

โหวตได้วันละ 1 ครั้ง ถ้าเข้าโหวตได้ทุกวันจักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับผม
ครูอั๋น

 

สามเหลี่ยมของปาสกาล


สามเหลี่ยมปาสกาลแบบที่รู้จักกันในปัจจุบัน

ชุดของจำนวนทีในปัจจุบันเราเรียกว่า “สามเหลี่ยมปาสกาล” ได้รับการความสนใจในการศึกษาจากคณิตศาสตร์ทั้งในอินเดีย กรีก จีน ก่อนหน้านั้นนานแล้ว แต่ทว่า แบลส ปาสกาล (ค.ศ. 1623 – 1662) เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบและแสดงให้เห็นความสำคัญ และแบบรูปทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในสามเหลี่ยมปาสกาล นี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเรียกมันว่า “สามเหลี่ยมปาสกาล” เพื่อให้เกียรติแก่ปาสกาลซึ่งเป็นค้นพบแบบรูปของมัน แต่เราก็ยังพบว่าในบางตำรา เรียกมันว่า “สามเหลี่ยมของชาวจีน” (Chinese’s Triangle) ด้วย เพื่อให้เกียรติแก่ชาวจีนโบราณที่ได้ค้นพบ และพัฒนาขึ้นในระยะแรก

แบลส ปาสกาล

เรื่องนี้ถูกนำมากล่าวถึงในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์หลายเรื่อง ตั้งแต่การสอนเกี่ยวกับแบบรูป การให้เหตุผล ลำดับ ความน่าจะเป็น และทฤษฎีบททวินาม ในฐานะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จึงต้องศึกษาไว้ (หลอกเด็ก) และในฐานนักเรียน ควรจะรู้ไว้เพื่อเก็บไปแก้ปัญหาบางประการได้ และเพื่อให้เห็นว่า คณิตศาสตร์นั้นมหัศจรรย์เหลือหลาย

มีเรื่องอะไรให้อ่านบ้าง คลิกตามไปอ่านเป็นเรื่องๆ ไปเลยนะครับ

ทำไมต้อง 42.195


เอาล่ะ…วันนี้ผมจะเกาะกระแสหนัง “รัก 7 ปี ดี 7 หน” ดังครับ

ตัวอย่างหนัง “รัก 7 ปี ดี 7 หน

หนังเรื่องนี้มีคณิตศาสตร์ (ตัวเลข) ที่น่าสนใจปรากฎในหนังด้วย นั่นก็คือ… 42.195

พึ่งไปดูมา (และชอบ) ตอนที่ 3 ของเรื่องนี้คือตอน 42.195 หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ทำไมต้อง 42.195” คนที่พบจะทราบว่าตอนนี้ 3 นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอนก็จะตอบว่า “ก็เป็นระยะทางที่เขาใช้ในการวิ่งมาราธอนไงล่ะ” แล้วมีใครถาม/สงสัยต่อไปอีกหรือไม่ว่า ทำไมต้องใช้ 42.195 ทำไมต้องมีเศษ 42 กม. เลยไม่ได้หรอ เป๊ะๆ จะมีเศษ 195 เมตร มาทำ (ซาก) อะไร

เบื้องหลังการถ่ายทำตอนที่ 3 “42.195”

เอาล่ะครับ…ผมจะเล่าให้ฟังแบบย่อๆ

ย้อนไปอาณาจักรโรมันอันรุ่งเรืองและเกรียงไกร แต่ก็ต้องรบราฆ่าฟันทำสงครามกับคู่รักคู่แค้นกับเปอร์เซียตลอดเวลา ในการรบครั้งหนึ่ง เมื่อ 499 ปี ก่อนคริสต์กาล โรมันรบกับเปอร์เซียที่เมืองสปาร์ต้า ในครั้งนี้โรมันมีชนะเหนื่อเปอร์เซียคู่ปรับตลอดกาล ทหารนายหนึ่งชื่อ ” ฟิดิปปิเดซ ” (Pheidippides) ถูกใช้ให้กลับไปรายงานเจ้าเมืองเอเธนส์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะม้าศึกตายหมดหรือจะอย่างไรก็ไม่ทราบ พ่อคุณฟิดิปปิเดซรายนี้ต้องวิ่งจากเมืองที่ทำศึกข้ามทุ่ง “มาราธอน” (บางแห่งระบุว่าวิ่งจากเมืองมาราธอน) ตามประวัติเขียนไว้ว่าใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง เมื่อฟิดิปปิเดซวิ่งเข้าประตูเมือง เขาตะโกนว่า “Victory” (เราชนะแล้ว) พอสิ้นเสียงเขาก็ขาดใจตายอยู่ ณ ตรงนั้น นี่เป็นตำนานเล่าขานกันมา เมื่อมีการจัดแข่งขันวิ่งทนระยะยาวขึ้นเป็นครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิคเขาจึงตั้งชื่อว่า “มาราธอน”

มาราธอน หมายถึง ระยะ 26 ไมล์ 385 หลา แต่ทางแถบเอเซียนิยมใช้เป็น 42.195 กม. นั่นเอง

(แต่ตำนานบอกเล่าเหล่านี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยอยู่ซึ่งขัดแย้งกับการบันทึกของเฮโรโดตุส เป็นส่วนใหญ่)

อ่านตำนานแบบเต็มๆ ได้จาก http://wlanru.blogspot.com/search?updated-max=2012-08-03T14:22:00%2B07:00&max-results=7

และนี่เองคือเหตุผลว่า

ทำไมเขาถึงต้องใช้ 42.195 เป็นระยะทางในการวิ่งมาราธอน

42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195||42.195

ขอบคุณที่มาดีๆ:

คลิปวีดีโอจาก http://www.youtube.com

ภาพจาก

เด็กอ่อนคณิต…ความผิดใคร???


ขอบอกก่อนนะครับ…ที่ตั้งคำถามแบบนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะโทษใครโดยเฉพาะ หรือมีเจตนาจะชื่นชมใครเป็นพิเศษทั้งนั้น แค่วันนี้รู้สึกเหนื่อยกับการต้องสอนอะไรยากๆ ให้กับนักเรียน โดยที่บางทีนักเรียนก็ไม่ได้รู้สึกว่าจะ “เอามันไปใช้ในชีวิตประจำวัน” (คำถามที่ใครหลายๆ คนชอบถาม ว่าเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม)

ทั้งๆ ที่ตอนเรียนก็ยากอยู่แล้ว พอมาเป็นครูยิ่งยากหนักกว่าเรียนหลายเท่า

นอกประเด็นแล้ว…

แอบเอาประเด็นนี้ไปถามหลายๆ คน (เพื่อเป็นวัตถุดิบในการเขียนบทความ) แล้วก็อยากจะบอกแบบนี้ครับ

  1. เราทราบๆ กันว่า คณิตศาสตร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มวิชาที่ “เครื่องมือ” เช่นเดียวกับภาษาไทย ดังนั้น เด็กทุกคนจึงถูกบังคับให้เรียนตั้งแต่เล็กๆ คำว่าวิชาที่เป็นเครื่องมือนี้ ผมเข้าใจเอาเองว่า มันคือวิชาที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาอื่นๆ เช่น ถ้าอ่าน (ภาษาไทย) ไม่ออก ก็จะเรียนรู้วิชาอื่นๆ ไม่ได้ เช่นเดียวกัน หลักสำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์คือการสอนทักษะการคิด ผ่านจำนวน ผ่านทักษะต่างๆ ของคณิตศาสตร์ การคิดจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะสอนให้นักเรียนเกิด และนำไปใช้ในวิชาอื่นๆดังนั้น หน้าที่สำคัญของครูคณิตศาสตร์ จึงควรสอนให้นักเรียนคิด เน้นกระบวนการคิด (และควรจะต้องจำได้ด้วย เช่น สูตรคูณ สูตรต่างๆ บางสูตร) เมื่อเด็กเริ่มคิดเป็น ก็จะนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ ได้โดยไม่รู้ตัว
  2. “เรียนคณิตศาสตร์แล้วเอาไปใช้ทำอะไรในชีวิตประจำวัน แค่นับเลขได้ บวกลบคูณหารได้ก็พอแล้ว…เรียนอะไรเยอะแยะ”
    อ่านเพิ่มเติม

วันพาย


ใกล้ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม หรือวันที่ 22 เดือน 7 กันแล้วครับ ซึ่งวันนี้ในทางคณิตศาสตร์เราถือว่าเป็นวันสำคัญของคณิตศาสตร์วันหนึ่ง นั่นก็คือ

“วันพาย”…Pi Day

ππππππππππππππππππππππππππππππππππππ

วันนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และมีวันสำคัญอื่นๆ อีกไหนอ่านได้จากบทความนี้ครับ

วันแห่งการเฉลิมฉลองค่าพาย

ส่วนถ้าอยากได้ความรู้เกี่ยวกับค่าพาย ให้อ่านได้ที่บทความนี้ครับผม

พาย (pi) อัศจรรย์การค้นหาตำแหน่งสุดท้ายร่วม 3,500 ปี

คุณครูคณิตศาสตร์สามารถจัดกิจกรรมในวันนี้ได้ครับ จัดเหมือนวันสำคัญอื่นๆ ของกลุ่มสาระอื่นๆ ครับ เราจะได้มีวันสำคัญของพวกเราชาวคณิตศาสตร์กันเสียทีครับผม

ครูอั๋น
20 ก.ค. 2555

เรียนเรขาคณิตไปทำไม


การนำการสร้างทางเรขาคณิตไปใช้ที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง

จุดมุ่งหมายหลักของการเรียนการสอนเรขาคณิต  มี  3  ประการดังนี้

ประการที่ 1  การฝึกให้เป็นคนมีเหตุมีผล

ประการที่ 2  ฝึกความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

ประการที่ 3 มีพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้

อ่่านอย่างละเอียดคลิกอ่านต่อได้เลยอครับ