ตอน
ตัวเชื่อม “ถ้า…แล้ว…” เกี่ยวโยงกับเรื่องของเราอย่างไร?
มีคนถามเยอะว่า สำหรับตัวเชื่อมถ้าแล้วมีหลักการอธิบายให้เห็นภาพอย่างไร สำหรับตัวเชื่อม หรือ และ ก็ต่อเมื่อ นั้น พอจะหาคำอธิบายได้ แต่ถ้า…แล้ว… เนี้ยะ หาคำอธิบายไม่ได้เลย
เข้าทางครูอั๋น
ก่อนจะอธิบายจะต้องบอกก่อนว่า ไม่มั่นใจว่าเคยได้ยินมาจากคุณครูท่านใด หรือเพราะว่าคิดได้เอง แต่ว่าขอนำมาอธิบายให้อ่าน ให้ฟังกันดังนี้
เราคงรู้จักตารางนี้กันนะครับ
รูปแบบตารางค่าความจริงของ p → q ลักษณะอย่างนี้ นักเรียนที่เคยผ่าน ม.4 ทุกยุคทุกสมัยคงจะคุ้นเคยกันดี เราก็จะท่องกันว่า จริงแล้วเท็จเป็นเท็จ (นอกนั้นเป็นจริง) แล้วก็เอาไปใช้โดยไม่สงสัยอะไรเลย หรือว่าสงสัยแต่ไม่กล้าถามครู หรือถามครูแล้วได้คำตอบไม่โดนใจ หรือ …
ลองคิดแบบนี้นะครับ
ช่อง p ให้หมายถึง ข้อสอบที่ครูออกหรือสร้างขึ้น ซึ่งข้อสอบนั้นจะมีสองลักษณะที่เป็นไปได้ คือ ครูออกข้อสอบถูกต้อง (T) กับ ครูออกข้อสอบผิด (F)
ช่อง q ให้หมายถึง คำตอบที่นักเรียนตอบมาในกระดาษคำตอบ ซึ่งก็จะมีสองลักษณะเช่นกัน คือ คำตอบถูกต้อง (T) และ คำตอบผิด (F)
ส่วนช่อง p → q นั้น ให้หมายถึง คะแนนที่นักเรียนจะได้รับ ให้เป็น ตอบถูก (T) ได้คะแนน กับ ตอบผิด (F) ไม่ได้คะแนน
เป็นดังนี้แล้ว กลับไปดูตารางพร้อมคำอธิบาย
ตัวเชื่อมถ้า…แล้ว จึงเป็นเรื่องของข้อสอบดังนี้แล
ส่วนตัวเชื่อม หรือ ฟังมาจากอาจารย์ท่านหนึ่ง สมัยเรียนพิเศษ
หรือ ถ้าเป็นสันทานในวิชาภาษาไทย จะเป็นสันทานประเภท เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง (และในทางคณิตศาสตร์ หมายถึง เอาทั้งสองอย่างก็ได้)
สถานการณ์ คือ เดินเข้าไปในร้านอาหาร มีอาเฮียอั๋นเป็นเจ้าของ ร้านเฮียอั๋นขายสองอย่าง คือ ข้าวผัด กับ ผัดไทย
เด็กชายกล้า สั่งผัดไทย 1 จาน เฮียอั๋นจะได้ขายไหม? คำตอบคือ ได้ขาย
เด็กชายเก่ง สั่งข้าวผัด 1 จาน เฮียอั๋นจะได้ขายไหม? คำตอบคือ ได้ขาย
เด็กหญิงแก้ว สั่งทั้งข้าวผัด และ ผัดไทย อย่างละ 1 จาน เฮียอั๋นจะได้ขายไหม? คำตอบคือ ได้ขาย
แต่ถ้าเด็กชายก้อง เดินเข้ามาแล้วบอกเฮียอั๋นว่า เฮีย วันนี้ไม่กินมานั่งเฉยๆ เฮียอั๋นจะได้ขายไหม? คำตอบคือ ไม่ได้ขาย (แถมเฮียอั๋นอาจจะบริภาษเอาสักหนึ่งบท)
กลับไปดูตารางกัน
ก็เป็นด้วยประการละชะนี้แล
ครูอั๋น
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
อ่านแล้วเข้าใจเป็นอย่างมาก น่าจะยกตัวอย่าง ตัวเชื่อม ที่เหลือด้วยนะครับ
จะลองดูนะครับผม
เยี่ยมมากค่ะคุณครู
ขอบคุณครับ…