สารบัญภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560


(แก้ไขและอับเดทอยู่เรื่อยๆ นะครับ)

16586990_1206834146020571_8365772245694546051_o-tile

ค2120… คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.1/4 (เน้นภาษาอังกฤษ)
Ma2120… Additonal Mathematics M.1/4 (IEP)

Applications, Numbers and Numerals,
Applications of Integer Numbers and Indices, Geometric Construction

ค3120… คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.4/3 (เน้นภาษาอังกฤษ)
mA3120… aDDITIONAL mATHEMATICS m.4/3 (iep)

Logic,
Matrix and Linear Systems of Equations

  • Course Syllabus
  • Contents:
    • An introduction to Logic: Propositions or statements, Truth value, Truth value table, Equivalent propositions, Reasoning, Quantifiers and Truth value of proposition with a Quantifier.
    • Matrix and Linear Systems of Equations: Matrix, Operations on Matrix, Determinant, solving of linear system of equations by using the properties of multiplication on Matrix and Cramer’s Rule.

ค33201 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.6/6

สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงปกติ
ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์

  • เค้าโครงรายวิชา
  • เนื้อหา
    • สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล
      • ทบทวนความรู้พื้นฐาน
      • การวัดค่ากลางของข้อมูลที่แจกแจงความถี่เป็นอันตรภาคชั้น
      • การวัดการกระจาย
    • การแจกแจงปกติ
      • ค่ามาตรฐาน
      • การแจกแจงปกติ
      • เล้นโค้งปกติ
    • ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล
      • การสร้างความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูลที่ประกอบด้วยสองตัวแปร
      • การสร้างความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูลที่ประกอบด้วยสองตัวแปรที่อยู่ในรูปอนุกรมเวลาโดยใช้เครื่องคำนวณ
      • ใช้ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลทำนายค่าตัวแปรตามเมื่องกำหนดตัวแปรอิสระให้
    • ลำดับและอนุกรมอนันต์
      • ลิมิตของลำดับอนันต์
      • ผลบวกของอนุกรมอนันต์

ค33201 คณิตศาสตร์เพิ่มเติมแบบเข้ม สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ฯ ม.4, 5, 6

 

Advertisement

สารบัญภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559


 

cropped-bg-banner-math.jpg(ที่ไม่มีลิงค์คือยังไม่ได้อับเดทนะครับ)

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 (ค21201) ชั้น ม.1/1

  • คำอธิบายรายวิชา/กำหนดการสอน/ภาระงาน
  • เนื้อหา
    • การประยุกต์ 1 ||สรุปเนื้อหา||แบบฝึกหัด(ทบทวน)||ตัวอย่างแบบทดสอบ||
    • จำนวนและตัวเลข ||สรุปเนื้อหา||แบบฝึกหัด(ทบทวน)||ตัวอย่างแบบทดสอบ||
      อ่านเพิ่ม: ตัวเลขของชนชาติต่างๆ

    • การประยุกต์ของจำนวนเต็มและเลขยกกำลัง ||สรุปเนื้อหา||แบบฝึกหัด(ทบทวน)||ตัวอย่างแบบทดสอบ||
    • การสร้าง ||สรุปเนื้อหา||แบบฝึกหัด(ทบทวน)||ตัวอย่างแบบทดสอบ||

รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 (ค31101) ชั้น ม.4/1, 3, 6

 

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 (ค31201) ชั้น ม.4/1, 3

รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ (IS 1) (I30201)

 

การให้เหตุผลแบบอุปนัย


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนบอกความหมายของการให้เหตุผลแบบอุปนัยได้
  2. นักเรียนสามารถหาพจน์ถัดไปของแบบรูปได้
  3. นักเรียนสามารถ…

เนื้อหาสาระ

การให้เหุตผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) คืออะไร…นักเรียนศึกษาได้จากใบความรู้ต่อไปนี้

ประกอบกับการชมวีดีทัศน์ต่อไปนี้ครับ

แบบทดสอบ

ShowMe.com โลกแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่ผมพึ่งเจอ


จริงๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหรอกครับ บางท่านอาจจะเคยใช้แล้ว แต่บังเอิญผมพึ่งมี iPad ใช้ และพยายามลองหา Application ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผม ที่ผมอยากจะบันทึกการสอนในแต่ละคาบไว้ เพื่อให้นักเรียนได้เข้ามาเรียนทบทวน หรือสำหรับนักเรียนที่ไม่มาเรียนได้เรียนเพื่อจะได้ตามทันเพื่อนไม่ตกหล่นเนื้ออะไร และนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดเวลาตามอัธยาศัย

IMG_0251

ที่จริงก็หลายตัวที่ใช้ เช่น Educreation, Doceri หรือง่ายๆ แบบไม่ต้องอัดอย่าง Type on PDF และ GoodNotes แต่ตัวที่ผมออกจะชอบหน่อยก็ “ShowMe” ครับ

มันทำงานเหมือนกันกระดานคำ (ขาว) และจะจับภาพหน้าจอสิ่งที่เราเขียนไว้ เหมือนกับ Captivate แล้วมันก็จะบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอ และเราสามารถอับโหลดขึ้นไปเก็บไว้ เหมือน YouTube ได้ ทั่วโลกสามารถเข้าชมได้ และเด็กนักเรียนก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

IMG_0252

หน้้าแรกของ application กด + ก็จะสร้างวิดีโอใหม่ได้ทันที

IMG_0253

กดบันทึกตรงกลาง อธิบายด้วยเสียงและตัวอักษร
เสร็จแล้วกดอีกครั้ง ก็จะได้วีดีโอการสอนของเราไว้ใช้แล้วครับ

ลองเข้าไปชมวีดีโอของผมได้ที่ www.showme.com/kruaun/ นะครับ เป็นห้องเรียนกับทางเหมือนที่กระทรวงต้องการพอดีครับ

ลองเข้าไปชม แนะนำติชมได้ครับ และลองทำไว้ใช้บ้างนะครับผม

เตรียมความพร้อม O-NET ม.6


onet

การสอบ O – NET (Ordinary National Educational Test)

O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสอบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษาฯ
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. ศิลปะ
  8. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ได้กำหนดรายวิชคณิตศาสตร์เพิ่มเติม (ค33203-ค33204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในแผนการเรียนไม่เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (อังกฤษ-สังคม, ศิลป์-จีน, ศิลป์-ญี่ปุ่น, พาณิชยกรรม (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ), อุตสาหกรรม และพลศึกษา) ได้ศึกษาทบทวนก่อนการสอบจริงที่จัดให้มีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557

set

ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ตามลิงค์นี้นะครับ

เลขประจำตัวประชาชน


idcard01ก้มลงมองบัตรประจำตัวประชน จะเห็นมีตัวเลขชุดหนึ่งมี 13 หลัก ที่เรียกว่า “เลขประจำตัวประชาชน” คือ เลขประจำตัวของเรานั่นเอง เราจะมีเลขชุดนี้คนละชุด ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุความเป็นคนไทยของเรา

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคุณประโยชน์ของคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้าง “รหัส” ที่เราใช้อยู่โดยไม่รู้ตัว

 

<<<อ่านทั้งหมดต่อได้แค่คลิก>>>

สรุปสูตรและเทคนิค


เป็นโครงการใหม่สำหรับบล็อก “เรียนรู้กับครูอั๋น: เพราะคณิตศาสตร์ขาดไม่ได้” นั่นก็คือ

สรุปสูตร-ลงบล็อก2

“สรุปสูตรและเทคนิค” ที่เคยใช้ทำข้อสอบ เคยเรียนรู้มา และเคยสอนนักเรียนจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ครับ

โดยภาพจะฝากไว้ที่เพจ “เรียนรู้กับครูอั๋น” เช่นเคยครับ

โดยจะทำเป็นภาพ สรุปทีละเรื่อง และจะพยายามใช้ภาษาแบบที่เราๆ พูดกัน ไม่เอาภาษาคณิตศาสตร์เพราะอาจจะทำให้ปวดหัว (แต่บางทีก็ยังจำเป็นต้องใช้)

ตอนนี้เราก็มี…

แถมด้วยคำคมต่างๆ ที่ผมชอบและพยายามรวบรวมไว้ครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องนักเรียนทุกๆ คนนะครับ

ขอบคุณที่ติดตาม…จะพยายามอับเดทเรื่อยๆ นะครับ
คุณครูพี่อั๋น ๘ ธันวาคม ๒๕๕๕

เพราะคณิตศาสตร์ขาดไม่ได้


กิจกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนโคกยางวิทยา
ชั้น ม. 4 และ ม.5 ทั้งวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมนะครับ

เอาล่ะนักเรียนที่รัก ครูมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ร่วมกันทำแล้วครับ…กิจกรรมคือ

“ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร…ถ้าโลกนี้ไร้คณิตศาสตร์”

โดยกิจกรรมนี้ก็ง่ายๆ ครับ แค่นักเรียนตอบว่า…

ในชีวิตประจำวันของนักเรียน…มีการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ทำอะไรบ้าง
และถ้าเราขาดสิ่งเหล่านั้นไป ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร ลองจิตนาการดูครับ…

ตอบลงในฟอร์มด้านล่างได้เลยนะครับ…อย่างช้าไม่เกิน ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕ นะครับ (ขยายเวลาอีก ๑ สัปดาห์)

++++++++++++++++++++++++++++++++

รายชื่อนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมแล้วครับผม

นักเรียนที่มีหมายเหตุท้ายชื่อว่า “ขอให้เข้าไปตอบใหม่” ให้นักเรียนเข้าไปตอบใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วยครับ ถ้าเพื่อนเห็นรบกวนช่วยบอกเพื่อนด้วยนะครับ
เหตุผลเพราะอะไร…นักเรียนน่าจะทราบได้เองนะครับ ครูจะไม่พูดในที่นี้ ส่วนนักเรียนที่กรอกชื่อและรหัสผิด ไม่ว่ากันครับ

ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัย ให้โพสถามที่เพจ “เรียนรู้กับครูอั๋น” หรือคลิกที่ “ใส่ความเห็น” ในหน้าบล็อกนี้ก็ได้นะครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++

หวังว่าคงได้รับความร่วมมือเช่นเคย

เปิดให้ส่งเพ่ิ่มเติมถึงวนที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๔.๐๐ น.นะครับ

แล้วพบกันในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๕

ขอบคุณและสวัสดีครับผม

ครูอั๋น
๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ๐๐๒๘ น.

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สรุป

นักเรียนร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๗๐ คน (มีการส่งงาน ๘๑ ครั้ง///บางคนส่งซ้ำและบางคนต้องตอบใหม่) แบ่งเป็น

  • ม.๔/๑  จำนวน ๑๖ คน
  • ม.๔/๒  จำนวน ๑๑ คน
  • ม.๔/๓  จำนวน   ๖ คน
  • ม.๔/๔  จำนวน   ๐ คน
  • ม.๕/๒  จำนวน ๑๙ คน
  • ม.๕/๓  จำนวน ๑๘ คน

สำหรับเรื่องที่นักเรียนคิดถึงและตอบมามากที่สุด คือ… (โปรดติดตามต่อตอนไป)

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

เตรียมสอบ GAT/PAT


ใกล้สอบ GAT/PAT เข้ามาทุกทีแล้ว วันนี้ขอนำเอกสาร Brand Summer Camp มาให้อ่านเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบนะครับ เฉพาะคณิตศาสตร์ (PAT 1) นะครับผม


ปี 2553


ปี 2554

คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์


วันนี้เราลองมองหาสิ่งที่อยู่รอบตัวแล้วโยงเข้ากับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์กันหน่อยนะครับ

ตั๋วรถเมล์ใน กทม.
นำมาจาก http://www.bloggang.com/data/bustickets/picture/1248248440.jpg

ในชีวิตประจำวันของนักเรียนและชาวกรุงเทพ อาจจะต้องขึ้นรถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ทุกวัน คงคุ้นตากับตั๋วรถเมล์กันดี ซึ่งก็เห็นจนชินตา ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เราลองมาดูกันว่าเราเรียนสอนคณิตศาสตร์กับตั๋วรถเมล์ได้หรือไม่ อย่างไร คลิกไปอ่านที่ “คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์” ได้เลยครับ

ใครมีแนวคิดอะไรก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับผม

คลิกอ่าน “คณิตศาสตร์บนตั๋วรถเมล์” ได้เลยครับ