หัวข้อสัมมนาคณิตศาสตร์


ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีมาถามหัวข้อการสัมมนาคณิตศาสตร์กันมาก บางคนก็มีหัวข้อมาให้แล้วถามว่าจะศึกษาประเด็นไหนได้บ้าง บางคนก็มาแบบลอยๆ ไม่มีอะไรมาเลย

จริงๆ แล้วตัวเองต้องออกตัวก่อนว่า ตอนเรียน ป.ตรี ไม่ได้เรียนวิชาสัมมนา แต่มาเรียนตอน ป.โท อาจารย์สั่งว่าการสัมมนาก็คือการเลือกศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่งแล้วนำเสนอเพื่ออภิปรายโต้แย้ง

ถ้าความหมายแบบ ป.ตรี ก็คือ แบบนี้ ก็น่าจะไม่ยากอะไร (หรอ???) ผมคิดว่าก็ควรมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ
  2. กำหนดขอเขตในการศึกษา
  3. ศึกษา/ค้นคว้า/รวบรวมข้อมูล
  4. เขียนร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษา
  5. แก้ไข้
  6. นำเสนอ/อภิปราย

ก็น่าจะเท่่านี้…

คำถาม คือ ขอบเขตการสัมมนา อาจารย์กำหนดแค่ไหน…ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ทะลุปรุโปร่ง หรือต้องทำขนาดวิจัย หรือถ้าเกี่ยวกับการสร้างสื่อต้องสร้้างด้วยไหม ขอบเขตการสัมมนากำหนดไว้อย่างไร หรือ อาจารย์สั่งแค่ไปหาเรื่องมาสัมมนา…จบ…

ดังนั้น ถ้าจะถามหัวข้อในการสัมมนา ก็อยากจะแนะนำ น่าจะเลือกจากประเด็นที่เคยเรียนผ่านมา หรือจากสิ่งที่จะประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น

  • การเขียนกราฟภาคตัดกรวยด้วย GSP
  • การนำ Excel มาใช้ในการเรียนการสอนความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล
  • ใช้ Excel ในการตรวจสอบคำตอบของสมการกำลังสอง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนจริง
  • สมการพหุนามในระบบจำนวนเชิงซ้อน
  • การพิสูจน์ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
  • การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้รูปเรขาคณิต
  • สัจพจน์ข้อที่ ๕ ของยุคลิด
  • ฟังก์ชันชนิดต่างๆ การประยุกต์คณิตศาสตร์เรื่องต่างๆ เช่น การประยุกต์ของเมทริกซ์,
  • สูตรการสร้างเลขประจำตัวประชาชน
  • การคำนวณค่าพาย (เช่น Ice Cream Cone Proof)
  • ที่มาของสูตรและการพิสูจน์สูตรที่น่าสนใจ เช่น สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม
  • สามเหลี่ยมของปาสกาล
  • ลำดับชนิดต่างๆ เช่น ฟีโบนักชี
  • จำนวนเฉพาะ (เช่น จำนวนเฉพาะเมอร์แซน)

เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาของคณิตศาสตร์

คิดออกเท่านี้ครับผม ^^
ครอั๋น
12 พฤศจิกา’55
กวดวิชา Get Smart

Advertisement

8 thoughts on “หัวข้อสัมมนาคณิตศาสตร์

  1. วรเชษฐ์ พูดว่า:

    ขอถามอะไรหน่อยได้ไหมคับ บังเอิญผมไปเจอสูตรนี้ในเว็ปนี้นะคับ http://mathworld.wolfram.com/PellNumber.html ตรง (7) ด้วยความที่ผมทำสัมนาคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเรื่อง pell-lucas number ก็เลยสนใจนะคับลองเอามาพิสูจน์ดูยังไงก็ไม่ได้สักที เพราะเห็นว่าน่าจะเอามาทำต่อได้ในตอนเรียนโทนะคับ(ตอนนี้ ป.ตรี ปี 4 คับ) เลยอยากจะสอบถามนะคับว่าพิสูจน์สูตรนี้ยังไง หรือมันไม่ถูกกันเเน่ ขอบคุณล่วงหน้าคับ(ผมลองทำมาเดือนกว่าๆ เเล้วคับติดเหมือนเดิมคาใจมากคับ)
    Qn=2 sum k=0 ถึง n/2[C(n,2k)*2^k]

  2. Kannika Promrod พูดว่า:

    ขอโทษนะค่ะ ดิฉันสนใจในหัวข้อ “สัจพจน์ข้อที่ ๕ ของยุคลิด” ข้อข้อมูลเพื่อทำสัมมนาในเร็วๆนี้ที่มหาวิทยาลัย ช่วยให้ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลหน่อยได้ไหมค่ะ

    • ครูอั๋น พูดว่า:

      หลังจากเรียนจบก็ไม่ได้ศึกษาอีกเลยครับ แต่ผมว่าหาได้จากหนังสือเรขาคณิตระดับมหาวิทยาลัยก็น่าจะมี และเจาะลงไปที่หนังสือเรขาคณิตนอกระบบยุคลิดครับ จะมีหัวข้อเกี่ยวกับสัจพจน์ข้อที่ 5 เป็นหัวข้อเฉพาะเลยครับ ลองหาอ่านดูครับ

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s