เด็กอ่อนคณิต…ความผิดใคร???


ขอบอกก่อนนะครับ…ที่ตั้งคำถามแบบนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะโทษใครโดยเฉพาะ หรือมีเจตนาจะชื่นชมใครเป็นพิเศษทั้งนั้น แค่วันนี้รู้สึกเหนื่อยกับการต้องสอนอะไรยากๆ ให้กับนักเรียน โดยที่บางทีนักเรียนก็ไม่ได้รู้สึกว่าจะ “เอามันไปใช้ในชีวิตประจำวัน” (คำถามที่ใครหลายๆ คนชอบถาม ว่าเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม)

ทั้งๆ ที่ตอนเรียนก็ยากอยู่แล้ว พอมาเป็นครูยิ่งยากหนักกว่าเรียนหลายเท่า

นอกประเด็นแล้ว…

แอบเอาประเด็นนี้ไปถามหลายๆ คน (เพื่อเป็นวัตถุดิบในการเขียนบทความ) แล้วก็อยากจะบอกแบบนี้ครับ

  1. เราทราบๆ กันว่า คณิตศาสตร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มวิชาที่ “เครื่องมือ” เช่นเดียวกับภาษาไทย ดังนั้น เด็กทุกคนจึงถูกบังคับให้เรียนตั้งแต่เล็กๆ คำว่าวิชาที่เป็นเครื่องมือนี้ ผมเข้าใจเอาเองว่า มันคือวิชาที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาอื่นๆ เช่น ถ้าอ่าน (ภาษาไทย) ไม่ออก ก็จะเรียนรู้วิชาอื่นๆ ไม่ได้ เช่นเดียวกัน หลักสำคัญของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์คือการสอนทักษะการคิด ผ่านจำนวน ผ่านทักษะต่างๆ ของคณิตศาสตร์ การคิดจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะสอนให้นักเรียนเกิด และนำไปใช้ในวิชาอื่นๆดังนั้น หน้าที่สำคัญของครูคณิตศาสตร์ จึงควรสอนให้นักเรียนคิด เน้นกระบวนการคิด (และควรจะต้องจำได้ด้วย เช่น สูตรคูณ สูตรต่างๆ บางสูตร) เมื่อเด็กเริ่มคิดเป็น ก็จะนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ ได้โดยไม่รู้ตัว
  2. “เรียนคณิตศาสตร์แล้วเอาไปใช้ทำอะไรในชีวิตประจำวัน แค่นับเลขได้ บวกลบคูณหารได้ก็พอแล้ว…เรียนอะไรเยอะแยะ”
    ผมเห็นด้วยกับคำพูดนี้นะครับ…ถ้าต้องการแค่เอาไปใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้ไม่เกิน ม.3 ก็ใช้ได้แล้วครับ พ่อแม่ผมก็จบ ป.๔ ป.๗ ก็ยังทำมาค้าขายได้
    แต่ที่เราเรียนไปเยอะๆ นั้น ผมขอตอบตามความคิดเลยว่า “เพราะว่าระบบการศึกษาในระบบมัธยมศึกษา (ตอนปลาย) ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนชัดเจนกับอนาคตของตัวเองได้เท่าที่ควร” แม้ว่านักเรียนบางคนอาจจะบอกตัวเองได้แล้วว่าอยากเป็นอะไร แต่ระบบการศึกษาไทย ก็ยังต้องให้นักเรียนเรียนอะไรเหมือนๆ กัน ไม่แยกเฉพาะทาง ดังนั้น เด็กบางคน (เช่นผมเอง) จึงเลือกที่จะเรียนและทุ่มเทกับสาขาที่ตัวเองวางแผนว่าจะเรียนในอนาคต ส่วนวิชาอื่นๆ ก็ตั้งใจ แต่อาจจะไม่ทุ่มเท แค่ประคองตัวให้ผ่านไปไม่น่าเกลียด (เช่นที่ผมเคยประสบคือ สังคม ม.๕ สมัยนั้นเรียนเศรษฐศาสตร์ ผมไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เกรด ๔ แค่ประคองตัวให้รอดก็พอใจแล้ว)ส่วนเด็กที่ไม่ชัดเจนเลย ขึ้น ม.ปลายมาแบบเบลอ ไม่รู้อนาคตจะไปทางไหน ส่วนใหญ่ (ทั้งนักเรียนและพ่อแม่) ก็จะเลือกเรียนวิทย์คณิตไว้ก่อน เพราะว่ามันจะทำให้เรียนต่อได้กว้าง ซึ่งเรียนแล้วก็หนักหนาสาหัส ทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และแน่นอนว่าต้องเรียนคณิตศาสตร์อย่างหนักด้วย หลายคนจึงบ่นอุบว่า “เรียนอะไรหนักหนา”ที่เรียนหนักหนาเพราะว่าจุดมุ่งหมายของการเรียนแผนวิทย์คณิตคือ เตรียมคนเข้าอุดมศึกษาสาขาทางวิทยาศาสตร์ เช่น หมอ เภสัช ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ต้องเก่งทั้งนั้น สุดท้าย พอเรียนไม่ไหวก็ไปเรียนทางสังคมศาสตร์แทน (ซึ่งเขาเข้าใจกันเองว่ามันง่ายกว่า…อาจจะจริงหรือไม่จริงไม่ออกความเห็น) แล้วพวกนี้แหละ…ที่ไปพูดต่อว่า “เรียนคณิตศาสตร์มาตั้งเยอะแยะ ไม่เห็นได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย”
  3. การสอนคณิตศาสตร์ (ของผม) ก็ไม่ได้หวังว่าเด็กทุกต้องเก่งเลิศเลอเพอร์เฟก ไม่ต้องเก่งมาก ถึงกับเป็นนักคณิตศาสตร์ของโลก แค่อยากให้เขารู้ว่า โลกนี้ระบุไว้ชัดว่าถ้าคะแนน “การรู้เรื่อง” (Literacy) ของประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เทียบกับเฉลี่ยนานาชาติ เราสามารถคาดหวังได้ว่า ผลิตภาพด้านแรงงาน (Labor Productivity) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5และ “การรับรู้” นี้เองก็มี “คณิตศาสตร์” เป็นหนึ่งในนั้น ซึงมีรายละเอียดเรื่องนี้ในเรื่อง PISA นั่นเองโลกในวันนี้และในอนาคตอันใกล้ว่าทุกประเทศจำเป็นต้องมีประชากรที่รู้เรื่องคณิตศาสตร์ เพื่อที่จะได้สามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และความซับซ้อนของสังคม เพราะสาระข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับรู้ได้ มีปริมาณมากมาย และเพิ่มขึ้นรวดเร็วในอัตราที่เปรียบได้กับเลขยกกำลัง ท่ามกลางสาระข้อมูลที่ท่วมท้นนั้น ประชาชนจำเป็นต้องเลือกและต้องตัดสินใจว่าจะจัดการกับข้อมูลข่าวสารนั้นๆ อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีประเด็นความขัดแย้งและการโต้แย้งในสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้สาระและข้อมูลเชิงปริมาณมาสนับสนุนมากขึ้นทุกที การมีความสารถในการตัดสินสินข้อโต้แย้งอย่างมีเหตุผล ถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของประชาชนที่มีความกังวล มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคม
    ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีประชากรที่มีการรับรู้คณิตศาสตร์ในระดับสูง ในขณะที่ประเทศไทยเอง นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ระดับ 2 กล่าวคือ นักเรียนสามารถ
    (1) ตีความและรู้สถานการณ์ในบริบทที่ไม่ซับซ้อน ที่ต้องการการอ้างอิงไม่เกินสองตัว
    (2) สกัดสาระสำคัญจากแหล่งข้อมูลแหล่งเดียวและสามารถใช้สถานการณ์ที่นำเสนออย่างง่ายเพียงชั้นเดียว และ
    (3) สามารถใช้วิธีการคิด สูตรคณิตศาสตร์ วิธีการ หรือข้อตกลงเบื้องต้น สามารถใช้เหตุผลตรงไปตรงมาและตีความผลที่พบอย่างตรงไปตรงมา
    การตีความหมายของ PISA ได้กำหนดให้สมรรถนะในระดับ 2 เป็นจุดแรกเริ่มที่จะสามารถใช้คณิตศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริงหรือในการศึกษาระดับสูง และถ้ามีสมรรถนะต่ำกว่าระดับ 2 ถือว่าเป็นระดับเสี่ยงอันตราย เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน และการศึกษาต่อในอนาคตจะเห็นว่าคณิตศาสตร์ แม้จะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้วก็สำคัญมากทีเดียว
    เหมือนจะไม่ได้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่จริงๆ แล้ว เราใช้มันอยู่ทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว
  4. เรามักได้ยินประโยคคล้ายว่าๆ
    อาจารย์มหาวิทยาลัยบ่นว่าเด็กอ่อนคณิตจัง คิดเลขยังไม่เป็น ท่องสูตรคูณยังไม่ได้เลย ครูสอนมายังไง
    ครูมัธยมบ่นว่านักเรียนบวกลบจำนวนเต็มไม่ได้ ท่องสูตรคูณไม่คล่อง ครูสอนมายังไง ทำให้ฉันต้องแก้ปัญหามากมาย (แล้วแก้หรือเปล่า แก้ได้สำเร็จไหม) นักเรียนพื้นฐานอ่อนมาก
    ครูประถมบ่นว่า ฉันไม่ได้จบคณิตมา จะให้สอนให้เด็กเก่งได้ไง ภาระฉันเยอะ สอนได้ไม่เด็มที่
    ถ้าเป็นครูโรงเรียนยอดนิยม อาจบ่นว่า เด็กต่อห้องเยอะ ดูแลไม่ทั่วหรอก
    และครูทั่วไปก็มักจะบ่นว่า เนื้อหาเยอะ สอนให้จบได้ก็บุญแล้วผู้ปกครองก็ฝากครูอย่างเดียว…ฉันสอนไม่ได้หรอก ไม่เคยเรียนมา สอนไม่ได้หรอก มันไม่ฟังฉันนักเรียนก็บ่นว่า เรียนไปทำไมไม่รู้ยากจัง ครูดุ สอนไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จะเรียนไปทำไมหลากหลายคำพูดเหล่านี้ล้วนสะท้อนปัญหาได้ครับ

    รัฐก็ทราบว่าครูขาด…แต่ทว่า…ก็ไม่เห็นเพิ่มอัตราให้…บางโรงเรียน (มัธยมศึกษา) ไม่มีครูคณิตศาสตร์สักคนด้วยซ้ำ
    ก็สอนกันไปตามยถากรรม

  5. เขียนไปก็เริ่มงงกับตัวเอง ไม่รู้จะขมวดยังไงแค่อยากจะบอกจากความรู้สึกว่า
    การศึกษาไทยเป็นอะไรไป…ปัญหาอยู่ตรงไหน นักวิชาการ นักการศึกษา นักการเมือง คนใหญ่คนโตในประเทศ (ผมว่า) น่าจะทราบดี งานวิจัยชี้ให้เห็นวิกฤตมากมาย งานวิจัยชี้ให้เห็นแนวทางแก้ปัญหามากมาย เต็มชั้นในหอสมุดขอ
    งแต่ละมหาวิทยาลัย เราก็คุ้นชินกับคำว่าเอาไว้บนหิ้ง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ครูทำวิจัย มีอาจารย ๓/ชำนาญการพิเศษ มากมายเต็มประเทศ (บางโรงเรียนจะครบทั้งโรงเรียนแล้ว) แต่ทำไมการศึกษาไทยแย่ลง??? งานวิจัยทำจริงไหม หรือแค่ทำๆ ให้มันมี แก้ปัญหาได้จริงไหม หรือว่า “จ้าง” เท่านั้นเรื่องพวกนี้ผมว่าทุกท่านทราบดีว่าปัญหาคืออะไรสำคัญที่ว่า จะแก้ได้ยังไง????
  6. นักเรียนไทยทุกวันนี้เริ่มคุ้นชินกับการสร้างภาพ
    ครูไทยก็น่าจะเหมือนกัน…บางคนถึงกับต่อว่าครูที่ตั้งใจสอนว่า ไม่จำเป็นต้องสอนขนาดนั้นเลย แค่ทำเอกสารให้น่าอ่านก็ได้อาจารย์ ๓ แล้ว
  7. ครูไทยภาระงานเยอะ…เยอะจริง สอนหนัก งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย สำคัญกว่างานสอน งานนโยบาย งานชุมชนเพียบ ขาดการนิเทศอย่างจริงจัง สอนไปวันๆ ซังกะตาย ไม่มีสื่อที่จะใช้

ปัญหามากมายมหาศาลการศึกษาไทย…ไม่เฉพาะคณิตศาสตร์

ถึงเวลาที่เราจะแก้ปัญหาหรือยัง…สงสารประเทศไทย เราเริ่มจะเดินตามหลังประเทศอื่นๆ กันแล้วนะครับ

Advertisement

6 thoughts on “เด็กอ่อนคณิต…ความผิดใคร???

  1. เก้า พูดว่า:

    ทั้งนี้ทั้งนั้นมันเกิดจากความผิดพลาดแบบเรื้อรังมายาวนานอ่ะนะพี่ แต่ในเมื่อประเทศชาติผิดพลาดจะมัวมานั่งรอให้ใหญ่ๆโตๆแก้ก็ไม่ไหว จนแล้วจนรอดเด็กที่รู้สึกตัวแล้วสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้ถึงจะประสบความสำเร็จในยุคนี้ล่ะคับ

  2. ยิ๋ง พูดว่า:

    อ่านจบละ ขอบใจที่ระบายเผื่อนะจ๊ะ อิอิ สู้ต่อครูไทย ไม่ได้หวัง 100% แค่ให้เด็กของฉันที่อยากจะรับคณิตได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและตัวเขาเอง ไม่ต้องมากก็โอเคแล้ว สำหรับครูคนหนึ่ง

ปลื้มใจที่แวะเข้ามา ฝากข้อความสักหน่อยก็ไม่ว่าอะไรนะครับ ขอบคุณครับผม ^___^

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s