ดราม่าเรื่องนาฏศิลป์ไทย 15 ตุลาคม 201315 ตุลาคม 2013 เรื่องความสำคัญของวิชานาฏศิลป์นั้น ผมอ่านจน (อ่านแบบวางไม่ลง) ในหนังสือ “โครงกระดูกในตู้” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเล่าเรื่องเมือสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดวิกฤตการณ์วังหน้า แล้วท่านป้าของท่าน คือ หม่อมเจ้าฉวีวรรณ ปราโมช พาคณะละครของเจ้าจอมมารดาอำภาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งท่านได้รับสืบทอดต่อมา หนีออกพระราชอาณาจักรไปประเทศกัมพูชา จนพระมารดาของท่านถูกจำสนม หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้เล่าไว้ว่า… “เรื่องการละเม็งละครน้ัน จะถือว่าเป็นเล็กไม่ได้ในสมัยนั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เพราะประเทศต่างๆ แถวนี้ถือว่าโขนละครและหนังนั้นเป็นสมบัติที่ส่งเสริมเกียรติยศของบ้านเมือง และโขนละครและหนังใหญ่เมืองไทยนั้นถือว่าประเสริฐสุด ทุกประเทศอยากได้ไปไว้เป็นของต้น หรือเป็นแบบฉบับ เมื่อเจ้้าอนุวงศ์เวียงจันทน์บรรพบุรุษของผู้เขียนเรื่องนี้อีก่คนหนึ่งเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนต้นรัชกาลที่ 3 เพื่อช่วยงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เมื่อก่อนจะกลับได้เข้าไปกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วถือโอกาสขอพระราชทานตัวละครในไปไว้ที่เวียงจันทน์เพื่อจะได้ฝึกหัดละครในที่เวียงจันทน์ต่อไป เนื่องด้วยเมืองเวียงจันทน์ในขณะนั้นเป็นเมืองประเทศราช ชะรอยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จะทรงพระราชดำริว่าเจ้าอนุวงศ์ฯ อาจเอื้อมตีเสมอ ถึงกับจะมีละครในเป็นของตน จึงไม่โปรดเกล้้าฯ พระราชทานให้ เจ้าอนุฯ ก็โทมนัสน้อยใจและผูกใจเจ็บ เริ่มเอาใจออกห่าง และในที่สุดก็ถึงกับเป็นกบฏยกทัพมารุกรานพระราชอาณาจักรจนถึงเมืองนครราชสีมา เป็นเหตุให้ต้องปราบปรามกันเป็นการใหญ่ ที่เมืองเขมรนั้น ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับเวียงจันทน์คงจะไม่มีสิทธิ์ที่จะมีโขนหลวงและละครในเช่นเดียวกัน เมื่อสมเด็จพระนโรดมเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กัมพูชานั้น ท่านจึงได้ออกไปจากกรุงเทพฯ แต่ลิเกซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ สมัยนั้นและกำลังเป็น “ฮิต” เหมือนกับเพลงลูกทุ่งสมัยนี้ และได้ทรงส่งเสริมลิเกในเมืองเขมรเป็นการใหญ่ จนมีตำนานในเมืองเขมรว่าการละเล่นที่เรียกว่าลิเกนั้น สมเด็จพระนโรดมทรงเป็นผู้ตรัสรู้คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และทรงสั่งสอนคนอื่นต่อมา ลิเกเมืองเขมรนั้นร้องเพลงราดนิเกริงไม่เป็น เพราะเพลงราดนิเกริงเป็นเพลงที่พระเอกลิเกไทยชื่อนายดอกดินแกคิดขึ้น และนายดอกดินแกเป็นคนรุ่นหลังสมเด็จพระนโรดม เมื่อท่านป้าฉวีวาดเอาละครเจ้าจอมมารดาอำเภอ ซึ่งเล่นแบบละครในไปด้วยทั้งโรงเช่นนี้ สมเด็จพระนโรดมย่อมจะต้องเห็นว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่ต้องการมนานแล้ว สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนปัจจุบัน…”— หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โครงกระดูกในตู้ AdvertisementShare this:FacebookTwitterEmailPrintLinkedInRedditTumblrLike this:ถูกใจ กำลังโหลด... Related