สารบัญภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563


  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33202) ชั้น ม.6/4
    • ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
    • อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
    • อินทิเกรต
  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33206) ชั้น ม.6/1 – 2 (SMTE, SMET)
    • ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
    • อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
    • อินทิเกรต
  • Additional Mathematics (ค33211) ชั้น ม.6/3 (IEP)
    • Introduction to Calculus
  • Additional Mathematics (ค32209) ชั้น ม.5/3 (IEP)
    • Exponential Functions
    • Logarithmic Functions

อ่าน/ดูเพิ่มเติม

  • (6/1, 2, 3, 4) PreCaculus via YouTube
  • คณิตศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ

  • (5/3) บทนำฟังก์ชันเลขชี้กำลังและลอการิทึม

Advertisement

ว่าด้วยเรื่องโครงงานคณิตศาสตร์


ในฐานที่เคยเป็นทั้งผู้ทำโครงงาน ครูที่ปรึกษาโครงงาน กรรมการวิพากษ์โครงงาน และกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ มาหลายปี อยากสะท้อนความคิดเห็นที่ได้จากการได้เห็นได้อ่านโครงงานต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานสำหรับนักเรียน และการตรวจแก้ให้คำปรึกษาสำหรับครูที่ปรึกษา เป็นอีกมุมมองหนึ่งนะครับ

img_0991

<<<คลิกเพื่ออ่านต่อ>>>

โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาสูตรพื้นที่ของรูป n เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าที่มีวงกลมแนบนอกหรือแนบใน


โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาสูตรพื้นที่ของรูป n เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าที่มีวงกลมแนบนอกหรือแนบใน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชนะเลิศโครงงานคณิตศาสตร์ มูลนิธิเปรมติณสูลานน์ ภาคตะวันออนเฉียงเหนือ ระดับจังหวัด

คลิกเพื่อดูบทคัดย่อ

นักคณิตศาสตร์หญิงเจ้าของรางวัลฟิลด์คนแรกจากไปด้วยมะเร็ง


หลังจากเมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาเราสูญเสียศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ ปั้นนิ่ม (ค.ศ.1951 – 2017, พ.ศ.2494 – 2560) ผู้ที่เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ และครู ที่เป็นแรงบันดาลใจกับครูคณิตศาสตร์มากมาย
มาถึงเดือนนี เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ที่ผ่านมา วงการคณิตศาสตร์โลกก็สูญเสีย มาเรียม มีร์ซาคานี (Maryam Mirzakhani, 1977 – 2017, พ.ศ.2520 – 2560) นักคณิตศาสตร์หญิงชาวอิหร่านวัย 40 ปี เจ้าของรางวัลเหรียญฟิลด์ (Fields Medal) คนแรกที่เป็นสตรี เมื่อปี ค.ศ.2014 ทั้งนี้มาเรียมเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิก 2 ครั้ง ในปี 1994 และ 1995 โดยในปีหลังมาเรียมได้คะแนนเต็ม 42 คะแนน
มาเรียมจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชาริฟ (Sharif University of Technology) ที่อิหร่าน ในปี 1999 และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา ในปี 2004 ที่ซึ่งเธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่ออายุ 31 ปี

โดยมาเรียมได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมในปี 2013 หลังจากพยายามรักษานาน 4 ปี มะเร็งได้ลุกลามไปยังไขกระดูกของเธอ และเป็นสาเหตุทำให้เธอเสียชีวิตในที่สุด

ต้นฉบับข่าว

Award-winning Iranian mathematician Maryam Mirzakhani has reportedly passed away due to cancer at a hospital in the United States.

Iran’s Mehr News Agency cited one of Mirzakhani’s relatives as confirming her death on Saturday.

Firouz Naderi, a former Iranian director of Solar Systems Exploration at NASA, had also announced her death in an Instagram post earlier in the day.

Mirzakhani had recently been taken to hospital as her health condition worsened due to breast cancer. Cancerous cells had recently spread to her bone marrow. She had already been battling the disease for several years.

In 2014, Mirzakhani was awarded the coveted Fields Medal, also known as the Nobel Prize of mathematics. The 40-year-old, who used to teach at Stanford University, was also the first Iranian woman to be elected to the US National Academy of Sciences (NAS) in May 2016 in recognition of her “distinguished and continuing achievement in original research.”

Mirzakhani was born in Tehran in 1977 and brought up in the Islamic Republic.

She scored the International Mathematical Olympiad’s gold medal twice — in 1994 and 1995. In the second competition, she received the contest’s full 42 points.

She then earned her bachelor’s degree from Iran’s prestigious Sharif University of Technology in 1999, and followed up the rest of her education in the United States, where she earned a doctoral degree from Harvard University in 2004 and became full professor of mathematics at Stanford at the age of 31.

She is survived by husband Jan Vondrák, a Czech theoretical computer scientist, and their daughter Anahita.

Condolences pouring in over Mirzakhani’s death

In a message, Iranian President Hassan Rouhani said Mirzakhani’s “doleful passing” has caused “great sorrow.”

The president praised her scientific achievements, saying the “unprecedented brilliance of this creative scientist and modest human being, who made Iran’s name resonate in the world’s scientific forums, was a turning point in showing the great will of Iranian women and young people on the path towards reaching the peaks of glory and in various international arenas,” read part of the message.

In a post on Instagram, Iranian Foreign Minister Mohammad Javad Zarif also offered his condolences over Mirzakhani’s death.

He said that the death of the young Iranian math genius has caused grief for all Iranians who take pride in their country’s prominent scientific figures.

Iranian Parliament Speaker Ali Larijani also offered his condolences in a post on his Instagram’s account.

In a tweet, Gary Lewis, UN Resident Coordinator for the Islamic Republic of Iran, also expressed his sorrow over Mirzakhani’s death. “Sad to learn about the passing of #MaryamMirzakhani – the intelligent #Iranian daughter, wife, mother, professor. May her eternal soul RIP.”

เครดิต

จำนวนเฉพาะพาลินโดรม


เราๆ ท่านๆ คงรู้จักพาลินโดรมกัน (คลิกอ่านรายละเอียด หรือ Palindrome) ซึ่งคือ จำนวนหรือตัวอักษรที่อ่านจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายได้จำนวนเดิม หรือคำเดิม เช่น 121, 28182, ยาย, นาน, วาดดาว, นริน, dad, …

ที่มา: จำนวนเฉพาะพาลินโดรม

ลำดับของการดำเนินการ


3-horzเป็นเรื่องราวใหญ่โตในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการคิดเลขที่มีบวก/ลบ/คูณ/หารปนกัน แต่ไม่มีวงเล็บ เถียงกันจะเป็นจะตาย ยิ่งมาเจอเครื่องคิดเลขเจ้ากรรมนี่อีกยิ่งหนักเลย

คณิตศาสตร์ มีคำตอบเดียวครับ และมีหลักเกณฑ์การคำนวณที่วางไว้ชัดเจนแล้ว

แต่หลักเกณฑ์เป็นอย่างไร…ไปอ่านกันใน “ลำดับของการดำเนินการ” (คลิกเลยครับ)

 

ครูอั๋น
May’27, 2014

ห่า…


10151290_656390167731641_4237126380234181088_n

“ฟ้ามืดขนาดนี้ฝนคงจะตกสักห่าสองห่า”

ได้ยินคำพูดแม่ที่มาพร้อมกับลมพายุฝนตั้งแต่เด็กๆ สงสัยว่าแม่ด่าใคร ด่าทำไม ว่า “ห่า” แล้วมันเกี่ยวกับอะไรกับฝนตก ทำไมต้องไปด่ามัน พระพิรุณท่านให้ฝนกับเกษตรกรก็นับเป็นเรื่องนี้

พอโตมาหน่อยได้ยินประกาศสงกรานต์ว่า “ปีนี้นาคให้น้ำในทะเล…ห่า” เอ๊า…ประกาศสงกรานต์ก็ด่าอีกแล้ว… ก็ถามแม่

ครูอั๋น: ฝนตกทำไม่ต้องบอกเป็นห่าๆ ด้วย

คุณนายวิไล: เขาก็เรียกเป็นห่าๆ แหละ คนสมัยก่อนเขาเรียกกัน

ครูอั๋น: แล้วห่านึงมันแค่ไหนอะแม่ ตกขนาดไหนถึงเรียกห่านึง

คุณนายวิไล: ไม่รู้เหมือนกัน

pd150_1เก็บความสงสัยมาจนโต วันหนึ่งก็ได้ดูหรือได้ฟังรายการอะไรสักอย่างนี่แหละ เขาพูดเรื่องหน่วยการวัดเป็น “ห่า” ของน้ำฝน ก็เลยได้คำต่อว่า..

 

ห่า เป็นหน่วยวัดปริมาณน้ำฝนที่ตก โดยการเอาบาตรพระขนาดกลางไปวางไว้กลางแจ้งกลางฝน แล้วดูว่าน้ำฝนที่อยู่ในบาตรพระนั้นมีปริมาณแค่ไหน ถ้าเต็มบาตร ก็เรียกว่า ฝนตกหนึ่งห่า หรือโดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน เป็นต้นครับ

ทุกวันนี้ไม่ค่อยใช้เลย ครั้งหนึ่งในการสอนสอนเรื่องการวัด ม.2 ก็เลยแอบถามเด็กๆ หลังจากถามหน่วยวัดอื่นๆ ไปแล้ว ว่า

ครูอั๋น: แล้วหน่วยการวัดน้ำฝนล่ะครับนักเรียน

นักเรียน: มิลลิิเมตรครับ

ครูอั๋น: ได้ยินมาจากไหน

นักเรียน: ข่าวพยากรณ์อากาศครับ

ครูอั๋น: ดีมาก แสดงว่าติดตามข่าวสารบ้านเมือง ถูกครับ…แต่ครูอยากได้หน่วยการวัดแบบไทยๆ น่ะครับ เหมือน คืบ ศอก วา อะไรเงี้ยะ…

นักเรียน: …

ครูอั๋น: ใบ้ให้…เหมือนคำด่าเลย ออกเสียงเหมือนกัน เขียนเหมือนกัน

นักเรียน: อ๋อ…ห่าครับ เคยได้ยินยายพูด

ครูอั๋น: ถูกต้องนะครับบบบบบ…

เรืองของ “ห่า” ก็เอวังด้วยประการละชะนี้…

ครูอั๋น
29 เมษายน 2557

 

ข้อสอบ TME (พร้อมเฉลย)


TME_logo

TME (Thailand Mathematics Evaluation) หรือโคงการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ ธนาคารออมสิน และบริษัท เอดู พาร์ค จำกัด

ดาวน์โหลดข้อสอบได้ที่ https://coolaun.com/testbank/tme/

(อับโหลดไว้เรื่อยๆ นะครับ)

banner2

Last update 25 Aug’2013

การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ